วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์และสรรพคุณของกระเทียม !!!

ขออภัยที่ห่างหายไปหลายวัน เนื่องจากไม่สบายและติดภารกิจส่วนตัวครับ วันนี้เราจะมาต่อจากบทความที่แล้วที่เราคำความรู้จักกับกระเทียมกันไป โดยกระเทียมถือเป็นสุดยอดแห่งสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราเป็นอย่างสูง และนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) หลากหลายเมนู วันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของกระเทียมกันนะครับ


ประโยชน์ของกระเทียม
ประโยชน์ของกระเทียมในทางตรงก็คือเป็นส่วนประกอบของอาหารคาวได้หลากหลายมาก ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ส่วนประโยชน์ทางอ้อมก็คือสรรพคุณของกระเทียมในด้านยาและการป้องกันรักษาโรคนั่นเอง ซึ่งกระเทียมสามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราในหลายๆด้านอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งคนโบราณยังใช้กระเทียมในการรักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน ประโยชน์ของกระเทียมเพิ่มเติมคือช่วยรักษาแผลที่เน่าเปื่อยและเป็นหนอง ป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยขจัดพิษสารตะกั่ว

ประโยชน์และสรรพคุณของกระเทียม มีโดยสังเขปดังนี้
1. ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิต
2. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและเนื้องอก
3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
5. บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
6. ช่วยขับลม แก้อาการจุดเสียด
7. ช่วยถ่ายพยาธิ
8. ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคหวัด
9. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันโรคผิวหนังจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน
10. ช่วยสร้างภูมิต้านทางให้ร่างกายและช่วยป้องกันโรคหัวใจ
11. ช่วยรักษาและลดการเกิดสิว
12. ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและโรคอื่นๆในโพรงจมูก
13. ช่วยในระบบไหลเวียนโลหิต ให้โลหิตไหลเวียดีขึ้น
14. กระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องผูก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
15. กระเทียมมีประโยชน์ในการลดอาการปวดฟันได้
16. สรรพคุณของกระเทียมยังช่วยป้องกันอาการโรคเบาหวานได้

พรุ่งนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงประโยชน์ของกระเทียมในตอนที่ 2 กันนะครับ จากการที่เราได้เรียนรู้กันแล้วในบทความนี้ถึงสรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียมกันไปแล้ว หลายท่านคงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกระเทียมถึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการที่จะได้รับประโยชน์และสารอาหารจากกระเทียมอย่างเต็มที่คือต้องรับประทานกระเทียมแบบสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ครับ

เนื้อหาบทความจาก : http://www.เกร็ดความรู้.net/


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ทำความรู้จักกับกระเทียม สุดยอดสมุนไพรไทย

วันนี้เรายังอยู่ในเรื่องของพืชผักและสมุนไพรกันอยู่นะครับ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนชนิดหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับเมนูอาหารไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งความมีกลิ่นฉุนของสมุนไพรชนิดนี้ทำให้มีผู้นำไปแต่งเรื่องราวว่ากระเทียมสามารถปราบผีดิบได้ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนโดยไม่ต้องพิสูจน์คือกระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารมากมายและการรับประทานกระเทียมสามารถรับประทานได้แบบสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) หรือนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารประเภทต่าง ๆ ก็ได้ และวันนี้เราจะมาพูดถึงประวัติและความเป็นมาของกระเทียมกันครับ


กระเทียม (garlic)

มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium sativum Linn. เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ใน วงศ์ Alliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ส่วนที่ใช้รับประทานคือ ลำต้น ดอก และหัว หัวของกระเทียมเป็นทั้งเครื่องเทศ (spice) และสมุนไพร (herb) ที่มีสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ใช้ปรุงอาหาร (cooking) หลายชนิด ทั้ง ต้ม ผัด น้ำพริกแกง ทอด และยังใช้เป็นวัตถุดิบนำมาแปรรูป (food processing) เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด กระเทียมมีกรดแอมิโน อาร์จินีน (arginine) oligosaccharides, flavonoid, and selenium ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระเทียมจำหน่ายในรูปหัวกระเทียมแห้ง ประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า "กระเทียมโทน" แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

กระเทียมมีหัวอยู่ใต้ดินแบบ Tunic bulb โดยหัวของกระเทียมมีลักษณะกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อยๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40-60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1-2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ

วันนี้เราทำความรู้จักกับกระเทียมกันไปบ้างแล้ว ซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่ชอบรับประทานกระเทียม เพราะความที่กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน แต่ในบทความวันพรุ่งนี้ที่จะนำเสนอในเรื่องของสรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียม ท่านผู้อ่านก็จะทราบว่าทำไมบางท่านถึงนิยมรับประทานกระเทียมสด ๆ ซึ่งเป็นการรับประทานตามหลักกการของอาหารคลีน (Clean Food) และอาจจะเปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกระเทียมกันก็เป็นได้ครับ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้จักผักชีให้ดียิ่งขึ้น ก่อนนำมารับประทาน !!!

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของบทความเกี่ยวกับผักชีแล้วนะครับ โดยเราจะพูดถึงผักชีกันโดยละเอียดว่ามีที่มาที่ไปหรือชื่อสามัญและชื่อท้องถิ่นว่าอะไรกันบ้าง หลังจากเมื่อวานที่เราทราบถึงประโยชน์ 5 ประการที่เราจะได้รับจากการรับประทานผักชี ถึงผักชีจะมีประโยชน์และมีสรรพคุณหรือคุณค่าทางอาหารมากมายเหมาะกับการนำไปทำอาหารสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผักชีจะมีประโยชน์เสมอไปนะครับ การรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะมีอันตรายได้


ผักชีคืออะไร

ผักชีมีชื่อสามัญว่า Coriander

ผักชีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ในประเทศไทยได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมากผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารใช้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ผักชีโรยหน้า” ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอก หรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง !

ผลเสียจากการรับประทานผักชีโดยไม่ถูกวิธี
การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับผักชี ผักที่บางท่านคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือไม่มีคุณค่าทางอาหาร แม้ในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่ได้ใช้ผักชีในปริมาณมากมาทำอาหาร แต่ผักชีก็ยังเป็นผักที่มีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารสูงอยู่ดี แต่ก็ไม่ควรรับประทานผักชีในปริมาณที่มากจนเกินไปนะครับเพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์ 5 ประการที่ได้จากการรับประทานผักชี

สวัสดีครับจากที่เมื่อวานเราทำความรู้จักกับผักชี ผักที่ใช้โรยหน้าอาหารเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานให้กับอาหารชนิดนั้นมากยิ่งขึ้น และในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงประโยชน์จากผักชี ซึ่งมีมากมายหลายประการด้วยกัน ผักชีจึงใช้ได้กับอาหารแทบทุกประเภทรวมถึงอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) ด้วย


ประโยชน์ 5 ประการจากการรับประทานผักชี

ประโยชน์ข้อที่ 1. เมื่อรับประทานผักชีเข้าไปแล้วร่างกายจะสามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้หมด ทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน เพราะสารอาหารจากพืช ผัก และผลไม้ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่าย และระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น

ประโยชน์ข้อที่ 2. เมื่อรับประทานผักชีและกินผัก ผลไม้ เป็นประจำ จะช่วยทำให้เลือดถูกฟอกให้สะอาด อีกทั้งยังทำให้เซลล์ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะเสื่อมช้าลง นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณสดใส และมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

ประโยชน์ข้อที่ 3. เมื่อรับประทานผักชีทำให้อวัยวะสำคัญภายในร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ฯลฯ แข็งแรง ทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

ประโยชน์ข้อที่ 4. เมื่อรับประทานผักชีเราจะได้รับสารอาหารซึ่งเป็นสารอาหารพื้นฐานที่มีในพืช ผัก จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านสารพิษต่างๆ อาทิ ยาฆ่าแมลง สารเคมี หรือมลภาวะ ต่างๆ ได้

ประโยชน์ข้อที่ 5. การรับประทานผักชี ผักและผลไม้ที่มีขนาดเล็ก ๆ จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานสารพิษได้สูงกว่าคนที่ไม่กินผัก และในบรรดาคนที่กินเจเป็นประจำร่างกายจะช่วยให้ไม่เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฯลฯ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร และทางเดินอาหาร เช่น โรคริสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคอาหารไม่ย่อย เป็นต้น

การถือศีลกินผัก หรือกินเจนั้น ไม่ใช่แค่การงดกินเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังถือเป็นช่วงเวลาแห่งการถือศีล ทำบุญ อีกด้วย นอกจากจะช่วยปรับสมดุลในร่างกายแล้ว ยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง ระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย
เราพูดถึงประโยชน์ 5 ประการของผักชีกันไปแล้วนะครับ แต่ประโยชน์ของผักชียังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ พรุ่งนี้เราจะมาพูดกันต่อถึงส่วนที่เหลือ และเผื่อท่านผู้อ่านทุกท่านอาจจะอยากนำผักชีไปประกอบอาหารต่าง ๆ รับประทานกันมากขึ้น ทั้งเมนูอาหารทั่วไปหรือไปประกอบเมนูอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food)

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้จักกับผักชี ผักที่ไม่ได้มีดีแค่ไว้ใช้โรยหน้า

สวัสดีครับหลังจากห่างหายไปหลายวัน วันนี้เราจะมาพูดถึงผักที่สามารถใช้ได้กับทุกเมนูอาหารคาวกันนะครับ ผักที่ผมจะพูดถึงก็คือผักชี ที่หลาย ๆ เมนูมักใช้โรยหน้าให้อาหารดูสวยงาน แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าผักชีมีประโยชน์อย่างไรบ้าง และทำไมในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จึงมีการใช้ผักชีเป็นส่วนประกอบกัน


ผักชีคืออะไร
ผักชีเป็นพืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน ทั้งยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกว่าผักชีถูกใช้เป็นยาและเครื่องเทศมาหลายพันปีแล้ว ผักชีสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ใบ ลำต้น ราก และเมล็ด ใบและลำต้นของผักชีมีสีเขียวสดใสและมีกลิ่นหอม จึงเป็นผักที่มักจะใช้โรยหน้าอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด น้ำพริก ยำ แกง หรือแม้กระทั่งน้ำจิ้มก็ยังมีผักชีเป็นส่วนประกอบ หรืออย่างขนมสาคูไส้หมูก็ต้องกินแกล้มกับผักชีจึงจะเข้ากันดี

ด้านสรรพคุณทางยาที่มีอยู่ในผักชีก็คือ ช่วยขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้ปวดหัว แก้ไอ แก้หวัด และลดไข้ คุณค่าสารอาหารอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม และเส้นใยอาหาร ยังทำให้การกินผักชีได้ประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งดีต่อกระดูก ระดับความดันโลหิต และระบบขับถ่าย

รากผักชีเป็นเครื่องเทศที่ใช้หมักเนื้อสัตว์ เพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มกลิ่นหอม เพียงแค่โขลกให้พอแหลก เพิ่มกระเทียมพริกไทยอีกเล็กน้อย ไม่ว่าจะนำไปปรุงต่อเป็นเมนูไหน ก็อร่อยถูกใจ รากผักชียังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องแกงต่าง ๆ ด้วย อีกทั้งมีฤทธิ์ช่วยขับพิษไข้ชนิดหัว เช่น หัดหรือสุกใส

เมล็ดผักชีหรือที่คนไทยเรียกกันชินปากว่า ลูกผักชี เป็นส่วนของผล มีลักษณะกลมรี ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีกลิ่นหอม รสซ่าอ่อน ๆ เป็นเครื่องเทศที่ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ การนำลูกผักชีไปใช้ ต้องคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนส่งกลิ่นหอม จากนั้นใช้เพื่อเพิ่มความหอมให้กับน้ำพริก แกง ใช้หมักเนื้อสัตว์ และแต่งกลิ่นอาหารหรือเครื่องดื่ม

ลูกผักชีมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดฟัน และช่วยขับปัสสาวะ กลิ่นหอมของลูกผักชีเกิดจากน้ำมันหอมระเหยที่มีลินาโลออล (Linalool) เป็นองค์ประกอบหลัก มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ และยังอาจช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

ก่อนจะนำต้นผักชีมาใช้ปรุงอาหาร ควรล้างให้สะอาด เพราะจะมีขี้ดินและสิ่งสกปรกติดอยู่มาก โดยเฉพาะตรงโคนราก โดยให้แช่น้ำแล้ว เด็ดก้านใบออกมาล้างทีละก้าน ส่วนตรงรากให้ใช้มีดขูดผิวนอกออกเบา ๆ ผักชีเป็นผักที่เหี่ยวง่าย วิธีเก็บรักษาให้สดนาน คือให้ล้างจนสะอาด รอให้สะเด็ดน้ำ แล้วห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบาง ใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับข้อมูลเบื้องต้นและความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของผักชี พรุ่งนี้เราจะมาพูดถึงสรรพคุณของผักชีกันต่อนะครับแล้วจะมาดูว่าในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) เมนูใดที่ใช้ผักชีเป็นส่วนประกอบกันบ้าง

บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก Website : http://prayod.com/

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์จากผักปวยเล้งหรือ Spinach ต่อร่างกาย !!!

