วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : โรคหลอดเลือด, โรคหัวใจและโรคเบาหวานกับอาหารแมคโครไบโอติก

บทความ : Clean Food

จากบทความตอนที่แล้วเราจบที่การป้องกันโรคมะเร็งด้วยอาหารแมคโครไบโอติก วันนี้เราจะมาเสริมกันที่โรคหัวใจ, หลอดเลือดและโรคเบาหวานกับอาหารแมคโครไบโอติกกันต่อเลยดีกว่าครับ

 Clean Food

การรักษาและป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดด้วยอาหารแมคโครไบโอติก

มีผลงานวิจัยที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้บริโภคที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกจะมีภาวะความเสี่ยงน้อยหรือต่ำมากในการเกิดภาวะโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เพราะการรับประทานอาหารแมคโครไบโอติกอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายของผู้รับประทานมีระดับคอเลสเตอรอลที่ต่ำกว่าคนที่รับประทานเนื้อสัตว์และอาหารทั่วไป และนอกจากนี้ผู้ที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกจะมีระดับความดันโลหิตที่ต่ำกว่าผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์หรืออาหารทั่วไป และอาหารแมคโครไบโอติกจะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และอาหารทั่วไปอีกด้วย

การรักษาและป้องกันโรคเบาหวานด้วยอาหารแมคโครไบโอติก

สำหรับโรคเบาหวานเรามีการทดลองโดยอาสาสมัครผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย โดยอาสาสมัครทุกท่านทำการหยุดการรับยาทุกชนิดในระหว่างการศึกษาวิจัย โดยผู้ป่วยต้องพักอยู่ที่เดียวกันตลอดระยะเวลา 2-14 สัปดาห์ที่ทำการทดสอบ โดยมีการติดตามวัดชีพจรของผู้ป่วย ติดตามชั่งน้ำหนัก , วัดความดันโลหิตทุกวันตอนเช้าและหลังตื่นนอน และทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารเช้าทุกสัปดาห์ และใช้อาหารแมคโครไบโอติกในการบำบัดอาการแทนยาที่ผู้ป่วยทุกท่านต้องรับประทานเป็นประจำ โดยใช้อาหารจำพวกธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์, พืชตระกูลถั่วและ ผักชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก โดยใช้ทีมงานผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดเตรียมและปรุงอาหารแมคโครไบโอติกในระดับนานาชาติ พบว่าอาหารแมคโครไบโอติกสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผู้ป่วยมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นหลังจากจบการทดลอง

บทความทั้งหมด : Clean Food

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การป้องกันโรคมะเร็งด้วยอาหารแมคโครไบโอติก

บทความ : Clean Food ต่อจากตอนที่แล้วเรื่องการรักษาโรคมะเร็งกับอาหารแมคโครไบโอติก คราวนี้เรามาต่อกันที่เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งด้วยอาหารแมคโครไบโอติกซึ่งเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กันครับ


มีผลการวิจัยหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างผู้หญิงที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกกับอาหารที่เป็นอาหารอเมริกาแท้ ๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกมีระดับของเอสโตรเจนในอุจจาระสูง แต่มีระดับเอสโตรเจนในปัสสาวะต่ำกว่า และมีระดับเอสตราไดออลในเลือดต่ำกว่า ทำให้ผู้หญิงที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกมีอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงที่รับประทานอาหารอเมริกาแท้ๆ และมีผลการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับว่าการที่ผู้หญิงมีระดับเอสตราไดออลในเลือดและระดับการขับเอสโตรเจนทางปัสสาวะสูงจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าอาหารแมคโครไบโอติกสามารถป้องกันโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมนได้

คณะผู้วิจัยอีกกลุ่มหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารแมคโครไบโอติกจะมีระดับของไฟโตเอสโตรเจน ได้แก่ Lignans และ lsoflavonoids ในปัสสาวะสูงกว่าผู้หญิงที่รับประทานเนื้อสัตว์และผักทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดอยู่ที่ 1.4-2.9 เท่า และอาหารในกลุ่มแมคโครไบโอติกกับกลุ่มเนื้อสัตว์จะมีสูงกว่าอยู่ที่ 11-22 เท่าโดยหลักแล้วผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพบว่าระดับของไฟโตเอสโตเจนในปัสสาวะจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่าไฟโตเอสโตเจนสามารถป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งชนิดอื่นได้ เนื่องจากยังมีรายงานการวิจัยที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามว่าสารไฟโตเอสโตเจนเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้

และในปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนย้นว่าผู้ที่กินอาหารแมคโครไบโอติก (ต้นกำเนิดของอาหารคลีน Clean Food) มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งเที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่ำกว่าผู้ที่ชอบทานเนื้อหรืออาหารมังสวิรัติประเภทอื่น ๆ

บทความ : Clean Food

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การรักษาโรคมะเร็งกับอาหารแมคโครไบโอติก

บทความ Clean Food : มีรายงานทางการแพทย์และผลการวิจัยระบุว่า อาหารแมคโครไบโอติกสามารถทำให้อาการของโรคมะเร็งดีขึ้นหรืออาจจะหายขาดได้เลยครับ

 Clean Food

วิสัญญีแพทย์ท่านหนึ่งในอเมริกาเคยเขียนประสบการณ์การดูแลสุขภาพ ไว้ในหนังสือของท่าน โดยมีการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีการกระจายไปจนถึงกระดูก แนวโน้มของโรคเป็นไปอย่างย่ำแย่ อาการของโรคทรุดลงทุกวัน จนคนไข้รู้สึกท้อแท้และไม่มีอะไรจะสูญเสีย ท่านจึงตัดสินใจใช้อาหารแมคโครไบโอติกโดยเฉพาะอาหารจากธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์ และเน้นการรับประทานผักเป็นหลัก หลังจากบำบัดด้วยอาหารแมคโครไบโอติก และมีการติดตามผลเป็นระยะ จนถึงปีที่ 4 พบว่าร่องรอยของโรคมะเร็งที่กระจายไปยังกระดูกได้หายไปจนหมดเมื่อมีการเผยแพร่ผลการรักษา ก็ได้รับความสนใจไปทั่วอเมริกา โดยเฉพาะการเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์สร้างความตื่นตัวในการรับประทานอาหารแมคโครไบโอติกมากขึ้น

Case การหายป่วยจากโรคมะเร็งยังมีการบันทึกไว้อีกในปี 2522 โดยเรื่องราวถูกเขียนลงหนังสือเพื่อสุขภาพเล่มหนึ่งของ Dr. Jean Kohler เป็นเรื่องราวของการหายป่วยจากโรคมะเร็งตับอ่อน โดยการรับประทานอาหารแมคโครไบโอติก และนอกจากนี้ยังมีบทความหรือผลการวิจัยอื่น ๆ ที่กล่าวถึงการใช้อาหารแมคโครไบโอติกในการรักษาโรคมะเร็ง เมื่อมีผู้อ่านหรือทราบข่าวต่างก็ให้ความสนใจ จนทำให้อาหารแมคโครไบโอติกเป็นที่นิยมในอเมริกาเป็นอย่างสูง และได้รับการจัดให้เป็นอาหารที่ใช้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยอาหารเหล่านี้จะประกอบไปด้วยธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์ พืชจำพวกถั่วและผักชนิดต่าง ๆ และหลังจากที่ใช้อาหารแมคโครไบโอติกในการรักษาโรคมะเร็ง ทำให้มีหลักฐานและผลการวิจัยออกมามากมายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการระบุผลการวิจัยที่ชัดเจนข้อหนึ่งว่า การรับประทานธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์เช่น ข้าวกล้องที่ไม่ผ่านการขัดสี สามารถลดความเสี่ยงของภาวะการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ โดยนอกจากประโยชน์หลักจากใยอาหารในธัญพืชแล้วธัญพืชยังช่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น Insulin metabolism และ Estrogen Glucose และที่สำคัญที่สุดคือ Oxidative Process

นอกจากธัญพืชยังมีหลักฐานว่าการรับประทานผักสดที่ปลอดสารพิษเป็นประจำยังมีหลักฐานว่าสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งด้วยเช่นเดียวกัน

บทความ : Clean Food

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : วิธีการรับประทานอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพตามหลักแมคโครไบโอติก ตอนจบ

การรับประทานอาหารตามหลักการของแมคโครไบโอติก ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่รับประทานมากนะครับ เพราะเป็นหลักการสร้างสมดุลตามธรรมชาติให้กับร่างกายเหมือนกับหลัก Clean Food ซึ่งบทความนี้จะเป็นตอนจบแล้วนะครับ

