ความดันโลหิตของคนปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่หากมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทแล้ว แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยหลัก ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
1. ความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งอาจมีผลสืบเนื่องมาจากอาการของโรคอ้วน เชื้อชาติ, กรรมพันธ์ หรือการที่ร่างกายขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ2. ความผิดปกติที่สืบทอดมาทางพันธุกรรม หรือกรรมพันธฺ์ซึ่งความผิดปกตินี้จะส่งผลในระดับฮอร์โมน ทำให้ร่างกายหลั่งสาร Renin angiotensin มากจนเกินไปจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
3. การรับประทานอาหารเค็มมากจนเกินไป ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า การรับประทานเกลือหรือน้ำปลาที่มีความเค็มมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงในการเป็นโลกความดันโลหิตสูง โดยเราควรรับประทานเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณที่เหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเราเอง หากเราเลือกรับประทานอาหารชีวจิต หรือ อาหารคลีน (Clean Food) ที่ไม่ใช้เกลือหรือน้ำปลาในการปรุงอาหารเลย หรือถ้าใช้ก็ใช้ในปริมาณที่น้อยมาก ก็จะลดความความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างมาก
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
- อาการสำคัญของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงคือ อาการปวดหัวอย่างรุนแรงเนื่องจากความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอาการปวดหัวนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนแสดงออกมาให้เห็นด้วย
- อาการหายใจหอบและมีอาการเหนื่อยง่าย บางรายที่มีอาการหนักอาจจะไม่สามารถนอนราบไปกับพื้นได้ เนื่องจากเมื่อนอนแล้วจะมีอาการไออย่างหนัก ต้องหลับในท่านั่ง ซึ่งอาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเส้นเลือดในสมองแตกตามมาได้
- อาการแน่นหน้าอก เนื่องจากหัวใจทำงานผิดปกติเนื่องจากความดันโลหิตสูงจนเกินไป
- อาการเลือดกำเดาไหล เมื่อผู้ป่วยมีอาการความดันโลหิตขึ้นสูงมาก อาจจะเกิดเลือดกำเดาไหลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น