หลังจากเมื่อวานเราทำความรู้จักกับผักปวยเล้งหรือ Spinach กันไปเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์และสรรพคุณของผักปวยเล้งหรือ Spinach กันว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายของผู้รับประทานบ้าง และเรารับประทาน ผักปวยเล้งแล้วจะมีร่างกายแข็งแรงเหมือนตัวการ์ตูนป๊อปอายได้หรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือผักปวยเล้งหรือ Spinach เป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ และวิตามินต่าง ๆมากมาย มิเช่นนั้นผักปวยเล้งคงไม่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญชนิดหนึ่งของเมนู อาหารสุขภาพหรือเมนูอาหารคลีน (Clean Food) ได้อย่างแน่นอนครับ


ประโยชน์ของผักปวยเล้ง

จากการที่มีผู้ขนานนามให้ผักปวยเล้งว่า ราชาแห่งผัก หรือสุดยอดแห่งผัก เนื่องจากว่าผักปวยเล้งคุณค่าทางอาหารมากไม่น้อยกว่าผักชนิดอื่นเลย โดยนักวิชาการเชื่อว่าผักปวยเล้งนี้เหมาะสำหรับเด็กและผู้ป่วย เนื่องจากสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่อยู่ในผักปวยเล้งนั้นมีสูง ไม่ว่าจะทั้งโปรตีน, วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อื่น ๆ อีก ซึ่งหากเรารับประทานผักปวยเล้งเพียง 100 กรัม ก็ช่วยให้ได้รับวิตามินซีสูงเทียบเท่ากับปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และนอกจากนี้ผักปวยเล้งในปริมาณดังกล่าว ยังมีปริมาณเบต้า-แคโรทีนเป็น 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายเราควรได้รับในแต่ละวันเลยทีเดียว

โดยธรรมชาติแล้วผักปวยเล้งจะเป็นผักที่มีรสหวาน มีฤทธิ์เป็นหยาง คือทำให้รู้สึกเย็น และผักปวเล้งยังอุดมไปด้วย โปรตีน น้ำตาล เบต้าแคโรทีน วิตามิน เอ บี ซี ดี เค เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมคนีเซียม กรดนิโคติน โฟลิค และสารอาหารอื่นอีกมาก

จากการที่ผักปวยเล้งหรือ Spinach เป็นผักที่มีมีสารอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมีธาตุเหล็กที่มีอยูมากกว่าผักชนิดอื่น ๆ จึงทำให้ผักปวยเล้งมีสรรพคุณในการบำรุงเลือด มีส่วนในการช่วยระบบทางเดินอาหารในการย่อยอาหาร ช่วยให้ร่างกายมีความชุ่มชื้น ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ทำให้เม็ดเลือดแดงในร่างกายมีความสมบูรณ์ และพร้อมทั้งกระจายเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์เหล่านั้นให้กับอวัยวะสำคัญทั้ง 5 ในร่างกายของเราอันได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอดและม้ามเป็นต้น นอกจากนี้ผักปวยเล้งหรือ Spinach ยังมีส่วนในการช่วยดับกระหาย และส่งผลดีต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคกระเพาะรวมถึงโรคริดสีดวงทวาร และผักปวยเล้งยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นช่วยดับกระหาย ได้เป็นอย่างดี

ผักป่วยเล้งยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เพราะในผักปวยเล้งมีวิตามิน K อยู่ในปริมาณมากและวิตามิน K มีหน้าที่สำคัญในการบำรุงกระดูกและฟัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

ผักปวยเล้งหรือ Spinach มีเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงมาก ๆ จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งได้เป็นอย่างดี การรับประทานผักปวยเล้งเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งยังช่วยไม่ให้ดวงตาเกิดต้อต่าง ๆ ก่อนวัยอันควร และในผักปวยเล้งมีโฟลิคที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ผักปวยเล้งยังช่วยทำให้ผู้รับประทานรู้ผ่อนคลาย จึงมีการนำผักปวยเล้งเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในอาหารบำบัดสำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตประสาท

จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าผักปวยเล้งมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูงมาก เหมาะกับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย และที่สำคัญผักปวยเล้งหรือ Spinach ยังมีฤทธิ์เป็นหยางคือให้ความรู้สึกเย็นเหมาะมากสำหรับประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย และยังเป็นผักที่มีราคาไม่สูงมากและมีให้รับประทานแทบจะทั้งฤดูกาล ดังนั้นหากเราจะหาเมนูอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) ที่มีผักปวยเล้งเป็นส่วนประกอบก็จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรงได้มากยิ่งขึ้นครับ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ผักปวยเล้งหรือ Spinach สุดยอดผักเพิ่มพลังของป๊อปอาย

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาพูดถึงผักที่ตัวการ์ตูนยอดนิยมอย่าง ป๊อปอาย รับประทานเพื่อเพิ่มพลังหลายท่านมักจะเข้าใจผิดว่า Spinach คือผักโขม แต่แท้ที่จริงแล้วคำว่า Spinach ในภาษาอังกฤษจะหมายถึงผักปวยเล้ง(ซึ่งบทความหลังจากนี้เราจะพูดถึงลักษณะโดยแท้จริงของผักโขมว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกับผักปวยเล้งอย่างไรบ้าง) หลายคนคงสังเกตุเห็นว่าป๊อปอายมักจะรับประทานผักปวยเล้งหรือ Spinach แบบสด ๆ เพื่อเพิ่มพลังเพราะการรับประทานผักปวยเล้งสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) นั้นจะทำให้ได้รับสารอาหารจากผักปวยเล้งอย่างเต็มที่โดยหากเรารับประทานผักปวยเล้งหรือ Spinach สด ๆ อาจจะมีพลังเหมือนป๊อปอายก็เป็นไปได้นะครับ

ทำความรู้จักกับผักปวยเล้งหรือ Spinach
ผักปวยเล้งเป็นผักที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศแถบตะวันออกกลางหรืออาหรับ โดยผักปวยเล้งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Spinach สำหรับคนที่เคยดูการ์ตูนเรื่องป๊อปอายคงคุ้นเคยกับคำนี้ดี ปวยเล้งเป็นผักในตระกูลเดียวกับผักโขม (Amaranth) ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าผักโขมคือ Spinach ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ชาวตะวันออกกลางหรืออาหรับให้สมญานามกับผักปวยเล้งว่าเป็น สุดยอดแห่งผัก เพราะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก และการที่ Spinach มีชื่อเป็นภาษาจีนว่าปวยเล้งนั้นก็มีสาเหตุจากการที่ผักชนิดนี้ได้ถูกบันทึกครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยราชวงศ์ถังของจีน ซึ่งประเทศจีนในยุคนั้นเป็นยุคที่มีการถวายเครื่องราชบรรณาการกันระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยในประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า ผักปวยเล้งเป็นหนึ่งในเครื่องราชบรรณการที่มีมูลค่าค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว

ผักปวยเล้งมีชื่อในภาษาจีนกลางแมนดารินเรียกว่า ปอไช่ ต้นกำเนิดของผักปวยเล้งในประเทศไทยนั้นตามการคาดคะเนผักปวยเล้งน่าจะเป็นผักมาจากประเทศจีนโดยมาพร้อมกับการอพยพของชาวจีนในสมัยก่อนๆ ตอนนี้จึงเป็นผักที่หากินได้ง่ายในตลาดทุกแห่งของบ้านเรา เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย และเป็นผักที่นิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวางในประเทศไทย

ลักษณะของผักปวยเล้ง
ผักปวยเล้งเป็นพืชล้มลุกอายุหนึ่งถึงสองปี โดยลำต้นมีความสูง 20-150 เซนติเมตร ลักษณะใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แผ่นใบเป็นรูปไข่ เป็นเหลี่ยม หรือรูปหัวลูกศร โคนใบเป็นพูกลมหรือแผ่นใบเรียบหรือยับย่น ใบมีได้ทั้งสีเขียวแก่หรือสีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 6-12 เซนติเมตร โคนก้านสีเขียว, ชมพู, หรือแดงปนม่วง ช่อดอกยาว 80-150 เซนติเมตร ดอกเพศเมียออกเป็นกระจุกอยู่ตามซอกใบจำนวนมาก ดอกปวยเล้งไม่มีก้านดอกโดยแต่ละช่อมี 7-20 ดอก ดอกเพศผู้เรียงเป็นช่อดอกแบบช่อเชิง บางครั้งพบทั้งดอกสมบูรณ์เพศโดยมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน

ทำความรู้จักกับผักปวยเล้งหรือ Spinach กันไปแล้วนะครับ หลายท่านที่มองลักษณะของผักปวยเล้งแล้วอาจจะคิดว่าผักปวยเล้งคงจะเหม็นเขียวและรับประทานยาก แต่จริง ๆ แล้วผักปวยเล้งเป็นผักที่รับประทานได้ง่ายและนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู สำหรับท่านที่ยังไม่มันใจที่จะรับประทานผักปวยเล้งสด ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ก็ลองนำผักปวยเล้งไม่ผ่านกระบวนการปรุงหรือเอาไปเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยก่อนก็ได้นะครับ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : หัวไชเท้า ผักขาวอวบประโยชน์เยอะ ตอนจบ

ต่อจากบทความตอนที่เรื่องประโยชน์ของหัวไชเท้านะครับ บทความตอนที่แล้วเราพูดถึงประโยชน์ของหัวไชเท้ากับโรคเรื้อรังไม่ติดต่อหลาย ๆ โรคกันไปแล้ว หัวไชเท้าที่มีฤทธิ์เป็นหยาง ซึ่งทำให้ร่างกายมีความเย็นเหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลน้อยเหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและยังมีส่วนช่วยในการขยายความกว้างของหลอดเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เท่านี้ก็ทำให้เราทราบได้แล้วนะครับว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหัวไชเท้าและรับประทานให้ถูกต้องตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ช่วยให้อาการป่วยของโรคต่าง ๆ หายไปหรือดีขึ้นได้จริง ๆ ในบทความรู้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ ของหัวไชเท้าในหัวข้อที่เหลือกันครับ


ประโยชน์ของหัวไชเท้า

6. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- มีผลการวิจัยและเหตุผลสนับสนุมมากมายว่าทำไมหัวไชเท้าจึงเป็นอาหารที่ควรทานควบคู่กับอาหารหลักของเราในแต่ละมื้อ เพราะหัวไชเท้ามีสรรพคุณในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นซึ่งเป็นสรรพคุณที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก การดื่มน้ำหัวไชเท้าเพียงครึ่งแก้วเป็นประจำทุกวัน หรือการรับประทานหัวไชเท้าเป็นอาหารว่างจะทำให้เราได้รับวิตามินซีมากเกือบ 15% ของปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน การรับประทานหัวไชเท้าในปริมาณที่เหมาะสมและรับประทานอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเรา โดยที่เราจะได้รับสารแอนติออกซิแดนท์(antioxidants) จากหัวไชเท้าและและสารอาหารจากหัวไชเท้าจะช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาวซึ่งมีความสำคัญมากในการต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัดธรรมดาหรือโรคเรื้อรังไม่ติดต่อประเภทต่าง ๆ

การที่ร่างกายของเราได้รับวิตามินซีจากหัวไชเท้าไม่เพียงเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่ยังช่วยควบคุมกระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งเปลี่ยนไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายให้เป็นพลังงานที่สามารถใช้ได้ นอกจากนี้วิตามินซีจากหัวไชเท้ายังมีส่วนในการสร้างคอลลาเจน(collagen)ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นในการสร้างความแข็งแรงให้กับผนังหลอดเลือด ทำให้ลดโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ และช่วยให้อาการของโรคความดันโลหิตสูงดีขึ้นได้อีกด้วย

7. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคมะเร็ง
- หัวไชเท้ามีสรรพคุณเป็นอาหารสำหรับล้างพิษออกจากร่างกาย และการที่หัวไชเท้าอุดมไปด้วยวิตามนซี, ฟอริก(Foric) และ Anthocyanins ทำให้หัวไชเท้าสามารถช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิดได้เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ, มะเร็งกระเพาะอาหาร, และมะเร็งในช่องปาก นอกจากนี้สาร Isothiocyanate ในหัวไชเท้ายังสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

8. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคริดสีดวงทวาร
- กากใยและสารอาหารในหัวไชเท้าจะช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยเก็บรักษาน้ำ และช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกที่เป็นสาเหตุหลักของโรคริดสีดวงทวาร เนื่องจากหัวไชเท้าเป็นอาหารที่มีสรรพคุณในการล้างพิษที่ดีเยี่ยม หัวไชเท้าจึงรักษาอาการริดสีดวงทวารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นอกจากนี้น้ำของหัวไชเท้ายังมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

9. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคระบบทางเดินหายใจ
- หัวไชเท้ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับท่านที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ, โรคหลอดลมอักเสบ และโรคหอบหืด หัวไชเท้ามีประโยชน์ในการลดความแออัดหรืออาการแน่นภายในระบบทางเดินหายใจรวมทั้งการระคายเคืองของจมูก ลำคอ และปอด ที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคหวัด โรคภูมิแพ้ หรือเกิดการติดเชื้อ หัวไชเท้ามีประสิทธิภายในการฆ่าเชื้อและอุดมไปด้วยวิตามินโดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

จบแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับหัวไชเท้า หัวไชเท้าเป็นผักที่มีราคาไม่สูงมากและสามารถหารับประทานได้ทุกฤดูกาล หากท่านผู้อ่านบางท่านไม่ชอบรับประทานหัวไชเท้าแบบดิบ ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ท่านก็สามารถนำหัวไชเท้ามาต้มทำเป็นต้มจับฉ่าย, แกงจืด หรือซุปก็ได้ครับ เพราะการที่เรานำหัวไชเท้ามาต้มจะทำให้อาหารที่ได้มีรสชาติกลมกล่อมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : หัวไชเท้า ผักขาวอวบประโยชน์เยอะ ตอนที่ 1

วันนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของหัวไชเท้ากันครับ หลังจากบทความที่แล้วเราทำความรู้จักกับหัวไชเท้าไปแล้ว ทำให้เราทราบว่าหัวไชเท้ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน และชื่อเรียกที่ถูกต้องคือหัวไช้เท้าไม่ใช่หัวไชเท้า และวิธีการรับประทาน หัวไชเท้าสามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบและแบบปรุงสุก แต่เราควรรับประทานหัวไชเท้าแบบดิบ ๆ ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)จะดีที่สุด ส่วนเนื้อหาของวันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องประโยชน์ของหัวไชเท้ากันครับ


ประโยชน์ของหัวไชเท้า

1. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อหัวใจและระบบหลอดเลือด
- หัวไชเท้าอุดมไปด้วย Anthocyanin ซึ่งให้ทั้งสีแก่หัวไชเท้าและประโยชน์ทางสุขภาพอีกมากมาย Anthocyanin มีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้านมะเร็ง และคุณสมบัติต้านการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย

2. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคไต
- จากการที่หัวไชเท้ามีสรรพคุณการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด หัวไชเท้าสามารถรักษาความผิดปกติของไตได้หลายชนิด หัวไชเท้าสามารถล้างพิษที่สะสมในไต และลดการสะสมพิษภายในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังลดโอกาสในการเกิดการติดเชื้อในไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่ออาการไข้หรือตัวร้อน
- เนื่องจากหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นหยางทำให้หัวไชเท้ามีสรรพคุณสามารถลดอุณหภูมิในร่างกาย วิธีที่ดีที่สุดในการเพื่อบรรเทาอาการไข้คือการดืมน้ำหัวไชเท้า บางตำราบอกให้ผสมเกลือดำ(มีหลายชื่อเรียก บางท่านเรียกเกลือพระพุทธเจ้า, Kala Namak, Black Salt)ลงไปในน้ำหัวไชเท้า ซึ่งเป็นการนำสรรพคุณสำคัญของหัวไชเท้าที่สามารถฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้มาป้องกันการติดเชื้อจนทำให้เกิดอาการของโรคหวัดจนทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงได้

4. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคความดันโลหิตสูง
- หัวไชเท้านอกจากจะมีสารอาหารมากมายแล้ว ในหัวไชเท้ายังอุดมไปด้วยโพแทสเซี่ยม(Potassium) ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดความดันโลหิตภายในร่างกายของเรา เนื่องจากโพแทสเซี่ยมช่วยให้หลอดเลือดแดงคลายตัวใหญ่ขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายทำได้ดีและสะดวกมากขึ้น และหนทางสำคัญในการลดความดันโลหิตที่สูงมากในร่างกาย คือการทำให้หลอดเลือดแดงมีการขยายตัวขึ้นจนทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง

5. ประโยชน์ของหัวไชเท้าต่อโรคเบาหวาน
- ตามที่เราทราบกันมาอย่างยาวนานว่าในหัวไชเท้ามีน้ำตาลอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้นการทานหัวไชเท้าจึงไม่ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยอาการของโรคเบาหวาน

พรุ่งนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของประโยชน์หัวไชเท้ากันอีกตอนนะครับ เพราะประโยชน์ของหัวไชเท้ามีอยู่มากมายจริง ๆ และจากที่ท่านผู้อ่านได้ทราบจากบทความนี้คือหัวไชเท้ามีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อหลาย ๆ โรค อย่างเช่นโรคเบาหวาน, โรคไต, และโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีหัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารรักษาโรค อาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) มากมายหลายเมนูนอกจากนี้หัวไชเท้ายังมีส่วนช่วยให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้นจากฤทธิ์ที่เป็นหยางของมันอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้จัก หัวไชเท้า ผักที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน !!!

