วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของบทความเกี่ยวกับผักชีแล้วนะครับ โดยเราจะพูดถึงผักชีกันโดยละเอียดว่ามีที่มาที่ไปหรือชื่อสามัญและชื่อท้องถิ่นว่าอะไรกันบ้าง หลังจากเมื่อวานที่เราทราบถึงประโยชน์ 5 ประการที่เราจะได้รับจากการรับประทานผักชี ถึงผักชีจะมีประโยชน์และมีสรรพคุณหรือคุณค่าทางอาหารมากมายเหมาะกับการนำไปทำอาหารสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผักชีจะมีประโยชน์เสมอไปนะครับ การรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะมีอันตรายได้
ผักชีมีชื่อสามัญว่า Coriander
ผักชีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมากผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ผักชีโรยหน้า” ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอก หรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง !
ผลเสียจากการรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธี
การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น