เกลือถือเป็นส่วนประกอบของอาหารในชีวิตประจำวันของคนมาอย่างยาวนาน การรับประทานเกลือจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปในแต่ละวัน โดยทั่วไปแล้วคนปกติไม่ควรรับประทานเกลือหรือโซเดียมเกินกว่า 2,300 มิลลิกรัม แต่คนไทยส่วนใหญ่มักรับประทานเกลือมากเป็นสองเท่าของปริมาณปกติหรือมากกว่า 4,600 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากต่อร่างกายหากเป็นไปได้เราควรเลือกรับประทานเกลือให้น้อยลงในแต่ละมื้อ หรือเลือกปรุงอาหารตามเมนู อาหารคลีน (Clean Food) ที่ไม่ใช้เกลือในการประกอบอาหารก็จะดีกับร่างกายของเรามากที่สุด
โซเดียมคืออะไร ?
โซเดียม (Sodium) คือเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญกับและจำเป็นต่อร่างกาย โซเดียมมีหน้าที่ในการควบคุมสมดุลของของเหลวในร่างกาย ช่วยให้การทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทเป็นไปอย่างปกติ และยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป โดยโซเดียมที่คนไทยมักจะรับประทานกันเป็นประจำได้มาจากเครื่องปรุง 2 ชนิดด้วยกันคือโซเดียมที่ได้จากเกลือแกง และโซเดียมที่ได้รับจากการรับประทานน้ำปลา
การมีโซเดียมในร่างกายสูงจนเกินไปนำไปสู่สาเหตุของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไต
- โซเดียมกับโรคไต การรับประทานโซเดียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากเกินความจำเป็นส่งผลให้เกิดอาการคั่งค้างของเกลือในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไตก็จะสามารถขับเอาเกลือและน้ำที่คั่งค้างอยู่ในร่างกายออกมาได้ แต่หากมีการคั่งค้างของเกลือในอวัยวะต่างๆ เป็นจำนวนมากและเป็นเวลายาวนาน ไตก็อาจต้องทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเสียหาย และอาจนำไปสู่ภาวะการเป็นโรคไตเรื้อรังได้ในที่สุด
- โซเดียมกับโรคความดันโลหิตสูง โซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล แต่การรับประทานโซเดียมมากจนเกินความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ความดันโลหิตในร่างกายของเราสูงขึ้น และจะส่งผลเสียเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ คนอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมายหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคหัวใจ อาการเส้นเลือดในสมองแตกเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น