วันนี้เราจะมาพูดถึงผักที่มีลักษณะขาวอวบน่ารับประทานอย่างหัวไชเท้ากันครับ เป็นผักที่มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูงมาก และส่วนที่เรานำมารับประทานคือส่วนหัวของมันที่ฝังอยู่ภายในดิน หัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่คนไทยและเมนูอาหารไทยมาช้านานรวมถึงในเมนูเพื่อสุขภาพหรือเมนูอาหารคลีน (Clean Food)ก็มีหัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากหัวไชเท้าอยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานจนบางครั้งเราอาจจะลืมเลือนว่าหัวไชเท้าเข้ามายังประเทศไทยได้อย่างไร แต่ต้นกำเนิดจริง ๆ ของหัวไชเท้านั้นมาจากประเทศจีน และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหัวไชเท้ากันครับ


ทำความรู้จักกับหัวไชเท้า

หัวไชเท้าหรือ ผักกาดหัว มีชื่อสามัญว่า Daikon, Daikon Radish, Radish, White Radish

และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Raphanus sativus L., Raphanus sativus var. hortensis Backer, Raphanus sativus var. longipinnatus L.H. Bailey, Raphanus sativus var. niger (Mill.) J.Kern. จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

หัวไชเท้า ซึ่งชื่อที่ถูกต้องจริง ๆ แล้วต้องเรียกว่า หัวไช้เท้า นอกจากนี้ชื่ออื่นๆยังมีอีกมากมาย เช่น หัวผักกาด ผักกาดหัว หัวไชเท้ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ตามตำราจีนโบราณบอกว่าหัวไชเท้าสามารถกำจัดสิ่งสกปรกและสารพิษที่สะสมภายในร่างกายของเรา หัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นหยาง หรือความหมายในภาษาไทยก็คือ มีฤทธิ์ทำให้เกิดความเย็นนั่นเอง หัวไชเท้าที่เรารับประทานกันมักจะมีรสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย ซึ่งหากเรานำมาทำเป็นซุปหรือแกงจืดก็จะมีสรรพคุณเป็นยาที่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ดี ซึ่งถือว่าหัวไชเท้าเป็นผักที่มีประโยชน์อย่างมากในหลายๆด้าน และการรับประทานหัวไชเท้านั้นสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ ถ้าเป็นไปได้ควรรับประทานแบบดิบมากที่สุด เนื่องจากจะทำให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากหัวไชเท้าได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

และเนื่องจากหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวไชเท้ากับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปหักล้างการออกฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์์ต่อร่างกายของเราไม่ดีหรือไม่เต็มที่เท่าที่ควร

และโดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวไชเท้านี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสีตามไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ย่อย หรือ Sub species ของหัวไชเท้านั่นเอง

รู้จักกับหัวไชเท้าหรือที่ถูกต้องต้องเรียกว่าหัวไช้เท้ากันไปแล้วนะครับ ตามที่กล่าวไปแล้วในบทความนี้ว่าหัวไชเท้ามีฤทธิ์เป็นหยางคือ ให้ความเย็นกับร่างกายของเรา ดังนั้นการที่เราป่วยจนมีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น การรับประทานหัวไชเท้าจะมีส่วนช่วยในการลดไข้หรือทำให้อุณหภูมิในร่างกายของเราต่ำลงได้ แต่แนะนำว่าควรรับประทานหัวไชเท้าดิบตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)จะเป็นการดีที่สุดนะครับ เพราะจะได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่มีอยู่ในหัวไชเท้าอย่างเต็มที่

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : มาตรฐานและวิธีการทำ Tomato Ketchup หรือซอสมะเขือเทศ

มาถึงตอนสุดท้ายของ Ketchup หรือซอสมะเขือเทศกันแล้วนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงมาตรฐานและวิธีการผลิต Tomato Ketchup หรือซอสมะเขือเทศกัน ซึ่งหากเรารับประทานซอสมะเขือเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะไม่ได้สารอาหารครบถ้วนจากมะเขือเทศตามหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) แล้วก็อาจจะมีอันตรายต่อร่างกายของเราได้นะครับ วันนี้เราจะได้ทราบกันว่าซอสมะเขือเทศที่ได้มาตรฐานนั้นมีลักษณะอย่างไรบ้าง


ซอสมะเขือเทศที่ได้มาตรฐานจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

- กลิ่น และรส ต้องเป็นไปตามธรรมชาติของมะเขือเทศ และเครื่องปรุงที่ใส่ ไม่มีการแต่งกลิ่นและรสเพิ่มเติม
- โดยลักษณะทั่วไปของซอสมะเขือเทศที่ได้มาตรฐานต้องมีเนื้อละเอียด มีสีแดงสด มีของแข็งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
- ไม่มีการแยกขั้นและหว่างน้ำกับตัวซอส โดยซอสมะเขือเทศต้องมีความคงตัว เป็นเนื้อเดียวกัน
- ในซอสมะเขือเทศต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอม ทั้งสารพิษ โลหะหนัก รวมถึงของแข็งหรือของเหลวอื่นๆที่ไม่ใส่ส่วนผสม
- สีที่ใช้ผสม,สารแต่งกลิ่นและวัตถุกันเสีย รวมถึงสารเติมแต่งต่างๆ ต้องมีความปลอดภัย ได้มาตรฐานตามที่ อย. กำหนด หรือเป็นสารตามธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค
- ปริมาณความเข้มข้นของกรดต้องไม่เกินร้อยละ 7 ของน้ำหนัก
- ในซอสมะเขือเทศต้องมียีสต์ และราต้องน้อยกว่า 10 โคโลนี/ตัวอย่าง 1 กรัม
- ซอสมะเขือเทศที่ดีต้องมีความเป็นกรด-ด่าง ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5
- ต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ผสมอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม


ขั้นตอนการผลิตซอสมะเขือเทศ

การผลิตซอสมะเขือเทศจำเป็นต้องเตรียมวัตถุดิบ (มะเขือเทศเข้มข้น) และส่วนผสมให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งวิธีการทำซอสมะเขือเทศในระดับครัวเรือน สามารถทำตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และขั้นตอนการทำที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งมักมีขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
1. นำเนื้อมะเขือเทศเข้มข้นที่ได้จากการบดใส่ลงในถังผสม
2. เพิ่มความร้อนให้กับมะเขือเทศในถังผสม ประมาณ 60 องศาเซลเซียส
3. นำส่วนผสมต่าง ๆ เช่นเกลือ น้ำส้มสายชู น้ำตาล เครื่องเทศ สารให้ความคงตัว ใส่ลงไปในถังผสม
4. ทำการปั่นผสมวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
5. นำซอสมะเขือเทศที่ได้จากการปั่นไปทำการฆ่าเชื้อ
6. หลังจากทำการฆ่าเชื้อแล้วจึงนำซอสมะเขือเทศไปทำการบรรจุขวด

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ท่านผู้อ่านทุกท่านอาจจะนำความรู้ที่ได้ไปช่วยในการซื้อซอสมะเขือเทศในครั้งต่อไป การรับประทานซอสปรุงรสควรรับประทานไปพร้อมกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนะครับจะเป็นเมนูอาหารสุขภาพหรือเมนูอาหารคลีน (Clean Food)ก็ได้นะครับ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในทุก ๆ มื้ออาหาร ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ส่วนประกอบสำคัญของซอสมะเขือเทศหรือ Ketchup !!

เมื่อวานเราทำความรู้จักกับ Tomato Ketchup หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันติดปากว่าซอสมะเขือเทศกันไปแล้วนะครับ ซึ่งหลังจากนี้ผมจะใช้คำว่าซอสมะเขือเทศแทนคำว่า Ketchup ไปเลย หลังจากที่เราทำความรู้จักกับซอสมะเขือเทศจะทำให้เราทราบว่าซอสมะเขือเทศนั้นผ่านกระบวนการผลิตคือการหมัก และกระบวนการปรุงรสต่าง ๆ มากพอสมควรทำให้คุณค่าทางอาหารที่ได้จากซอสมะเขือเทศนั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมะเขือเทศสดซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมใช้กันในเมนูอาหารคลีน (Clean Food) ซึ่งหากเรานำส่วนผสมอื่น ๆ มาใช้แทนมะเขือเทศจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากซอสมะเขือเทศน้อยลงไปอีก วันนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบสำคัญของซอสมะเขือเทศ ว่าใช้วัตถุดิบอะไรเป็นส่วนประกอบบ้างและควรใช้ในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด


วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการทำซอสมะเขือเทศ
ส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตซอสมะเขือเทศมีดังนี้

1. เนื้อมะเขือเทศ
ส่วนของมะเขือเทศเข้มข้นที่ได้จากเนื้อมะเขือเทศเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตซอสมะเขือเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีคุณภาพ มีสีเดียวกัน มีความสุกสม่ำเสมอ และผ่านการคัดเลือกในด้านคุณภาพแล้ว การเตรียมจะเริ่มด้วยกระบวนการทำความสะอาด และผ่านกระบวนการคัดเลือกคุณภาพ หลังจากนั้นนำมาบด และแยกเศษเนื้อ และเมล็ดออก ส่วนที่เหลือจะเป็นเนื้อมะเขือเทศที่ละเอียด และน้ำมะเขือเทศ สำหรับทำให้เข้มข้นต่อไป โดยการบดมะเขือเทศให้เป็นเนื้อละเอียดสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- วิธีการใช้ความร้อน กระบวนการนี้ทำได้ด้วยการให้ความร้อนประมาณ 60-80 องศาเซลเซียสไปยังเนื้อมะเขือเทศ เพื่อทำการบดให้มะเขือเทศละเอียด
- วิธีการใช้ความเย็น กระบวนการนี้ทำได้ด้วยการบดมะเขือเทศด้วยเครื่องบดที่อุณหภูมิห้อง และนำเข้าพักที่ถังเก็บเพื่อให้เอนไซม์ย่อยเพคติน และเข้าสู่การแยกกาก และเมล็ดก่อนเข้าสู่กระบวนการทำให้ข้น วิธีนี้นิยมมากที่สุด

2. เกลือบริสุทธิ์
สำหรับเกลือที่ใช้ในการทำซอสมะเขือเทศมักจะเป็นเกลือสมุทรหรือเกลือสินเธาว์ที่มีการเติมสารไอโอดีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปแล้ว และการเลือกใช้เกลือนั้นควรเลือกเกลือที่มีความบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งปลอมปนและไม่ผสมสารอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

3. สารเพิ่มความคงตัวและคงรูปร่าง
สำหรับสารเพิ่มความคงตัว เป็นสารที่เติมลงไปในซอสมะเขือเทศเพื่อทำให้เกิดความหนืด และความคงตัวของเนื้อซอสมะเขือเทศ ป้องกันการตกตะกอนหรือแยกชั้นของแข็งกับของเหลว สารที่นิยมใช้ ได้แก่ แซนแทนกัม ซึ่งช่วยให้ตัวเนื้อซอสมะเขือเทศจับตับกันได้ดี

4. สารให้ความเปรี้ยวเช่นน้ำส้มสายชูหรือกรดซิตริก
สำหรับสารให้ความเปรี้ยวที่เติมในซอสมะเขือเทศ โดยทั่วไปนิยมใช้น้ำส้มสายชู ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
– น้ำส้มสายชูหมัก (Fermented Vinegar) เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการนำเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวหรือผลไม้มาหมักกับส่าเหล้าหรือยีสต์จนได้แอลกอฮอล์ แล้วนำมาหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูอีกครั้งจนได้น้ำส้มสายชู
– น้ำส้มสายชูกลั่น (Distilled Vinegar) เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากกระบวนการทำแอลกอฮอล์กลั่นเจือจางหรือการหมักเชื้อน้ำส้มสายชูในแอลกอฮอล์จนได้น้ำส้มสายชู
– น้ำส้มสายชูเทียม (Acetic Vinegar) เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการนำเอากรดน้ำส้ม (Acetic acid) มาเจือจางให้มีความเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชูหมักหรือน้ำส้มสายชูกลั่น
และนอกเหนือจากน้ำส้มสายชูแล้วยังสามารถใช้สารชนิดอื่น ๆ ที่มีความเปรี้ยวทดแทนได้ เช่นการเลือกใช้กรดซิตริก ซึ่งจะให้ความเปรี้ยวที่เหมือนกัน แต่ต้องเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

5. เครื่องเทศชนิดต่าง ๆ
เครื่องเทศที่นำมาใช้ในการทำซอสมะเขือเทศส่วนใหญ่จะหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป อาทิเช่น หัวหอมใหญ่ อบเชย กานพลู พริกไทย ขิง มัสตาร์ดหรือปาปริก้า เป็นต้น เครื่องเทศที่ผสมลงไปในซอสมะเขือเทศอาจใช้ในรูปของผงหรือน้ำมันหอมสกัดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เพื่อควบคุมในเรื่องของความสะอาด

6. น้ำตาล
สำหรับสารให้ความหวานที่เติมใส่ในซอสมะเขือเทศมักใช้น้ำตาลเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลทรายขาว แต่ทั่วไปจะใช้น้ำตาลทรายขาวเพื่อป้องกันสีของซอสมะเขือเทศเปลี่ยน นอกจากนั้น ยังสามารถใช้สารอื่นทดแทนได้ ได้แก่ – กลูโคสไซรัป (Glucose syrup) ซึ่งเป็นน้ำตาลแซคคาไรด์ที่ได้จากการย่อยแป้ง แล้วผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และทำให้เข้มข้น
– สารให้ความหวานอื่นๆ เช่น น้ำตาลจากผลไม้ ซอร์บิทอล ไซลิทอล ซึ่งสารเหล่านี้ไม่นิยมนำมาใช้ เนื่องจากจะทำให้ราคาต้นทุนของซอสมะเขือเทศสูงขึ้น

ทราบถึงส่วนประกอบหลักในการผลิตซอสมะเขือเทศกันไปแล้วนะครับ ซึ่งหลักการทำซอสมะเขือเทศให้มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุดคือการใช้วัตถุดิบที่สด และส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ เรื่องความอร่อยอาจจะลดลงไปบ้างเหมือนกับพวกอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) ที่ไม่ได้มุ่งเน้นรสชาติของอาหารแต่เน้นไปที่ประโยชน์ที่ได้รับจากอาหารเป็นประการสำคัญที่สุด และในวันพรุ่งนี้เราจะมาต่อกันในเรื่องของกระบวนการผลิตซอสมะเขือเทศซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของบทความเรื่อง Tomato Ketchup หรือซอสมะเขือเทศกันครับ

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : Ketchup หรือซอสมะเขือเทศ คืออะไร ?

ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่า Ketchup หรือที่เรามักจะเรียกกันว่าซอสมะเขือเทศนั้นเป็นเครื่องปรุงรสที่มีอยู่ในอาหารเกือบทุกมื้อของคนไทย รสชาติของ Ketchup ของแต่ละประเทศจะมีรสชาติและความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป อย่าง Ketchup ที่มีขายกันในประเทศไทยจะมีลักษณะสีเข้มสดให้รสชาติจัดจ้านแต่กลมกล่อม แต่ Ketchup บางยี่ห้ออาจจะไม่ได้ใช้มะเขือเทศเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต แต่อาจจะใช้ผักหรือผลไม้ชนิดอื่นเช่นมะละกอมาเป็นวัตถุดิบหลักแทน และ Ketchup ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมักจะผสมวัตถุกันเสียซึ่งไม่ตรงกับหลักการอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) และอาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายของผู้รับประทานได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก Ketchup กันให้มากขึ้นครับ


Ketchup
ถือเป็นเครื่องปรุงที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาจากชาวตะวันตก แต่ความจริงแล้วท่านทราบหรือไม่ว่า Ketchup เป็นคำศัพท์ที่มีต้นกำหนดมาจากภาษาจีน เพราะคำว่า Ketchup ที่เราหมายถึง ซอสมะเขือเทศ หรือ น้ำซอสชนิดเข้มข้นนั้น เดิมทีมีที่มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนคำที่ว่า คีเซียบ ซึ่งหมายถึง น้ำหมักปลาที่่ผ่านการปรุงรสด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร ซึ่งนับเป็นเครื่องเคียงปรุงรสอาหารที่นิยมมากในประเทศจีน และได้แพร่หลายมายังทวีปยุโรปและอเมริกาโดยนักเดินเรือและนักสำรวจทางทะเล

และในเวลาต่อมา ชาวอักฤษได้นำเครื่องปรุงชนิดนี้ไปดัดแปลงนำมาผสมกับวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น อาทิ เห็ด วอลนัท หรือหอยนางรม แล้วมีการเรียกเพี้ยนกันไปเรื่อยๆจาก คีเซียบ เป็น Catchup จนกลายมาเป็น Ketchupที่เราเรียกกันและใช้เป็นภาษาสากลอยู่ในปัจจุบัน

จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่18 มีผู้คนในบางท้องถิ่นของอเมริกาเหนือมีความเชื่อว่า การรับประทานมะเขือเทศสดๆ นั้นจะมีพิษและอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นพ่อครัวชาวนิวอิงแลนด์ อเมริกา จึงทดลองผสมโดยการนำมะเขือเทศที่หาได้ในท้องถิ่นมาผ่านกระบวนการหมักซอสจนได้ซอสปรุงรสที่มีรสชาติกลมกล่อมและทำให้ Tomato Ketchup กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า Tomato sauceในทางสากลไม่ได้หมายถึง Ketchup หรือซอสที่ได้จากการมะเขือเทศมาผ่านการหลักและปรุงรส แต่จะหมายถึง ซอสมะเขือเทศที่ทำหรือผัดขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับราดหน้า พาสต้า หรือ สปาเกตตี้

ซึ่งในปัจจุบันเรามักเรียก Ketchupแทนซอสมะเขือเทศแต่จริงๆ ซอสมะเขือเทศ หรือ tomato sauce กับ Ketchup นั้นต่างกันตรงที่ ซอสมะเขือเทศทำมาจากมะเขือเทศสับละเอียด แล้วนำไปผัดกับน้ำมันมะกอก กระเทียม หัวหอมใหญ่ ปรุงรสเล็กน้อยด้วยเกลือ อาจใส่น้ำตาลเพิ่มและสมุนไพรพวก basil พริกไทย นิดหน่อยแล้วแต่ชอบ เพื่อใช้เป็นซอสสำหรับใส่ในหน้าพิซซ่าหรือใส่ในพาสต้า เนื้อสัมผัสจะไม่มีความข้นมาก และยังคงมีความสดของมะเขือเทศหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย

ส่วน Ketchup นั้นทำมาจากมะเขือเทศบดที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยการหมักด้วยส่วนผสมที่เข้มข้นประกอบไปด้วย น้ำส้มสายชู น้ำเชื่อมข้าวโพด ทำให้ได้รสชาติที่จัดจ้านและกลมกล่อมกว่า
แต่สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นซอสมะเขือเทศ หรือ Ketchup ต่างก็มีสารอาหารที่ได้จากมะเขือเทศที่เรารู้จักกันดีในชื่อไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในมะเขือเทศซึ่งมีส่วนสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ และหากท่านผู้อ่านอยากจะได้รับสารไลโคปีนอย่างเต็มที่ก็ควรรับประทานมะเขือเทศสด สะอาดและปลอดภัยตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) นะครับเท่านี้ร่างกายก็จะได้รับสารไลโคปินและสารอาหารที่มีประโยชน์จากมะเขือเทศอย่างเต็มที่ครับ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้จักมะเขือเทศต้นกำเนิดของซอสมะเขือเทศ

วันนี้เราจะมาพูดถึงมะเขือเทศซึ่งนำมาทำเป็นซอสปรุงรสที่ใช้กันมากในชีวิตประจำวันอย่างซอสมะเขือเทศกันนะครับ อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่าผลมะเขือเทศมีประโยชน์กับร่างกายของเราอย่างสูง ทั้งยังมีรสชาติดี จนมีผู้นำมาทำเป็นซอสมะเขือเทศเพื่อรับประทานกับอาหารอื่น ๆ อีกหลากหลายเมนู แต่หากท่านผู้อ่านต้องการได้รับประโยชน์และสารอาหารจากมะเขือเทศอย่างเต็มที่ก็ควรจะรับประทานมะเขือเทศสดตามหลักการของการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food)นะครับ เรามาเรียนรู้ถึง ต้นกำเนิดของมะเขือเทศกันเลยครับ


มะเขือเทศ
มะเขือเทศ หรือชื่อที่เป็นทางการว่า Lycopersicon esculentum เป็นพืชที่มีกำเนิดในป่าของ ประเทศเปรูและเอกวาดอร์ในอเมริกากลาง นักประวัติศาสตร์การเกษตรเชื่อว่า ชาวเม็กซิโกเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนำมะเขือเทศมาปลูกในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อกองทัพล่าอาณานิคมของสเปนได้ทำสงครามชนะชนพื้นเมืองเผ่า Inca, Aztec และ Maya เหล่าทหารได้นำพืชชนิดนี้จากเม็กซิโกไปปลูกในยุโรป จากนั้นพืชที่รู้จักกันในนามว่า แอปเปิลทองบ้าง แอปเปิลเปรูบ้าง หรือแอปเปิล พิศวาสบ้าง ก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก

มะเขือเทศสามารถเจริญงอกงามได้ในดินฟ้าอากาศที่หลากหลายสภาพทั้งในเรือนเพาะชำหรือไร่ ถึงแม้เราสามารถพบเห็นชาวไร่ ปลูกมะเขือเทศในทุกภูมิภาคของโลก แต่รัสเซีย จีน อเมริกา อียิปต์ และอิตาลี คือประเทศที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุด

มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนประมาณ 1 ปี ที่นิยมปลูกเป็นพุ่มซึ่งชาวไร่มักใช้ไม้ค้ำชูลำต้นที่สูงตั้งแต่ 0.7-2 เมตร เมื่อต้น ให้ผลตามที่ต้องการแล้ว เขาจะเด็ดยอดทิ้งเพื่อไม่ให้ต้นเจริญเติบโตอีกต่อไป หากไร่มีต้นอ่อนงอกเสริม ชาวไร่จะถอนมันทิ้งเพื่อไม่ให้ มันแย่งอาหารจากต้นใหญ่ ขณะเจริญเติบโตต้นมะเขือเทศต้องการแสงแดดจัด ใบเป็นใบประกอบที่มีก้านใบ และแกนกลางใบ ดอกเป็น ช่อซึ่งมีดอกตั้งแต่ 3-11 ดอก กลีบสีเหลืองมี 5-6 กลีบ และเกสรตัวผู้ห่อหุ้มเกสรตัวเมีย ดังนั้นมันจึงเป็นพืชที่สามารถผสมพันธุ์ได้ใน ตัวของ มันเองโดยไม่ต้องอาศัยแมลง แต่ก็มีมะเขือเทศบางพันธุ์ที่เกสรตัวเมียยื่นออกมาเหนือเกสรตัวผู้ มะเขือเทศที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ ลักษณะนี้จึง ต้องการแมลงมาช่วยในการผสมพันธุ์ข้ามต้น

เนื้อของมะเขือเทศมีทั้งมีแดงและเหลือง ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1.5-10 เซนติเมตร ผิวเรียบ และมีน้ำกว่า 90% มีโปรตีนและ ไขมันเล็กน้อย ส่วนคาร์โบไฮเดรตอันได้แก่ glucose และ fructose มีประมาณ 3% และมี carotene วิตามิน B,E และ C เล็กน้อย โดยเฉพาะวิตามิน C มีปริมาณ 17 มิลลิกรัม ในเนื้อมะเขือเทศ 100 กรัม ส่วน carotene ที่ว่านี้คือ lycopene b-carotene ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์มากต่อร่างกายของเรา

วันนี้จบไปแล้วนะครับสำหรับการทำความรู้จักกับมะเขือเทศที่นำมาใช้ทำเป็นซอสมะเขือเทศกันไปแล้วนะครับ มะเขือเทศเป็นพืชผักที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากและเป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งมะเขือเทศถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารคลีน (Clean Food) หลากหลายเมนูนะครับ และในวันพรุ่งนี้เราจะมาพูดถึงซอสมะเขือเทศกันต่อนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ระวัง อันตรายจากโรคมะเร็งที่มากับน้ำอัดลม

บทความก่อนหน้านี้เราทราบถึงอันตรายจากน้ำอัดลมกันแล้วนะครับ ซึ่งมีโรคหลายชนิดที่มากับน้ำอัดลม และนอกจากนี้น้ำอัดลมยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เกิดจากการดื่มน้ำอัดลมกันนะครับ ซึ่งวันนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของน้ำอัดลมแล้วนะครับ แต่ยังไงผมก็ยังย้ำคำเดิมว่าการดื่มน้ำที่สะอาด บริสุทธิ์ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของเราแล้วครับ


โรคมะเร็งที่มากับน้ำอัดลม

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
จากข้อมูลที่มาจากเว็บไซต์ Men's Journal ยังได้นำเสนอรายงานล่าสุดของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่ได้เปิดเผยว่าการดื่มน้ำอัดลมโดยเฉพาะในกลุ่มน้ำอัดลมที่มีสีดำนั้นสามารถทำให้ผู้ชายเกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เพราะในน้ำเชื่อมที่ทำให้น้ำอัดลมมีสีดำนั้นจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า 4-MEI หรือ 4-methylimidazole ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสารชนิดนี้ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูที่ใช้ในการทดลองสารดังกล่าว โดยเมื่อนำน้ำอัดลมที่มีสีดำมาวัดปริมาณสารดังกล่าวก็พบว่ามีสารนี้อยู่มากถึง 352.5 มิลลิกรัม ทั้งที่มีกฎหมายเตือนแล้วว่าในน้ำอัดลมจะต้องไม่มีสาร 4-MEI มากกว่า 29 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณที่มากขนาดนี้สามารถทำให้ผู้ชายเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้

โรคมะเร็งตับอ่อน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ WebMD ยังได้เปิดเผยการศึกษาของศูนย์การแพทย์ Georgetown ในเมืองวอชิงตันดีซี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention ของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งในสหรัฐฯ ว่า การดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 2 แก้วต่อสัปดาห์สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนถึง 87% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มน้ำอัดลม

โรคมะเร็งมดลูก
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำอัดลมประกอบด้วยน้ำตาลจำนวนมาก น้ำ กับก๊าซคาร์บอนิก ซึ่งแค่เพียง 3 ส่วนผสมนี้ก็สามารถนำมาสู่โรคภัยได้แล้ว อย่างที่เราเห็นได้ชัดที่สุดก็คือโรคอ้วน การดื่มน้ำอัดลมมาก ๆ จะทำให้เราอ้วนขึ้น และความอ้วนนี่เองที่นำพาไปสู่โรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเว็บไซต์ Medical Daily ได้นำเสนอผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการอย่าง Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention ที่เปิดเผยว่า หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่างเช่นน้ำอัดลมมาก ๆ จะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งมดลูกชนิดที่ 1 จากมะเร็งมดลูกที่มีทั้งหมด 2 ชนิด ซึ่งมะเร็งมดลูกชนิดที่ 1 ค่อย ๆ แพร่กระจายไปอย่างช้า ๆ ต่างกับมะเร็งมดลูกชนิดที่ 2 ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าและทำให้เสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่ามะเร็งมดลูกชนิดที่ 1
ทั้งนี้การเกิดโรคมะเร็งมดลูกชนิดที่ 1 นั้นก็มีสาเหตุมาจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตออกมามากเกินไป และสาเหตุที่จะทำให้ร่างกายของผู้หญิงผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้นก็เนื่องมากจากความอ้วน นอกจากนี้น้ำหนักที่มากเกินไปก็ยังทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากเกินความจำเป็นอีกด้วย

