ต่อจากตอนที่แล้ว ที่เรากล่าวถึงโรคกระเพาะอาหาร หรือชื่อที่แท้จริงคือโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไปสัมผัสกับส่วนต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดบาดแผล วิธีการป้องกันโรคกระเพาะอาหารนั้้นสามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ผลิตออกมาย่อยทางเดินอาหารเสียเอง และในการเลือกรับประทานอาหารควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่รับประทานอาหารที่มีกรดมากเกินไป โดยสามารถเลือกรับประทานอาหารสุขภาพเช่น อาหารคลีน (Clean Food) ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่พอเพียงไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
อาหารต้านโรคกระเพาะ
1. ผักและผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง ผักและผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนได้แก่ แครอท ฟักทอง แคนตาลูป ผักและผลไม้เหล่านี้จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นทั้งแผลในกระเพาะอาหารและแผลในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย สารจำพวกเบตาแคโรทีนยังช่วยป้องกันหรือเคลือบเยื่อบุกระพาะอาหารและลำไส้ ไม่ให้เกิดอันตรายจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารได้ง่ายอีกด้วย และนอกจากนั้นในผลไม้ยังมีวิตามินซี ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มเกราะป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกายและวิตามิน ซียังมีส่วนอย่างมากในการช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. ไขมัน (ไขมันไม่อิ่มตัว) ไขมันไม่อิ่มตัวที่ได้จากธัญพืช และพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลืองและอื่น ๆ โดยประโยชน์จากไขมันไม่อิ่มตัวจะมีส่วนช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารโดยเฉพาะในส่วนของกระเพาะอาหาร และระบบการเผาผลาญอื่นๆ ในร่างกายและไขมันไม่อิ่มตัวนี้ ยังสามารถเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารไม่ให้ถูกทำร้ายโดยน้ำย่อยได้ง่ายอีกด้วย
3. โปรตีนจากเนื้อปลาหรือจากพิชตระกูลถั่ว โปรตีนที่ได้จากเนื้อปลาและโปรตีนที่ได้จากพืชตระกูลถั่วนั้นถือว่าเป็นโปรตีนที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะร่างกายสามารถทำการย่อยสลายและนำพลังงานไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ประเภทอิ่นซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยค่อนข้างมากทำให้ร่างกายเราต้องผลิตน้ำย่อยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการย่อยโปรตีนเหล่านี้ และโปรตีนในเนื้อปลายังมีกรดอะมิโนและกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยให้ร่างกายและกระเพาะอาหารแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น
4. แป้งหรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวหรือแป้งสาลีที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีกากใยอาหารและวิตามินอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ๆ ซึ่งส่งผลดีโดยตรงกับกระเพาะอาหาร, ระบบทางเดินอาหารและระบบการย่อยอาหารของเรา โดยช่วยให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักและผลิตน้ำย่อยมากเกินไปในการย่อยอาหาร และคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสีเหล่านี้ยังช่วยบำรุงกระเพาะอาหารของเราไปได้พร้อม ๆ กันอีกด้วย
5. มะเขือเทศ มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามินที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เช่น วิตามินอี วิตามินซี และโพแทสเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วมากยิ่งขึ้น
6.คะน้า คะน้าเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี นอกจากช่วยบำรุงในเรื่องของสายตาแล้วยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น