วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : รู้จักอาหารมังสวิรัติ

ประวัติความเป็นมาของอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดสำคัญของ อาหารคลีน (Clean Food) มีความเป็นมาอันยาวนานเริ่มตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ โดยในยุคของปีธาโกรัสมีการบันทึกเอาไว้ว่าชาวกรีกโบราณส่วนใหญ่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เนื่องจากในกรีกมีความเชื่อที่ว่าหากรับประทานเนื้อสัตว์แล้วเมื่อตายไปคนอาจจะเกิดเป็นสัตว์ได้ และสัตว์เมื่อตายไปอาจจะกลับมาเกิดเป็นคนได้ จึงเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณไม่บริโภคเนื้อสัตว์เนื่องจากกลัวว่าชาติหน้าตัวเองจะเกิดเป็นสัตว์


ในยุคก่อนสมัยพุทธกาล หรือยุคก่อนพระพุทธเจ้า อาหารมังสวิรัติได้เริ่มถือกำเนิดขึ้้นในประเทศอินเดีย กำเนิดของอาหารมังสวิรัติเกิดจากคำสอนในศาสนาต่าง ๆ ในประเทศอินเดียเช่นศาสนาฮินดู พราหมณ์และศาสนาอื่น ๆ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียมีคำสอนให้ผู้นับถือศาสนานั้น ๆ ปฏิบัติตนเป็นผู้เคร่งครัดในการรับประทานอาหารมังสวิรัติอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้นอกจากประเทศอินเดียจะเป็นต้นกำเนิดของอาหารมังสวิรัติแล้วยังมีผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติมากที่สุดในโลกจำนวนหลายล้านคน การรับประทานอาหารมังสวิรัติโดยหลักแล้วมาจากความเชื่อและคำสอนจากศาสนาฮินดูที่กล่าวไว้ว่า การรับประทานอาหารมีผลกระทบต่อผู้รับประทานทั้งในเรื่องของร่างกาย,บุคลิก, ลักษณะนิสัย และอารมณ์ โดยคำสอนของศาสนาฮินดูเน้นเรื่องหลัก อหิงสา คือการไม่เบียดเบียนผู้อื่น และยังเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดมีสัญชาติญาณของตนเอง และการรับประทานเนื้อสัตว์จะทำให้คนเราก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง โกรธหรือฉุนเฉียวได้ง่าย สภาพจิตว้าวุ่นขาดความสงบสุข

ชาวฮินดูเชื่อว่าอาหารมังสวิรัตินั้นมีความบริสุทธิ์ ช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีความสงบสุขและเยือกเย็น คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะมีความเมตตาปราณีต่อสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ซึ่งความสงบ, ความเยือกเย็นและความเมตตาปราณีคุณสมบัติเหล่านี้เป็นคุณสมบัติสำคัญในการยกระดับจิตวิญญาณของคนในศาสนาฮินดูอีกด้วย เพราะศาสนาฮินดูเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดมีจิตวิญญาณและการทำลายจิตวิญญาณเป็นบาปหนักทำให้จิตใจและร่างกายไม่บริสุทธิ์ และไม่อาจหลุดพ้นไปพบกับความสงบสุขที่ยั่งยืน

อาหารมังสวิรัติก็มีลักษณะเดียวกับอาหารแมคโครไบโอติก ซึ่งทั้งสองต่างเป็นต้นกำเนิดของ อาหารคลีน (Clean Food) และอาหารทั้งสองชนิดต่างมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และช่วยในเรื่องของการยกระดับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้บริโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น