วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์และสรรพคุณของกระเทียม !!!

ขออภัยที่ห่างหายไปหลายวัน เนื่องจากไม่สบายและติดภารกิจส่วนตัวครับ วันนี้เราจะมาต่อจากบทความที่แล้วที่เราคำความรู้จักกับกระเทียมกันไป โดยกระเทียมถือเป็นสุดยอดแห่งสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราเป็นอย่างสูง และนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) หลากหลายเมนู วันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของกระเทียมกันนะครับ


ประโยชน์ของกระเทียม
ประโยชน์ของกระเทียมในทางตรงก็คือเป็นส่วนประกอบของอาหารคาวได้หลากหลายมาก ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ส่วนประโยชน์ทางอ้อมก็คือสรรพคุณของกระเทียมในด้านยาและการป้องกันรักษาโรคนั่นเอง ซึ่งกระเทียมสามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราในหลายๆด้านอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งคนโบราณยังใช้กระเทียมในการรักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน ประโยชน์ของกระเทียมเพิ่มเติมคือช่วยรักษาแผลที่เน่าเปื่อยและเป็นหนอง ป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยขจัดพิษสารตะกั่ว

ประโยชน์และสรรพคุณของกระเทียม มีโดยสังเขปดังนี้
1. ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิต
2. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและเนื้องอก
3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
5. บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
6. ช่วยขับลม แก้อาการจุดเสียด
7. ช่วยถ่ายพยาธิ
8. ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคหวัด
9. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันโรคผิวหนังจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน
10. ช่วยสร้างภูมิต้านทางให้ร่างกายและช่วยป้องกันโรคหัวใจ
11. ช่วยรักษาและลดการเกิดสิว
12. ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและโรคอื่นๆในโพรงจมูก
13. ช่วยในระบบไหลเวียนโลหิต ให้โลหิตไหลเวียดีขึ้น
14. กระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องผูก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
15. กระเทียมมีประโยชน์ในการลดอาการปวดฟันได้
16. สรรพคุณของกระเทียมยังช่วยป้องกันอาการโรคเบาหวานได้

พรุ่งนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงประโยชน์ของกระเทียมในตอนที่ 2 กันนะครับ จากการที่เราได้เรียนรู้กันแล้วในบทความนี้ถึงสรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียมกันไปแล้ว หลายท่านคงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกระเทียมถึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการที่จะได้รับประโยชน์และสารอาหารจากกระเทียมอย่างเต็มที่คือต้องรับประทานกระเทียมแบบสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ครับ

เนื้อหาบทความจาก : http://www.เกร็ดความรู้.net/


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ทำความรู้จักกับกระเทียม สุดยอดสมุนไพรไทย

วันนี้เรายังอยู่ในเรื่องของพืชผักและสมุนไพรกันอยู่นะครับ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนชนิดหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับเมนูอาหารไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งความมีกลิ่นฉุนของสมุนไพรชนิดนี้ทำให้มีผู้นำไปแต่งเรื่องราวว่ากระเทียมสามารถปราบผีดิบได้ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนโดยไม่ต้องพิสูจน์คือกระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารมากมายและการรับประทานกระเทียมสามารถรับประทานได้แบบสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) หรือนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารประเภทต่าง ๆ ก็ได้ และวันนี้เราจะมาพูดถึงประวัติและความเป็นมาของกระเทียมกันครับ


กระเทียม (garlic)

มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium sativum Linn. เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ใน วงศ์ Alliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ส่วนที่ใช้รับประทานคือ ลำต้น ดอก และหัว หัวของกระเทียมเป็นทั้งเครื่องเทศ (spice) และสมุนไพร (herb) ที่มีสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ใช้ปรุงอาหาร (cooking) หลายชนิด ทั้ง ต้ม ผัด น้ำพริกแกง ทอด และยังใช้เป็นวัตถุดิบนำมาแปรรูป (food processing) เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด กระเทียมมีกรดแอมิโน อาร์จินีน (arginine) oligosaccharides, flavonoid, and selenium ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระเทียมจำหน่ายในรูปหัวกระเทียมแห้ง ประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า "กระเทียมโทน" แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

กระเทียมมีหัวอยู่ใต้ดินแบบ Tunic bulb โดยหัวของกระเทียมมีลักษณะกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อยๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40-60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1-2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ

วันนี้เราทำความรู้จักกับกระเทียมกันไปบ้างแล้ว ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ชอบรับประทานกระเทียม เพราะความที่กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน แต่ในบทความวันพรุ่งนี้ที่จะนำเสนอในเรื่องของสรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียม ท่านผู้อ่านก็จะทราบว่าทำไมบางท่านถึงนิยมรับประทานกระเทียมสด ๆ ซึ่งเป็นการรับประทานตามหลักกการของอาหารคลีน (Clean Food) และอาจจะเปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกระเทียมกันก็เป็นได้ครับ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้จักผักชีให้ดียิ่งขึ้น ก่อนนำมารับประทาน !!!