จบไปแล้วนะครับสำหรับตอนสุดท้ายของน้ำอัดลม ซึ่งทั้ง 4 ตอนของน้ำอัดลมคงทำให้ทุกท่านทราบถึงอันตรายของน้ำอัดลมไปแล้ว สำหรับท่านที่ดื่มน้ำอัดลมมาตลอดต่อเนื่องยาวนานการเลิกดื่มน้ำอัดลมโดยเด็ดขาดและหันมาดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดบริสุทธิ์ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)โดยทันทีคงเป็นไปได้ยาก แต่หากทำได้ท่านผู้อ่านก็จะห่างไกลจากโรคร้ายแรงหลาย ๆ โรคได้ครับ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : น้ำอัดลม ความซ่าที่มากับอันตรายที่คาดไม่ถึง

สองตอนก่อนหน้านี้เราทำความรู้จักกับน้้ำอัดลมกันไปเป็นอย่างดีแล้วนะครับ น้ำอัดลมที่มีขายกันอยู่ในประเทศไทยนั้นยิ่งนับวันยิ่งมีอันตรายเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาครับ เพราะเมื่อเราเคยชินกับความซ่าหรือความสดชื่นของน้ำอัดลมแล้ว ผู้ผลิตก็จะทำการคิดค้นสูตรใหม่ที่มีความซ่าหรือความสดชื่นมากกว่าเดิม เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่นมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็จะได้รับอันตรายที่มากขึ้นตามไปด้วย ไม่เหมือนกับการรับประทานน้ำบริสุทธิ์ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) นะครับ เพราะเรารับประทานเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ต้องอาศัยความหวานหรือความสดชื่นเลยครับ


อันตรายที่มากับน้ำอัดลม

1. โรคอ้วน, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
หากเราดื่มน้ำอัดลมเป็นครั้งคราวหรือนานๆ ครั้ง น้ำอัดลมก็อาจจะส่งผลต่อร่างกายของเรามากนักเป็นอะไรมากนัก แต่หากติดดื่มเป็นประจำมากเกินไปก็ย่อมส่งผลให้เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมาได้ ซึ่งอาการของโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคชนิดเรื้อรังไม่ติดต่อนี้ อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นอันตรายไม่น้อยไปกว่ากันได้

2. ฟันและกระดูกเกิดการสึกกร่อน
เนื่องจากความหวานที่มีอยู่ในน้ำอัดลมมีปริมาณสูงซึ่งเป็นตัวการที่ให้ฟันเราผุได้ เนื่องจากกรดคาร์บอนิกที่มีในน้ำอัดลมจะเข้าไปทำลายสารเคลือบฟัน และนอกจากสภาพฟันจะสึกกร่อนลงได้แล้ว ยังทำให้กระดูกของเราผุกร่อนตามอีกด้วย ในคนวัยทองจึงมีโอกาสมากที่จะเกิดอาการของโรคกระดูกพรุนนั่นเอง

3. สุขภาพอ่อนแอเนื่องจากอาการนอนไม่หลับ
ในน้ำอัดลมบางชนิดจะมีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก และคาเฟอีนนี่เองที่เป็นตัวการทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับ และหากเราดื่มน้ำอัดลมซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีปริมาณคาเฟอีนสูงมาก โดยหากเราดื่มน้ำอัดลมในเวลากลางคืน คาเฟอีนจากน้ำอัดลมจะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า สดชื่นได้เช่นเดียวกัน ส่งผลให้เรานอนหลับยากไปด้วยนั่นเอง

4. โรคขาดสารอาหาร
ลองสังเกตุดูนะครับเมื่อเวลาที่เราดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารหรือทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากน้ำอัดลมมีแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์บรรจุอยู่ในปริมาณมากจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม และเกิดอาการแน่นท้อง หากเด็กคนไหนติดน้ำอัดลมหนัก ก็อาจจะส่งผลให้ไม่อยากรับประทานอาหารจนทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ครับ

5. โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและย่อยอาหาร
หากร่างกายของเราได้รับน้ำอัดลมในปริมาณที่มากเกินไป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรจุในน้ำอัดลมจะเข้าไปทำให้ท้องอืด และทำให้อาหารไม่ย่อย แน่นและจุกเสียดท้องตามมาจนมีผลกระทบไปถึงระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารอาจจะมีอาการปวดท้องหรือจุกเสียดท้องอย่างรุนแรง และสำหรับท่านที่มีอาการของโรคกระเพาะยิ่งไม่ควรดื่มอัดลมโดยเด็ดขาด เพราะน้ำตาลและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำให้อาการของโรคเป็นหนักขึ้น

ทราบถึงอันตรายของน้ำอัดลมกันไปแล้วนะครับ สาเหตุหลักของอันตรายจากน้ำอัดลมมาจากน้ำตาลและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรจุอยู่ในน้ำอันลมทุกประเภทนั่นเอง ซึ่งน้ำอัดลมเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายของเราเลย และการไม่รับประทานน้ำอัดลมก็ไม่ทำให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหารใดๆ เลย และหากทุกคนปรับเปลี่ยนมาดื่มน้ำสะอาดบริสุทธิ์ หรือน้ำสมุนไพรประเภทต่าง ๆ ตามแบบของอาหารคลีน (Clean Food) ท่านผู้อ่านทุกท่าน ก็จะไม่ต้องกังวลกับโรคต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นครับ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ส่วนประกอบของน้ำอัดลมสุดซ่า

บทความตอนที่แล้ว เราพูดถึงคำจำกัดความและความหมายของน้ำอัดลมกันไปแล้วนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบของน้ำอัดลมกันนะครับ ว่าน้ำอัดลมประกอบด้วยสารชนิดใดบ้าง และเราจะได้ทราบกันว่าน้ำอัดลมทำไมถึงมีรสหวานและมีความซ่า ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกสดชื่นและมีชีวิตชีวา และที่เขาพูดกันว่ากินน้ำอัดลมแล้วฟันจะผุและเป็นโรคแผลในกระเพาะจะจริงหรือเปล่า แต่สำหรับผมถึงแม้จะรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) เป็นหลักแต่ในบางครั้งก็ยังดื่มน้ำอัดลมบ้างเป็นบางครั้ง เพราะคงมีน้อยคนที่จะปฏิเสธรสชาติอันซาบซ่าและหวานชื่นใจของน้ำอัดลมได้ ยิ่งทานคู่กับอาหารรสจัดแล้วยิ่งเข้ากันมากครับ แต่ทั้งอาหารรสจัดและน้ำอัดลมเป็นอาหารที่มีโทษมากกว่าประโยชน์นะครับ ดังนั้นเราควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป แต่ทางที่ดีควรงดเว้นน้ำอัดลมและอาหารรสจัดไปเลยก็จะดีที่สุด ถึงมันจะตัดใจได้ยากแต่เราก็ควรปฏิบัติตามกฏของอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงไม่เกิดโรคภัยรบกวนครับ


ส่วนประกอบสำคัญของน้ำอัดลม

- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในการผลิตน้ำอัดลมนั้นจะอยู่ในรูปของเหลวซึ่งจะต้องไม่มีแก๊สชนิดอื่นปนอยู่ มีลักษณะและคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คาร์บอนไดออกไซด์สำหรับเครื่องดื่มดังนี้คือ มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 99.5 โดยมีปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ไม่เกิน 10 ส่วนในล้านส่วน ปริมาณไนตริกออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ ไม่เกิน 8.6 ส่วนในล้านส่วน และจะต้องมีการตรวจสอบความเป็นกรด ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ฟอสฟีน (phosphine) และสารอินทรีย์ทีเป็นสารรีดิวซ์ (organic reducing substance) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี่เองครับที่ทำให้น้ำอัดลมมีรสซ่าที่หลาย ๆ คนชอบ

- น้ำ
น้ำเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดและต้องใช้ในปริมาณมากที่สุดในการผลิตน้ำอัดลม และผู้ผลิตน้ำอัดลมจะต้องเป็นน้ำสะอาดตามคุณภาพหรือมาตรฐานของน้ำดื่มตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการตกตะกอนด้วยสารเคมี กรองผ่านทราย ลดความกระด้าง เติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค และกรองด้วยถ่านกัมมันต์ (activated carbon)

- น้ำตาล
ในการผลิตน้ำอัดลม ผู้ผลิตจะใช้น้ำตาลซูโครสผสมลงไปเป็นส่วนผสมหนึ่งของน้ำอัดลมซึ่งเราสามารถเลือกกใช้ได้ทั้งน้ำตาลในรูปเกล็ดและและน้ำตาลที่ถูกละลายเป็นของเหลว และในน้ำอัดลมควรมีน้ำตาลอินเวิร์ตร้อยละ 0.0015 และมีค่า pH ที่เป็นกลาง เพื่อให้เมื่อน้ำตาลละลายน้ำแล้วได้สารละลายใส ไม่มีสี

- จุลินทรีย์
ในการผลิตน้ำอัดลมในน้ำอัดลมจะต้องมีปริมาณจุลินทรีย์น้อยกว่า 400 โคโลนี ต่อ 10 มิลลิลิตรของน้ำตาล หลังจากเพาะเชื้อ 3 วันที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส

- หัวเชื้อ (concentrate)
หัวเชื้อในที่นี้ หมายถึง สารให้กลิ่นรส สี กรด และวัตถุกันเสียที่มีการเตรียมให้อยู่ในลักษณะของหัวเชื้อ โดยบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะเป็นผู้ดำเนินการผลิต ซึ่งหัวเชื้อที่ใช้ผลิตน้ำอัดลมจะบรรจุมาใช้ในภาชนะที่กันความชื้นได้เป็นอย่างดีและสามารถเก็บในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4-10 องศาเซลเซียสได้ หัวเชื้อบางชนิดอยู่ในสภาพเหลว แต่หัวเชื้อบางชนิดจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกอยู่ในรูปผลึกและผง ส่วนมากเป็นพวกกรดซิตริก สี และวัตถุกันเสีย ส่วนที่สองอยู่ในรูปของเหลวเป็นสารที่ให้กลิ่นรส

ทราบถึงส่วนผสมหรือวัตถุดิบในการใช้ผลิตน้ำอัดลมกันไปแล้วนะครับ อย่างที่ผมได้บอกไปแล้วในบทความว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผสมเข้าไปในน้ำอัดลมนี่เองครับ เป็นตัวการทำให้น้ำอัดลมมีฟองและมีรสซ่า โดยปกติแล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นก๊าซที่เราหายใจออกมา ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ต่อร่างกายของเราเลยแต่ของที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายของเรา แต่ถ้ามันทำให้รสชาติของอาหารหรือเครื่องดื่มดีขึ้นคนส่วนใหญ่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะรับประทานกัน พรุ่งนี้เราจะมาพูดถึงโทษและอันตรายในการดื่มน้้ำอัดลมกันนะครับ ว่ามีโทษและอันตรายอย่างไรบ้าง ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มน้ำสะอาด และบริสุทธิ์ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) นี่แหล่ะครับมีประโยชน์และช่วยสร้างสมดุลให้กับร่างกายของเราได้มากที่สุดครับ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : รู้หรือไม่ น้ำอัดลมคืออะไร

บทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านมาคำความรู้จักกับเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนานอย่างน้ำอัดลม (soft drink) กันครับหลายท่านคงนิยมดื่มน้ำอัดลมควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่นและทานอาหารได้อย่างมีรสชาติมากขึ้น แต่ท่านผู้อ่านทราบกันหรือไม่ครับว่าน้ำอัดลมมีส่วนผสมของสารใดอยู่บ้าง มีอันตรายแอบแฝงมากับความซ่าสดชื่นสดใสของน้ำอัดลมหรือไม่ และทำไมในเมนูอาหารสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่มีน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มประกอบในแต่ละมื้อเลย


ทำความรู้จักกับน้ำอัดลม (Soft Drink)

น้ำอัดลม (Soft Drink) ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในกลุ่ม อาหาร Empty Calories หรือ อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อร่างกายเลย เพราะนอกจากในน้ำอัดลมจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่น้อยมากแล้ว ในน้ำอัดลมยังมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่หลายชนิดอีกด้วย

น้ำอัดลมหรือ (Soft Drink) ที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดนั้นเป็นเครื่องดื่มประเภท เครื่องดื่มที่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (carbonated beverage) โดยน้ำอัดลมจะมีทส่วนประกอบหลักคือ น้ำโซดา น้ำอัดลมจะมีรสชาติที่หวานจัด เนื่องจากในน้ำอัดลมประกอบด้วยสารจำพวกสารให้ความหวาน (sweetener) นอกจากนี้ในน้ำอัดลมยังมีการเติมสีและแต่งกลิ่นให้ดูน่ารับประทานมากขึ้นอีกด้วย ในน้ำอัดลมส่วนใหญ่จะไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม และน้ำที่ใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำอัดลมจะเป็นน้ำสะอาดตามคุณภาพหรือมาตรฐานน้ำดื่ม โดยน้ำอัดลมจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มากถึงร้อยละ 86-93 % และในน้ำอัดลมยังมีน้ำตาลผสมอยู่ในอัตราสส่วนร้อยละ 7-14 % นอกนั้นจะเป็นสารจำพวกสารปรุงแต่งกลิ่น รส และสีที่ได้จากส่วนผสมของผลไม้ พืชผัก หรือสมุนไพร ที่อนุญาติให้ใช้ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในน้ำอัดลมเพื่อให้น้ำอัดลมมีรสซ่า น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานที่มาจากน้ำตาลที่ผสมอยู่ในน้ำอัดลม ซึ่งเป็นพลังงานที่ร่างกายของเราสามารถดูดซับและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ และน้ำตาลที่ใช้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งสามารถจะผ่านช่องปากลงสู่กระเพาะอาหารได้อย่างรวดเร็ว แพทย์จึงมักจะแนะนำให้เด็กและผู้ใหญ่ดื่มน้ำอัดลม หากไม่สามารถรับประทานอาหารอื่นได้ นอกจากจะเพิ่มปริมาณของเหลวที่ร่างกายได้รับแล้ว น้ำอัดลมยังมีผลช่วยบรรเทาอาการคลื่นเหียนจากการแพ้ท้อง หรือหลังการผ่าตัด ช่วยในระบบย่อยอาหาร และดับความกระหายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

