จากตอนที่แล้วเราได้ทำความรู้จึก ซาชิมิ(Sashimi) กันไปแล้วนะครับว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง ซาชิมิที่เรารับประทานและมีจำหน่ายกันในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้แก่ปลาแซลมอนหรือปลาทูน่า ซึ่งปลาทั้งสองชนิดนี้เป็นปลาทะเลน้ำลึกที่จับได้ตามธรรมชาติจึงทำให้มีพยาธิน้อย ถ้าเป็นปลาน้ำจืดหรือปลาทะเลที่เพาะขายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบดิบ ๆ นะครับ เพราะปลาพวกนี้อาจมีพยาธิที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะพยาธิตัวกลม ถึงเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะไม่เน้นกระบวนการปรุงมากนักแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมนูอาหารคลีน (Clean Food) จะเป็นเมนูเนื้อดิบๆ นะครับ เมนูอาหารคลีนต้องเป็นอาหารที่สุก, สะอาด, ปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารนะครับ
1. ไขมันโดยเฉพาะกรดไขมัน (Omega 3)
โดยปกติแล้วคำว่าอาหารสด หรืออาหารดิบ เราจะนึกถึงด้วยพืชผักและผลไม้ ไขมันและกรดไขมันจากเนื้อปลาทะเลจะเป็นไขมันที่มีประโยชน์กับร่างกายของเรา โดยเฉพาะกรดไขมัน Omega3 ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะประโยชน์ในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กหรือทารกในครรภ์มารดา
2. โปรตีน
โปรตีนที่เราได้รับจากเนื้อปลาจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีต่างกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่เรารับประทานกัน
3. คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตจากเนื้อปลา เราจะได้รับสารอาหารจำพวกนี้ไม่มากนัก แต่เราก็จะได้รับคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
4. เกลือ (Sodium)
เนื่องจากเนื้อปลาที่เรานำมาใช้ในการทำปลาดิบมาจากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งปลาเหล่านี้จะมี Sodium หรือเกลือผสมอยู่ในเนื้อปลาอยู่แล้ว ทำให้การรับประทานซาชิมิจะทำให้เราได้รับเกลือจากทะเลซึ่งเป็นเกลือที่สะอาดและบริสุทธิ์ โดยร่างกายของเราควรได้รับโซเดียมไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม (ยกเว้นผู้สูงอายุผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคไตเรื้อรัง ซึ่งจำกัดไว้ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม) แต่ในทางตรงกันข้ามในการใช้เครื่องปรุงหรือซอสในอาหารญี่ปุ่นเช่นโชยุอาจทำให้ร่างกายเราได้รับโซเดียมหรือเกลือมากเกินไปก็เป็นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น