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของบทความเกี่ยวกับผักชีแล้วนะครับ โดยเราจะพูดถึงผักชีกันโดยละเอียดว่ามีที่มาที่ไปหรือชื่อสามัญและชื่อท้องถิ่นว่าอะไรกันบ้าง หลังจากเมื่อวานที่เราทราบถึงประโยชน์ 5 ประการที่เราจะได้รับจากการรับประทานผักชี ถึงผักชีจะมีประโยชน์และมีสรรพคุณหรือคุณค่าทางอาหารมากมายเหมาะกับการนำไปทำอาหารสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผักชีจะมีประโยชน์เสมอไปนะครับ การรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะมีอันตรายได้


ผักชีคืออะไร

ผักชีมีชื่อสามัญว่า Coriander

ผักชีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมากผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ผักชีโรยหน้า” ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอก หรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง !

ผลเสียจากการรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธี
การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับผักชี ผักที่บางท่านคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือไม่มีคุณค่าทางอาหาร แม้ในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่ได้ใช้ผักชีในปริมาณมากมาทำอาหาร แต่ผักชีก็ยังเป็นผักที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ดี แต่ก็ไม่ควรรับประทานผักชีในปริมาณที่มากจนเกินไปนะครับเพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์ 5 ประการที่ได้จากการรับประทานผักชี

สวัสดีครับจากที่เมื่อวานเราทำความรู้จักกับผักชี ผักที่ใช้โรยหน้าอาหารเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานให้กับอาหารชนิดนั้นมากยิ่งขึ้น และในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงประโยชน์จากผักชี ซึ่งมีมากมายหลายประการด้วยกัน ผักชีจึงใช้ได้กับอาหารแทบทุกประเภทรวมถึงอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) ด้วย


ประโยชน์ 5 ประการจากการรับประทานผักชี

ประโยชน์ข้อที่ 1. เมื่อรับประทานผักชีเข้าไปแล้วร่างกายจะสามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้หมด ทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน เพราะสารอาหารจากพืช ผัก และผลไม้ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่าย และระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น

ประโยชน์ข้อที่ 2. เมื่อรับประทานผักชีและกินผัก ผลไม้ เป็นประจำ จะช่วยทำให้เลือดถูกฟอกให้สะอาด อีกทั้งยังทำให้เซลล์ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะเสื่อมช้าลง นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณสดใส และมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

ประโยชน์ข้อที่ 3. เมื่อรับประทานผักชีทำให้อวัยวะสำคัญภายในร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ฯลฯ แข็งแรง ทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

ประโยชน์ข้อที่ 4. เมื่อรับประทานผักชีเราจะได้รับสารอาหารซึ่งเป็นสารอาหารพื้นฐานที่มีในพืช ผัก จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านสารพิษต่างๆ อาทิ ยาฆ่าแมลง สารเคมี หรือมลภาวะ ต่างๆ ได้

ประโยชน์ข้อที่ 5. การรับประทานผักชี ผักและผลไม้ที่มีขนาดเล็ก ๆ จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานสารพิษได้สูงกว่าคนที่ไม่กินผัก และในบรรดาคนที่กินเจเป็นประจำร่างกายจะช่วยให้ไม่เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฯลฯ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร และทางเดินอาหาร เช่น โรคริสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคอาหารไม่ย่อย เป็นต้น

การถือศีลกินผัก หรือกินเจนั้น ไม่ใช่แค่การงดกินเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังถือเป็นช่วงเวลาแห่งการถือศีล ทำบุญ อีกด้วย นอกจากจะช่วยปรับสมดุลในร่างกายแล้ว ยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง ระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย
เราพูดถึงประโยชน์ 5 ประการของผักชีกันไปแล้วนะครับ แต่ประโยชน์ของผักชียังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ พรุ่งนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงส่วนที่เหลือ และเผื่อท่านผู้อ่านทุกท่านอาจจะอยากนำผักชีไปประกอบอาหารต่าง ๆ รับประทานกันมากขึ้น ทั้งเมนูอาหารทั่วไปหรือไปประกอบเมนูอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food)