การจัดกลุ่มของน้ำอัดลมในประเทศไทย
น้ำอัดลมในประเทศไทยสามารถแบ่งได้ตามสีและกลิ่นออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. น้ำอัดลมประเภทโคล่า น้ำอัดลมประเภทนี้มีสารปรุงแต่งหัวเชื้อจากเมล็ดโคล่า ใบโคคา และน้ำตาล ใบโคคาคือใบไม้แห้งที่ได้จากต้นโคคา (Coca) ที่นิยมปลูกกันในประเทศแถบอเมริกาใต้ และผลโคล่า โคล่าเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุ์มาจากประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งในผลโคล่านี้จะเต็มไปด้วยสารกระตุ้นประสาทอย่างสารคาเฟอีน และสีดำเข้มของเครื่องดื่มน้ำอัดลมประเภทโคล่า จะได้จากการการผสมระหว่างสีของน้ำโคล่ากับน้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจนไหม้นั่นเอง

2. น้ำอัดลมที่ปรุงแต่งรสและกลิ่นเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่นน้ำอัดลมรสส้ม น้ำอัดลมรสองุ่น หรือรสมะนาวเป็นต้น น้ำอัดลมเหล่านี้จะมีการเติมคาเฟอีนลงไปในภายหลังเนื่องจากไม่ได้รับคาเฟอีนจากผลของโคล่า แต่ในน้ำอัดลมประเภทนี้จะมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณที่มากกว่าน้ำอัดลมประเภทโคล่า

ในบทความตอนนี้จะเป็นตอนแรกของน้ำอัดลมนะครับ ตอนหน้าเราจะพูดถึงส่วนประกอบของน้ำอัดลมว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบกันบ้าง แต่ตามประโยคเริ่มต้นของบทความนี้ที่ว่า น้ำอัดลม (Soft Drink) ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในกลุ่ม อาหาร Empty Calories หรือ อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ก็สามารถนิยามน้ำอัดลมได้ว่าไม่มีประโยชน์อะไรและไม่จำเป็นต้องรับประทานแต่เหตุที่คนไทยนิยมรับประทานทั้งที่รู้ว่าน้ำอัดลมไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังมีโทษด้วยซ้ำก็คือ การดื่มน้ำอัดลมจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นและมีกำลัง และนอกจากนี้น้ำอัดลมยังมีราคาไม่แพงมากนัก แต่หากในบทความพรุ่งนี้ที่จะกล่าวถึงส่วนประกอบของน้ำอัดลม เมื่อท่านผู้อ่านทราบถึงส่วนประกอบของน้ำอัดลมแล้ว อ่านจะเปลี่ยนใจมาดื่มน้ำสะอาด บริสุทธิ์ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ก็เป็นได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : อันตรายจากน้ำมะนาวเทียม

จากบทความตอนที่แล้วเราพูดถึงรายละเอียดและส่วนประกอบของน้ำมะนาวเทียมกันไปแล้ว ซึ่งส่วนประกอบสำคัญของมะนาวเทียมก็คือกรดซิตริกที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้เราจะมาพูดถึงอันตรายจากน้ำมะนาวเทียม ที่ไม่ได้มาตรฐานกันครับ แต่สำหรับท่านที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหรือรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) ซึ่งไม่รับประทานอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยวจัดอยู่แล้ว แต่บทความนี้ก็จะให้ประโยชน์ ในการเรียนรู้โทษของมะนาวเทียมได้ครับ


อันตรายที่ได้รับจากการรับประทานน้ำมะนาวเทียม
น้ำมะนาวเทียมส่วนใหญ่ผลิตมาจากกรดซิตริก หรือเรียกว่ากรดมะนาว ซึ่งเป็นกรดผลไม้ มีอยู่ในส้มหรือมะนาวโดยการใส่สี และปรุงแต่งให้ดูเหมือนน้ำมะนาวแท้ น้ำมะนาวเทียมหรือน้ำมะนาวสำเร็จรูปที่ผลิตออกจำหน่ายจะมีการบรรจุใส่ขวด หรือถุงพลาสติกรัดยาง แต่ผู้ผลิตบางราย มีการผลิตที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จากการสุ่มตรวจตัวอย่างพบว่า น้ำมะนาวเทียมชนิดบรรจุถุงพลาสติกรัดด้วยยางมีกรดซิติก 9-10% มากกว่าน้ำมะนาวแท้ ซึ่งน้ำมะนาวแท้จะพบกรดซิติกเพียง 7.1%

ทั้งนี้ หากผู้บริโภครับประทานน้ำมะนาวเทียมที่มียีสต์ รา และกรดซิตริก มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และท้องเสียได้

และนอกจากนี้ “กรดซิตริก” ซึ่งถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีความบริสุทธิ์น้อยและมีสารปนเปื้อนที่สำคัญสามารถย่อยสลายสิ่งต่างๆได้ ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะภายในระบบทางเดินอาหารของผู้บริโภค ผู้ที่ชื่นชอบอาหารรสแซบทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ส้มตำ หรือแม้แต่น้ำหวานหรือไอศกรีมรสมะนาวต้องคอยสังเกตวัตถุดิบที่พ่อค้า – แม่ค้าใช้ดูให้ดี

นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของอาหารที่มีสารปนเปื้อนในความเป็นจริงแล้ว อาหารต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม และมุ่งหวังผลประโยชน์การค้าเป็นสำคัญล้วนมีสารพิษชนิดใดชนิดหนึ่งที่เจือปนอยู่ทั้งนั้น นับเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ไม่อาจสืบทราบที่มา ตลอดจนเส้นทางการเดินทางของอาหารที่ตนทานได้

จบไปแล้วนะครับกับบทความเรื่องน้ำมะนาวเทียม ซึ่งหากท่านผู้อ่านบางท่านที่ยังนิยมรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเปรี้ยวจัด ก็ต้องระมัดระวังให้ดีนะครับ บางทีพ่อค้าหรือแม่ค้าบางท่านอาจจะใช้น้ำมะนาวเทียมที่ไม่ได้คุณภาพหรือมีอันตรายในการปรุงอาหาร ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโทษกับร่างกายผู้รับประทานได้ ดังนั้นหากท่านหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเช่นอาหารคลีน (Clean Food) ก็จะห่างไกลโรคต่าง ๆ มากมายที่มาจากอาหารรสจัดครับ

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : น้ำมะนาวเทียม แทนน้ำมะนาวได้จริงหรือ

ปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่าในเมนูอาหารไทยหลาย ๆ เมนูจะมีมะนาวเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ด้วยเสมอ เพราะคนไทยส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารรสจัดเช่นรสเผ็ดจัดที่ได้จากพริก และรสเปรี้ยวจัดที่ได้จากมะนาว ตัวอย่างอาหารที่มีมะนาวหรือน้ำมะนาวเป็น ส่วนประกอบสำคัญได้แก่ ส้มตำ, ต้มยำ, ยำชนิดต่าง ๆ และอาหารประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในบางฤดูกาลผลผลิตมะนาวมีน้อยทำให้มะนาวมีราคาแพง ทำให้ร้านอาหารและผู้จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ต้องหันมาใช้สารชนิดอื่นที่ให้ความเปรี้ยวได้เช่นเดียวกับน้ำมะนาว แต่มีราคาถูกกว่า สารที่ว่าคือมะนาวเทียมครับ มะนาวเทียมจะไม่ถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) โดยเด็ดขาดเพราะมะนาวเทียมไม่ใช่สิ่งที่ได้จากธรรมชาติ และน้ำมะนาวเทียมบางยี่ห้อยังมีสารพิษชนิดต่าง ๆ ปนเปื้อนมาด้วยครับ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบของน้ำมะนาวเทียมกันครับ


น้ำมะนาวเทียมคืออะไร
เราสามารถทำน้ำมะนาวเทียมโดยการนำผลมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองเนื้อและสิ่งสกปรกออกไป จากนั้นนำมาผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ เช่น กรดซิตริก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ ว่า กรดมะนาว โดยอัตราส่วนนั้นก็แล้วแต่ผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น น้ำมะนาว 30% ก็คือมีน้ำมะนาวแท้ 30% ผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ อีก 70% และมีการแต่งสี แต่งกลิ่น ให้ใกล้เคียงน้ำมะนาวธรรมชาติ

ปัจจุบันมะนาวมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการนำมะนาวแท้มาเป็นส่วนผสม ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต ยิ่งในช่วงที่ผลผลิตมีน้อยก็อาจจะป้อนตลาดไม่ทัน ผู้ผลิตจึงหันมาใช้กรดมะนาวล้วนๆ โดยไม่มีน้ำมะนาวแท้เจือปนอยู่เลย การผลิตน้ำมะนาวเทียมโดยใช้กรดมะนาวล้วนๆ จะต้องนำกรดมะนาวมาเจือจาง โดยให้มีค่าความเป็นกรด-ด่างใกล้เคียงกับน้ำมะนาวแท้

กรดซิตริกพบได้ทั่วไปในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด ดังนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นสารเคมีที่ปลอดภัย สามารถเติมลงในอาหารได้โดยไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้กรดซิตริกยังสามารถย่อยสลายได้ง่ายอีกด้วย

การผลิตกรดซิตริกในระยะแรกใช้วิธีการสกัดจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวโดยตรง เช่น มะนาว ซึ่งมีกรดซิตริกประมาณร้อยละ 7-9 แต่ปัจจุบันนิยมผลิตด้วยวิธีการสังเคราะห์กรดซิตริกจากน้ำตาลกลูโคส โดยการหมักน้ำตาลกลูโคสด้วยจุลินทรีย์

กรดซิตริกนอกจากจะใช้ในการผลิตน้ำมะนาวเทียมแล้ว ยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย มีการใช้กรดซิตริกเป็นสารให้กลิ่น รส ในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ลูกกวาด เจลลี เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้กรดซิตริกเป็นสารลดความฝาด ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ป้องกันการเน่าเสียของเครื่องดื่ม ป้องกันการตกผลึกของน้ำผึ้ง และป้องกันน้ำผลไม้ขุ่นได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ตรวจพบว่ามีผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมะนาวเทียมด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องเสีย ท้องร่วง เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารได้

ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อน้ำมะนาวเทียมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเลือกซื้อที่มีฉลากอาหาร ในฉลากต้องแจ้งข้อมูลครบถ้วน ตั้งแต่ชื่อลักษณะผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อ ชื่อผู้ผลิต ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ ส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิต วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารกันเสีย และเจือสีธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์ วันที่ผลิตและวันหมดอายุ และที่สำคัญก็คือต้องมีเครื่องหมาย อย. และเลขที่ อย. ซึ่งหมายถึงได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้ได้น้ำมะนาวเทียมที่มีคุณภาพไว้บริโภคอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ควรใช้น้ำมะนาวเทียมเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะในเชิงโภชนาการและความปลอดภัยแล้วการใช้น้ำมะนาวแท้ หรือดัดแปลงใช้ผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นแทนมะนาว เช่น มะม่วงเปรี้ยว มะดัน ตะลิงปลิง มะขามอ่อน หรือมะขามเปียก จะได้คุณค่าทางโภชนาการและรสชาติที่ดีกว่าการใช้สารเคมีล้วนๆ อย่างน้ำมะนาวเทียม

วันนี้เราทำความรู้จักกับน้ำมะนาวเทียมกันไปแล้วนะครับ หากเราเลือกส่วนประกอบและวิธีการทำน้ำมะนาวเทียมที่ถูกต้อง เราก็จะได้น้ำมะนาวเทียมที่ให้ความเปรี้ยวได้เช่นเดียวกับน้ำมะนาวแท้ แต่หากส่วนประกอบของน้ำมะนาวเทียมมีสารพิษหรือสารกันบูดเจือปนอยู่ หากเรารับประทานเข้าไปก็อาจจะเกิดโทษกับร่างกายของเราได้ แต่ทางที่ดีที่สุดเราควรเลือกใช้มะนาวหรือน้ำมะนาวแท้เพื่อใช้ในการปรุงอาหารจะเป็นการดีที่สุด แต่เมนูสุขภาพอย่างเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่เน้นอาหารรสจัดมากจนเกินไป ดังนั้นถ้าผู้อ่านทุกท่านหันมารับประทานอาหารคลีนก็ไม่จำเป็นต้องใช้มะนาวจำนวนมากมาเป็นส่วนผสมครับ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : อันตรายที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อรา

ตอนที่แล้วเราทำความรู้จักกับเชื้อราและสารพิษชนิดต่าง ๆ ที่มากับเชื้อราในอาหารกันไปแล้ว ซึ่งเชื้อราในอาหารมักจะเกิดจากความชื้นในอาหารแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารแห้งจะไม่เกิดเชื้อรานะครับเชื้อราเกิดได้ทั้งกับอาหารที่มีความชื้นและอาหารแห้ง ดังนั้นการจะอยู่ให้ห่างไกลจากสารพิษจากเชื้อราเราควรหันมารับประทานอาหารสด สะอาดตามหลักของอาหารคลีน (Clean Food) กันดีกว่าครับ ส่วนในบทความตอนนี้เราจะพูดถึงอันตรายที่จะได้รับหากรับประทานเชื้อราในอาหารเข้าไปครับ


สาเหตุการเกิดเชื้อราในอาหาร
   เชื้อราในอาหารเกิดจากการควบคุมอุณหภูมิของอาหารไม่ดีพอ ทำให้เกิดความชื้นจากการอบหรือตากแห้ง อาหารที่มักเกิดเชื้อราได้ง่าย ได้แก่ หอม กระเทียม เห็ดหูหนู เห็ดหูหนูขาว ดอกไม้จีน เก๋ากี้ กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง หมูแดดเดียว ปลาตากแห้ง เป็นต้น เชื้อรามีผลต่อการทำงานของตับและทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง อันเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ การเลือกซื้อต้องสังเกตสี ดมกลิ่นและจับสัมผัส แต่ไม่ควรชิม ถ้าอากาศช่วงนั้นมีความชื้นสูงควรรีบนำมาทำอาหาร ส่วนอาหารที่ตากแห้งสนิท ควรแช่แข็งแต่ไม่ควรเก็บเกิน 1 เดือน หรือถ้าเก็บในช่องเย็นปกติควรนำออกมาตากแดดเป็นครั้งคราว

