วันนี้เป็นตอนต่อเนื่องของเรื่องโรคกระเพาะอาหารครับ เมื่อวานเรากล่าวถึงอาหารที่ควรรับประทานเมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาหารส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะมีในเมนู ของ อาหารคลีน (Clean Food) วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึง ข้อควรปฏิบัติและข้อควรยกเว้น เมื่อเรามีภาวะของโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าโรคกระเพาะอาหารกันครับ
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อร่างกายจะมีอาหารให้กระเพาะทำการย่อยครบตามเวลาที่เหมาะสม ทำให้น้ำย่อยที่ผลิตออกมาถูกใช้งานในการย่อยอาหาร ไม่เหลือพอที่จะไปทำร้ายผนังลำไส้ให้เกิดเป็นแผลได้
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน การที่เรารับประทานอาหารตรงเวลาในทุก ๆ วัน เป็นการฝึกให้ร่างกายเราหลั่งน้ำย่อยออกมาในเวลาที่เหมาะสม และหากเราไม่รับประทานอาหารให้ตรงเวลาตามที่เรารับประทานในแต่ละวันแล้ว น้ำย่อยก็ไม่ถูกใช้งานในการย่อยอาหาร แต่จะไปย่อยหรือทำลายผนังของระบบทางเดินอาหารแทน
- รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพื่อไม่ให้น้ำย่อยที่ผลิตออกมามากหรือน้อยจนเกินไป จนเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราได้
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่ทานอาหารด้วยความรีบเร่งจนเกินไป การรับประทานอาหารด้วยความรีบเร่งนั้นส่งผลให้เรามีเวลาในการเคี้ยวอาหารน้อยทำให้อาหารไม่ละเอียดเมื่อเข้าสู่กระเพาะอาหารทำให้กระเพาะต้องใช้น้ำย่อยและเวลาในการย่อยมากเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือแผลในผนังลำไส้ได้
- ควรทำใจให้สบาย ไม่เครียด ถึงแม้ความเครียดจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แต่ความเครียดก็มีส่วนสำคัญในการทำให้โรคกระเพาะอาหารมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะความเครียดจะส่งผลให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้า และการทำงานของน้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารผิดปกติไป
- ควรสังเกตุตนเอง ว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปว่าอาหารชนิดใดมีผลต่อระบบย่อยของเราบ้าง เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีรายละเอียดที่ต่างกัน ทำให้แต่ละคนอาจจะมีปัญหากับอาหารแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เมื่อเราทราบว่าอาหารชนิดไหนทำให้ระบบย่อยของเราทำงานหนักหรือร่างกายเราไม่สามารถย่อยได้ก็ควรจะงดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น
ข้อควรยกเว้น เมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหาร
- งดรับประทานอาหารรสจัด เช่นอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด, หวานจัด, หรือเผ็ดจัด เพราะอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารของเราผลิตน้ำย่อยในปริมาณที่มากขึ้น แต่ในภาวะที่แผลในกระเพาะอาหารของเรายังไม่หาย การผลิตน้ำย่อยออกมาในปริมาณมากจะทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารยิ่งแย่ลงไปอีก
- งดรับประทานกาแฟ อาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนจะมีฤทธิ์ในการตุ้นการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกับอาหารรสจัด และคาเฟอีนยังมีผลทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารมีความผิดปกติส่งผลให้แผลในกระเพาะอาหารมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้
- งดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มนม ในกรณีที่ของผู้มีปัญหาในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม เพราะอาจส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง หรือท้องเสียอย่างรุนแรงได้ อาการเหล่านี้ส่งผลเสียโดยตรงกับกระเพาะอาหารและแผลในกระเพาะอาหาร
- งดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุของระบบทางเดินอาหาร
- งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากสารในบุหรี่ส่งผลให้แผลในกระเพาะอาหารมีอาการแย่ลง และแผลหายช้าลง ทำให้แผลเป็นแผลในกระเพาะเรื้อรังไม่สามารถหายขาดหรืออาการดีขึ้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น