อันตรายและพิษจากเชื้อราอฟลาทอกซิน
   ผู้ได้รับสารนี้จะมีอาการคล้ายอาหารเป็นพิษ คือ อาเจียนและท้องเดิน และเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ เนื่องจากสารพิษไปทำลายเนื้อเยื่อของเซลล์ตับ มักพบในหัวหอม หัวกระเทียม ถั่วลิสง พริกแห้ง และเมล็ดธัญพืชต่างๆ วิธีเลือกของแห้งที่ปราศจากสารอฟลาทอกซินคือ ควรเลือกอาหารที่แห้งสนิท ไม่มีกลิ่นหืน ไม่ลีบฝ่อ และที่สำคัญต้องไม่มีสีเข้มผิดปกติหรือสีดำ อย่าลืมนะคะเชื้อนี้ไม่สามารถทำลายด้วยความร้อนหรือล้างน้ำสะอาด ถ้าอาหารมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ให้ทิ้งแบบไม่ต้องเสียดาย

อันตรายและพิษจากเชื้อรา Mykotoxine
   เชื้อราในอาหารชนิดที่เรียกว่า Mykotoxine ยังเป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งหรือเชื้อราตัวอื่นอาจทำลายไตและทำให้ภูมิต้านโรคอ่อนแอ หรือแม้แต่เชื้อราชนิดที่ไม่อัตรายก็ยังซ่อนอันตรายไว้ เช่นการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไป ก็อาจทำให้คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอติดเชื้อราที่ทางเดินหายใจ หรือการเป็นภูมิแพ้จากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราบางชนิด เช่น จากถังขยะในบ้านหรือจากอาหารเหลือค้าง

หลักการและวิธีป้องกันการเกิดเชื้อราในอาหาร
   วิธีการป้องกันการเกิดเชื้อราในกรณีที่ต้องเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นหรือวางไว้ก็คือ ไม่กักตุนอาหารสดและรับประทานให้หมดก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อราได้ และขระซื้ออาหาร เช่นผัก ก็ควรเลือกให้ดีว่าไม่มีรอยบุบ นอกจากนี้ก็คือควรเก็บอาหารให้สะอาด ไว้ในที่เย็นและแห้ง ควรทำความสะอาดกล่องใส่อาหารสัปดาห์ละครั้ง และใช้น้ำส้มสายชูเช็ดควรเช็ดเศษขนมปังหรือเศษอาหารเป็นประจำสม่ำเสมอเพราะมันจะก่อให้เกิดเชื้อรา

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับเชื้อราในอาหาร การเก็บอาหารไว้รับประทานในวันต่อไปเราต้องรู้จักวิธีการเก็บที่ถูกวิธี มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาเชื้อราในอาหารได้ วิธีการที่ดีที่สุดและได้ประโยชน์กับร่างกายของเรามากที่สุดคือการที่เราเลือกรับประทานอาหารสด และสะอาดในทุก ๆ มื้อตามหลักการของอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน (Clean Food) โดยอาหารที่สดและสะอาด ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงก็ได้ครับ ขอแค่เป็นอาหารตามธรรมชาติที่มีประโยชนต่อร่างกาย



วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : สารพิษที่มากับเชื้อราในอาหาร

วันนี้เราจะมาพูดถึงเชื้อราในอาหารกันนะครับ เชื้อราโดยทั่วไปมักจะเกิดกับอาหารที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้รับประทานทำให้เกิดเชื้อราบนอาหาร แต่ถ้าเรารับประทานอาหารตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)ที่มุ่งเน้นการรับประทานอาหารที่สดและสะอาดแล้ว เราจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรามารบกวนใจเราโดยเด็ดขาด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเชื้อราในอาหารกันครับ

 Clean Food

ประเภทของสารพิษที่มาจากเชื้อรา
สารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin) ที่ปนเปื้อนอาหาร เท่าที่ค้นพบแล้วมีประมาณ 100 สาร สามารถสร้างโดยเชื้อประมาณ 200 ชนิด การปนเปื้อนของสารพิษจากรามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการผลิตอาหาร (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประมาณว่า ทั่วโลกสูญเสียอาหารที่เนื่องจากการปนเปื้อนของพิษจากราถึง 100 ล้านตันต่อปี) และที่สำคัญกว่านั้นก็คือมีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ในบรรดาสารพิษจากเชื้อราที่รู้จักทั้งหมดนั้น เชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปนเปื้อนอาหาร คือ

- อะฟาท็อกซิน
สารจำพวกอะฟาท็อกซิน ได้แก่อะฟาท็อกซิน บี 1 บี 2 จี 1 จี 2 เอ็ม 1 เอ็ม 2 (Aflatoxins B1 B2 G1 G2 M1 M2) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ แอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus)

- สเตอริกมาโตซิสติน (Sterigmatocystin)
เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ แอสเพอร์จิลลัส เวอร์ซิโคเลอร์ (Aspergillus versicolor)

- ซีราลีโนน (Zearalenone)
เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม กรามิเนียรุม (Fusarium graminearum)

- โอคราท็อกซิน (Ochratoxins)
เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ เพนิซิลเลียม ไวริดิคาตุม (Penicillium viridicatum)

- พาทูลิน (Patulin)
เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ เพนิซิลเลียม พาทูลุม (Penicillium patulum)

- ที-2 ท็อกซิน ทริโคเทซีเนส (T-2 toxin, trichothecenes)
เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม ตริซิงก์ตุม (Fusarium tricinctum)

สารพิษอะฟาท็อกซิน บี 1
มีความอันตรายมากที่สุดสำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนและชื้นเช่นประเทศไทย ตรวจพบบ่อยในอาหารประเภทพืชน้ำมันโดยเฉพาะถั่วลิสง ข้าวโพด งา เครื่องเทศ และอาหารแห้งอื่น ๆ สารนี้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส และถูกทำลายด้วยสารละลายที่เป็นด่าง (บี (B) หมายถึง บลู (blue) คือลักษณะของสารนี้จะมีสีฟ้า เมื่อดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต ขนาดความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร จี (G) หมายถึง กรีน (green) คือให้สีเขียว และเอ็ม (M) หมายถึงสารที่พบในน้ำนมวัว คือมิลค์ (milk) ซึ่งแปรรูปมาจากสารบีจากอาหารโดยกลไกของร่างกาย) การปนเปื้อนอาหารอาจเกิดก่อนเก็บเกี่ยวพืชหรือหลังนำพืชมาปรุงสุกแล้วก็ได้ อะฟาท็อกซิน บี 1 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในตับสัตว์ทดลองหลายชนิดอย่างชัดเจนจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อสภาพโภชนาการไม่ดี แม้การศึกษาในประเทศคีนยา โมซัมบิก สวาซิแลนด์ และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่พบการปนเปื้อนของสารนี้ค่อนข้างมาก จะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการเกิดพยาธิสภาพที่ตับมีสาเหตุโดยตรงจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนด้วยอะฟลาท็อกซิน แต่ก็ต้องมีมาตรการป้องกันโดยการกำหนดค่ามาตรฐานที่ยอมให้มีสารนี้ปนเปื้อนอาหารบางประเภท เช่น ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้มีอะฟลาท็อกซินทุกชนิดในอาหารทั่วไปได้ไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน (คือ 20 ไมโครกรัมในอาหาร 1 กิโลกรัม) ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาวิธีการอบเมล็ดพืชอย่างถูกวิธีค้นคว้าหาพันธุ์พืชที่ต้านทานการทำลายของเชื้อราได้ดี ตลอดจนให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหาร เป็นต้น

วันนี้เราพูดถึงสารพิษที่มากับเชื้อราในอาหารกันไปแล้วนะครับ หากเราปล่อยให้อาหารเกิดเชื้อราแล้วรับประทานเข้าไป หรือรับประทานเชื้อราเข้าไปโดยไม่รู้ตัวก็จะเกิดอันตรายเป็นอย่างมากต่อร่างกายของเรา แต่หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเช่นอาหารชีวจิตหรืออาหารคลีน (Clean Food) ชีวิตเราก็จะห่างไกลจากสารพิษที่มากับเชื้อราครับ

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ประโยชน์ดี ๆ จากสาหร่ายทะเลแสนอร่อย

ในบทความเมื่อวาน เราทำความรู้จักกับสาหร่ายทะเลกันไปแล้วนะครับ สาหร่ายเป็นพืชที่ให้ประโยชน์และสารอาหารต่าง ๆ กับร่างกายของเราอย่างมาก แต่การรับประทานสาหร่ายให้ถูกวิธีควรรับประทานสาหร่ายที่ผ่านการปรุงสุกแต่ไม่ควรผ่านกระบวนการปรุงมากเกินไป ให้ยึดหลักการปรุงตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ครับแล้วท่านจะได้รับประโยชน์และสารอาหารจากสาหร่ายทะเลกันอย่างเต็มที่ครับ และวันนี้ต่อจากเมื่อวานเราจะมาเรียนรู้ถึงประโยชน์ของสาหร่ายทะเลกันครับ

 Clean Food

สาหร่ายทะเลกับประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ
- สาหร่ายทะเลมีประโยชน์ต่อการควบคุมคลอเลสเตอรอล
สาหร่ายทะเลเป็นพืชที่มีกากใยอาหารสูง และไม่มีกรดไขมันที่ไม่จำเป็นทำให้การรับประทานสาหร่ายทะเลจะช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกายได้

- สาหร่ายทะเลมีประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด
สาหร่ายทะเลจะช่วยทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น กระตุ้นภูมิต้านทานโรค

- สาหร่ายทะเลช่วยป้องกันโรคหรืออาการคอหอยพอกได้
ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์เพราะมีสารไอโอดีนอยู่มาก โดยต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย

- สาหร่ายทะเลมีสารอาหารสำคัญอยู่มากมาย
ในสาหร่ายทะเลสารอาหารและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก เช่น แคลเซียม โปรตีน แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง โพแทสเซียม มีใยอาหารสูงจึงสามารถช่วยรักษาหรือป้องกันไม่ให้ท้องผูกได้

- สาหร่ายทะเลเป็นพืชที่่มีธาตุเหล็กสูง
ซึ่งธาตุเหล็กจะช่วยบำรุงผมให้ดูเงางามดกดำ ไม่เป็นสิวหรือเป็นกระง่าย ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น เปล่งปลั่ง

สารอาหารสำคัญที่ร่างกายจะได้รับจากการรับประทานสาหร่ายทะเล
- ไอโอดีน
ร่างกายของเราต้องการไอโอดีนประมาณ 0.1-0.3 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อป้องกันโรคคอพอก

- ธาตุเหล็ก
จะช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูมีน้ำมีนวล บำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นมันเงางาม

- สารทองแดง
มีหน้าที่ดูดซึมธาตุเหล็กและสร้างฮีโมโกลบินที่ไขกระดูก หากร่างกายขาดธาตุนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางและผมร่วงง่าย

- ธาตุสังกะสี
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

- กากใยอาหาร
ช่วยทำให้ท้องไม่ผูก และยังช่วยเร่งการขับถ่ายสารพิษต่างๆ ในทางเดินอาหาร

วันนี้เราทราบถึงประโยชน์ของสาหร่ายทะเลกันไปแล้วนะครับ การรับประทานสาหร่ายทะเลที่ผ่านกระบวนการอบกรอบหรือทอดกรอบร่างกายก็จะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายทะเลในปริมาณน้อย แต่หากเราอยากได้รับ ความอร่อยจากอาหารทะเลพร้อมประโยชน์สูงสุดแล้วควรปรุงตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) นะครับขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : วิธีการสังเกตและเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

เมื่อวานเราทำความรู้จักกับอาหารกระป๋องกันไปแล้วนะครับ ซึ่งสังคมในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าในบางครั้งมีความเร่งรีบมากจนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องได้ ซึ่งอาหารกระป๋องเหล่านี้นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารที่เทียบไม่ได้กับอาหารสดหรืออาหารเพื่อสุขภาพและอาหารคลีน (Clean Food)แล้ว การรับประทานอาหารกระป๋องยังต้องรู้จักสังเกตุอาหารกระป๋องว่ามีความผิดปกติซึ่งอาจจะทำให้อาหารกระป๋องเสียหรือบูดหรือไม่ วันนี้เราจะมาทราบถึงวิธีการสังเกตุอาหารกระป๋องกันนะครับ ว่ามีแนวโน้มที่จะเสียหรือไม่


สังเกตอย่างไรเมื่ออาหารกระป๋องเสียหรือรับประทานไม่ได้

โดยธรรมชาติตามปกติ อาหารกระป๋องที่ยังใช้รับประทานได้นั้น จงสังเกตดูโลหะของกระป๋องที่ใช้บรรจุอาหาร ถ้าหากว่ายังสุกใสเป็นเงางามดีอยู่ ด้านทุกด้านของกระป๋องเป็นแนวตรง และตะเข็บหรือรอยต่อของกระป๋องยังเรียบร้อยแน่นหนาดี ฝาหรือก้นกระป๋องจะแบนเรียบ และที่ตามขอบของกระป๋องจะเม้มลงตามรูปหรือตามแบบปกติของมัน หมายความว่ามันจะไม่นูนหรือโป่งขึ้น และเมื่อเอานิ้วมือกดลงที่ฝากระป๋องมันจะไม่บุบบิบพองขึ้นหรือยุบลง เขาชี้แจงต่อไปอีกว่า ส่วนมากของอาหารกระป๋องที่เสียนั้น มิใช่ว่าเกิดจากกรรมวิธีอันประมาทเลินเล่อเผลอเรอที่โรงงานผลิตกระป๋อง แต่ได้ตรวจพบว่า สาเหตุที่ทำให้อาหารกระป๋องเสียได้ง่ายหรือเสียได้เร็วนั้น อยู่ที่การประมาทเลินเล่อในการขนย้ายใส่หีบห่อถือมาจากร้านค้า จนกระทั่งเอาขึ้นเก็บไว้ในตู้หรือบนชั้นบนหิ้งที่บ้านของท่าน เป็นต้นว่าทำตกกระจายลงบนพื้น หรือทำตกน้ำ หรือเก็บไว้ในที่ชื้นแฉะจนมีสนิมขึ้น หรือเก็บในที่ ๆ อบร้อนมากเกินไปอนึ่ง เมื่ออาหารกระป๋องที่เราหยิบขึ้นมาเขย่าดูแล้วปรากฎว่าไม่มีเสียง ไม่ว่ากระป๋องนั้นจะมีรอยเปื้อน เป็นจุดดำด่าง ดูเป็นลักษณะเก่าแก่เก่าเก็บหรือไม่ก็ตาม เราก็ไม่ควรใช้อาหารนั้นสำหรับรับประทาน เพราะเมื่อสิ่งบรรจุอาหารนั้นปรากฎว่ามีอากาศเข้าได้ เนื่องจากมีกรรมวิธีที่ไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ จากภายนอกเข้าไปสู่ภายในสิ่งบรรจุนั้นได้ และพึงเชื่อหรือเข้าใจได้ทันทีว่า อาหารที่อยู่ภายในสิ่งบรรจุนั้นย่อมไม่สะอาด และไม่ปลอดภัยต่อการใช้รับประทาน ขอให้ท่านผู้ใช้อาหารกระป๋องพึงใช้ความสังเกตจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- กระป๋องมีรอยแตก รอยบุบ หรือรอยเว้า
ถ้าท่านสังเกตได้ว่า เครื่องกระป๋องที่ท่านจะซื้อนั้นมีลักษณะเป็นรอยแตก รอยร้าว หรือรอยเว้า ไม่สนิทแน่น ถ้าหากเป็นรอยแตกเพียงผิวตื้น ๆ หรือเป็นรอยเล็ก ๆ ก็ไม่สู้จะมีอันตรายนัก แต่ถ้าเป็นรอยแตกใหญ่และลึกก็มักจะทำให้รอยตะเข็บแตกแยก หรือทำให้โลหะปริแตกได้ ซึ่งในรายเช่นนี้ย่อมเป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะอากาศอาจแทรกซึมเข้าไปในกระป๋องได้ เพราะฉะนั้นขอท่านจงระมัดระวังให้ดี อย่าไปเที่ยวซื้ออาหารกระป๋องที่ลดราคา เพราะว่ามันจะพลอยลดชีวิตของท่านให้สั้นลงด้วย

- มีสนิมเกาะบริเวณกระป๋อง
ถ้าท่านเห็นว่าที่อาหารกระป๋องนั้นมีสนิมเกิดขึ้น จงใช้เล็บของท่านขูดสนิมไปมาให้ออกหมด ถ้าเห็นว่าโลหะข้างใต้ของสนิมนั้นยังเรียบร้อยผุดผ่องดี ก็ให้ถือว่าอาหารกระป๋องนั้นยังไม่เสีย แต่ถ้าหากว่าท่านขูดเท่าไรสนิมก็ยังออกไม่หมด ก็ให้ถือว่าโลหะนั้นมีลักษณะผุกร่อนแล้ว จงอย่าใช้อาหารกระป๋องนั้นเป็นอันขาด

- อาหารกระป๋องมีกลิ่นเหม็นอย่างผิดปกติ 
เมื่อท่านเปิดอาหารกระป๋องเพื่อจะนำมารับประทาน สิ่งแรกก่อนอื่นๆ ท่านจำเป็นจะต้องดมกลิ่นของมันดูเสียก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิต่ของท่าน ถ้าแม้ว่าท่านสูดได้กลิ่นผิดปกติ คือไม่หอม แต่กลับเหม็นตุ ๆ หรือได้กลิ่นเหม็นหืน หรือกลิ่นเหม็นบูดเหม็นเน่า จงอย่าชิมมันเป็นอันขาด ทางที่ดี ควรทำเรื่องร้องทุกข์แจ้งไปยังกองควบคุมอาหารและยาที่กระทรวงสาธารณสุขทันที และอย่าลืมส่งอาหารกระป๋องให้เป็นตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและวิจัยต่อไปด้วย

- กระป๋องมีรอยนูน
หรือกระป๋องมีการโป่งออกมา ถ้าท่านเห็นว่าอาหารกระป๋องที่ท่านจะซื้อจากร้านใดร้านหนึ่งมีลักษณะนูนหรือโป่งออกมา ไม่ว่าทั้งกระป๋องหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของกระป๋องนั้น ก็จงรีบวางลงไว้ที่เดิมของมัน หรือถ้าท่านซื้อมาเก็บไว้ที่บ้าน และเพิ่งจะสังเกตเห็นมันเข้า ก็จงรีบส่งกลับคืนไปยังร้านที่ท่านซื้อมาทันที เพื่อว่าเจ้าของร้านจะได้ตรวจสอบกระป๋องอื่น ๆ ที่ผลิตมาจากโรงงานแห่งเดียวกัน เป็นการป้องกันมิให้ลูกค้าอื่น ๆ ที่ไม่รู้เรื่องพากันซื้อไปรับประทานต่อไปอีก แล้วทำให้เกิดเจ็บป่วยกันมากมาย

คราวนี้หากท่านผู้อ่านจะเลือกซื้ออาหารกระป๋องมารับประทาน ในกรณีที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วหรือเลือกซื้ออาหารสด อาหารคลีน (Clean Food) มารับประทานไม่ได้ ลองสังเกตอาหารกระป๋องตามวิธีการข้างต้นนะครับ ท่านจะได้รับประทานอาหารกระป๋องอย่างปลอดภัยและสบายใจ และที่สำคัญอย่าลืมอ่านฉลากและดูวันหมดอายุของอาหารกระป๋องนะครับ

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : อาหารกระป๋อง (Canned food) อาหารของคนยุคใหม่?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารกระป๋องหรือ (Canned food) เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นปลากระป๋องที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หรือผักกาดดองบรรจุกระป๋องที่นิยมรับประทานคู่ข้าวต้ม และที่ขาดไม่ได้คือผลไม้กระป๋องที่เด็ก ๆ ชอบรับประทานกันเนื่องจากความหวานของน้ำเชื่อมและความกรอบและความเย็นของผลไม้ การรับประทานอาหารอาหารกระป๋องก็เหมือนการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารทั่ว ๆ ไปคือ ไม่ได้รับสารอาหารจากวัตถุดิบอย่างครบถ้วนเหมือนกับการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) บทความในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักอาหารกระป๋องกันครับ

 Clean Food

ประวัติความเป็นมาของอาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋อง หรือ Canned food ในภาษาอังกฤษ คืออาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร(food preservation)ประเภทหนึ่ง ด้วยกระบวนการใช้ความร้อน (thermal processing)โดยการนำอาหารหรือวัตถุดิบต่าง ๆ มาบรรจุในกระป๋อง ซึ่งเป็นภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีการปิดผนึกอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้อากาศผ่านเข้าออก หลังจากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ซึ่งจะทำให้อาหารกระป๋องสามารถเก็บไว้ได้นานโดยอาหารกระป๋องบางประเภทสามารถเก็บไว้ได้นานมากกว่า 3 ปีเลยทีเดียว แต่การเก็บอาหารกระป๋องจะต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารกระป๋องประเภทนั้น ๆ

กระบวนการผลิตอาหารกระป๋อง (canning) เป็นวิธีการถนอมอาหารประเภทหนึ่ง ซึ่งในเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการใช้ความร้อน (thermal processing) ที่ค้นคิดโดย Nicholas Appert ในปีค.ศ. 1809 การผลิตอาหารกระป๋องเป็นกระบวนการถนอมอาหารโดยใส่ในภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื่อ มีหลักการของกระบวนการคือ บรรจุอาหารในภาชนะปิดผนึกสนิท (hermectically sealed container) เช่น กระป๋อง (can) ถุงทนร้อนสูง (retort pouch) หรือขวดแก้วแล้วฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยใช้อุณหภูมิและเวลาตามทีกำหนด (shcedual process) ในระดับความร้อนที่เรียกว่า commercial steriliztion เพื่อให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ โดยไม่เสียเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจจะมากกว่า 3 ปีในอาหารกระป๋องบางประเภทโดยบุคคลแรกที่เป็นผู้ประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาอาหารได้เป็นชาวเปอร์เซียนที่ชื่อ นิโคลัส แอปเปิท ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลจากจักรพรรดิ์นโปเลียนของฝรั่งเศส ในฐานะที่เป็นผู้คิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาอาหารไว้เพื่อเป็นสเบียงแก่ทหารโดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้เริ่มแรกจะเป็นขวดแก้วที่มีจุกปิดที่สนิทแน่น และสามารถนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ซึ่งต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ โดยการนำกระป๋องโลหะมาแทนขวดแก้วโดยชาวอังกฤษที่ชื่อ ดอนกิ้น และฮอลล์ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความเป็นมาของอาหารกระป๋องหรือ Canned food ผู้อ่านหลายหลายท่านคงเคยรับประทานแต่อาจจะไม่ทราบประวัติหรือความเป็นมาของอาหารประเภทนี้ ซึ่งเหมาะกับการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันเพราะเป็นอาหารประเภทพร้อมรับประทาน และยังสามารถเก็บไว้ได้นานในอุณหภูมิที่เหมาะสมอีกด้วย แต่โทษหรืออันตรายของอาหารกระป๋องก็มีนะครับ พรุ่งนี้เราลองมาดูกันว่าทำไมในเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารคลีน (Clean Food) จึงไม่มีเมนูที่ใช้อาหารกระป๋องเป็นส่วนประกอบอยู่เลย

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

Dcleanfood.com : ของดอง อันตรายต้องรู้ (ตอนจบ)

จากตอนที่แล้วเราพูดถึงอันตรายจากขัณทสกร หรือสารซัคคารินที่ผู้ผลิตอาหารหมักดองมักนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เนื่องจากขัณทสกรกับน้ำตาลในปริมาณเท่า ๆ กัน ขัณทสกรจะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า แต่อันตรายจากอาหารหมักดองที่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายหรือผลิตด้วยกระบวนการไม่ถูกต้องยังมีอีกมากนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันต่อถึงอันตรายอื่น ๆ ของอาหารประเภทหมักดองกัน ซึ่งหลังจากที่หลายๆ ท่านอ่านบทความนี้จบอาจจะเปลี่ยนใจ เลิกทานอาหารหมักดอง แล้วหันมารับประทานผักหรือผลไม้สด ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ซึ่งจะเป็นการดีต่อสุขภาพของตัวท่านผู้อ่านเองครับ


อันตรายอื่น ๆ จากอาหารหมักดอง

- อันตรายจากสีที่ใช้ผสมลงในอาหารหมักดอง
สังเกตุว่าอาหารหมักดองหลาย ๆ ชนิดจะมีสีสันสดใสน่ารับประทาน ซึ่งตามปกติโดยธรรมชาติของอาหารที่หมักดองด้วยสมุนไพรหรือสารจากธรรมชาติจะไม่มีสีสันสดแลดูน่ารับประทานขนาดนั้น หากผู้ผลิตใช้สีผสมอาหารผสมเข้าไปเพื่อให้ของหมักดองมีสีสันสดใสน่ารับประทานก็จะไม่มีผลอะไรกับร่างกายของเรานะครับ แต่จากการสังเกตสีที่ใช้ผสมกับของหมักดองโดยเฉพาะผลไม้ดองนั้นอาจจะไม่ใช่สีจากสีผสมอาหาร เนื่องจากเป็นสีที่มีความสดและอยู่ได้ยาวนานในของหมักดอง เมื่อเราลองใช้มือหยิบของดองที่ผสมสีจำพวกนี้เข้าไป จะสังเกตได้ว่าจะมีสีของอาหารหมักดองติดอยู่ที่มือของเรา โดยสีเหล่านี้เมื่อติดแล้วจะล้างออกได้ยาก ไม่เหมือนกับสีผสมอาหารโดยทั่วไป สีจำพวกนี้อาจจะมีจากสีที่เป็นสารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือหากรับประทานเข้าไปเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้

- อันตรายจากสารกันเชื้อราหรือสารกันบูด
อาหารหมักหรือของดองจะต้องผ่านกระบวนการหมักหรือดองที่ต้องใช้เวลาพอสมควร หากทำไม่ถูกขั้นตอนกระบวนการหรือขาดการรักษาความสะอาดที่เพียงพอ อาจจะทำให้ของหมักหรือของดองเกิดเชื้อราได้ ผู้ผลิตอาหารหมักดองจึงมักใส่สารกันบูดหรือสารป้องกันเชื้อราลงในอาหารหมักดองของตนเองเพื่อให้อาหารไม่เกิดเชื้อราและเก็บไว้รับประทานได้นานกว่าปกติ ซึ่งสารป้องกันเชื้อราหรือสารกันบูดเหล่านี้เมื่อรับประทานและเข้าไปสะสมในร่างกายมาก ๆ จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ และอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำจนเกิดอาการช็อค บางรายอาจเกิดอาหารแพ้ เป็นผื่นขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้ ร่วมด้วย
ในการเลือกวัตถุดิบสด ๆ มาทำเป็นของหมักดอง หากผู้ผลิตเลือกเอาผักหรือผลไม้ที่ปลูกโดยใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้บริโภค สารพิษเหล่านั้นอาจจะตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ในปริมาณที่พอเพียงจะทำอันตรายต่อร่างกายผู้รับประทานได้ เพราะอาหารประเภทหมักดองเป็นอาหารที่มีราคาไม่สูงมากทำให้ผู้ผลิตบางท่านอาจจะใช้วัตถุดิบที่มีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารหมักดอง เนื่องจากผักและผลไม้ปลอดสารพิษจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารหมักดองจะทำให้มีราคาสูงจนเกินไป ผู้ผลิตได้กำไรต่อหน่วยน้อยลง สารพิษเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นสารจำพวกยาฆ่าแมลง ซึ่งมีฤทธิ์อันตรายเฉียบพลัน เมื่อผู้บริโภคได้รับสารจำพวกยาฆ่าแมลงเข้าไปสะสมในร่างกายในปริมาณที่มากแล้ว อาจจะส่งให้เกิดอาการชักกระตุก หน้ามืด กล้ามเนื้อในร่างกายสั่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ้าหากร่างกายได้รับสารจำพวกยาฆ่าแมลงเข้าไปสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมากแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้

จบไปแล้วนะครับสำหรับเรื่องของอาหารหมักดอง ก่อนหน้านี้ผมก็เป็นคนที่ชอบรับประทานของดองชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งดอง หรือมะม่วงดอง แต่เมื่อรับประทานไปแล้วสังเกตเห็นสีที่ติดอยู่ทีมือของเราซึ่งล้างออกยากมาก ทำให้เกิดข้อสงสัยและนำไปถามผู้รู้ จึงได้ทราบถึงอันตรายของของหมักดองและนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบกันในวันนี้ครับ เพราะลำพังผักและผลไม้สดที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ก็มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่มากพอแล้ว ยิ่งมาเพิ่มกระบวนการหมักดองซึ่งใส่ทั้งสาร ขัณทสกร สารกันเชื้อราและสารกันบูดเข้าไปอีกทำให้อันตรายของอาหารหมักดองนั้นเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเดียว และทางที่ดีที่สุดอย่างที่ผมบอกมาตลอดคือหันมารับประทานผักและผลไม้สด ที่ปลูกด้วยวิธีการธรรมชาติโดยไม่มีสารเคมีเจือปน ตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) ได้ก็จะดีที่สุดครับ ขอบคุณครับ