 Clean Food

หลักการรับประทานอาหารตามหลักแมคโครไปโอติก ไม่ได้ถูกบัญญัติหรือสร้างมาเพื่อเป็นมาตรฐานเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือเฉพาะบางสภาวะแวดล้อมเท่านั้น แต่เป็นการมุ่งเน้นในการดูแลสุขภาพร่างกายและอารมณ์ของผู้บริโภค และเพื่อป้องกันโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรังต่าง ๆ และช่วยในการช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หลักการของแมคโครไบโอติกจะแบ่งออกตามมาตรฐานตามสภาพภูมิอากาศ เช่นเขตหนาวได้แก่ อเมริกาเหนือ, ยุโรป, ส่วนใหญ่ของประเทศรัสเซีย, ประเทศจีนตอนบนและตอนกลาง, ประเทศแถบเอเชียที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรมาก ๆ เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี และออสเตรเลียเป็นต้น ส่วนในเขตร้อน ได้แก่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันออกกลาง, แอฟริกากลาง, ลาตินอเมริกา ก็จะต้องมีการเลือกรับประทานอาหารที่ต่างกันโดยเลือกรับประทานอาหารตามธรรมชาติตามฤดูกาล และอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยภาพรวมแล้วมาตรฐานของอาหารแมคโครไบโอติกจะเป็นดังนี้

1. ควรรับประทานอาหารจำพวกธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์เช่นข้าวกล้องที่ไม่ผ่านการขัดสี อย่างน้อย 50% ของอาหารแต่ละมื้อ และต้องถูกปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาหารจำพวกธัญพืชที่มีความครบสมบูรณ์ชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ข้าวสาลีชนิดโฮลวีทซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบต่าง ๆได้เช่น ขนมปัง. สปาเก็ตตี้, บะหมี่, ข้าวบาร์เล่ย์, ข้าวฟ่าง, ข้าวโอ๊ต, ข้าวโพด เป็นต้น

2. ควรรับประทานอาหารจำพวกแกงจืดหรือซุปต่าง ๆ ที่มีรสชาติไม่เค็มมากนักประมาณ 5% ของอาหารที่รับประทานเข้าไปทั้งหมดในแต่ละมื้อในซุปหรือแกงจืดควรประกอบไปด้วยผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าควรเป็นผักตามฤดูกาลและมีการปลูกกันในท้องถิ่น หรือผักที่หาได้จากธรรมชาติ โดยทำการปรุงให้สุกโดยไม่ใช้เครื่องปรุงรสมากเกินความจำเป็น

3. ควรรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล ประมาณ 20-30 % ของอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ ผักและผลไม้ที่เรารับประทานควรเป็นผักหรือผลไม้ที่หาได้จากธรรมชาติ หรือมีการปลูกกันในท้องถิ่น ทางที่ดีที่สุดเราควรเลือกผักและผลไม้ที่ปลอดสารเคมี และสามารถเลือกรับประทานสด ๆ ได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถหาได้เราก็สามารถล้างให้สะอาดและปรุงให้สุกด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการผัด, นึ่ง, ต้ม, และปิ้ง แต่ทางที่ดีควรนำไปต้มหรือนึ่งจะเป็นการใช้เครื่องปรุงรสที่น้อยที่สุด

4. ควรรับประทานอาหารจำพวกพืชตระกูลถั่ว ประมาณ 10-15% ของอาหารที่เรารับประทานทั้งหมดในแต่ละมื้อ

5. เครื่องดื่มในแต่ละมื้อนอกจากน้ำสะอาดแล้ว ควรดื่มน้ำชาที่มาจากธรรมชาติ โดยไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ ทั้งการปรุแต่งกลิ่นหรือสี

ในส่วนของอาหารเสริมในการรับประทานอาหารตามหลักการแมคโครไบโอติกมีด้วยกันหลายประเภทดังต่อไปนี้

1. โปรตีนจากเนื้อปลาสีขาว สามารถรับประทานแบบปรุงสุกโดยไม่ผ่านกระบวนการปรุงรสมากนักและสามารถรับประทานได้ประมาณ 15% ของอาหารทั้งหมดในแต่ละมื้อ

2. ของหวานที่ทำจากผลไม้ปรุงสุก และต้องเป็นผลไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นและปลูกตามฤดูกาล และที่สำคัญในประเทศเขตร้อนนั้น ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำผลไม้ แต่ดื่มน้ำสะอาดแทนเวลาที่ร้อนจัด

3. เมล็ดพืชอบหรือถั่วอบ สามารถรับประทานได้ครั้งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์ ในปริมาณเล็กน้อย

บทความ : Clean Food

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : วิธีการรับประทานอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพตามหลักแมคโครไบโอติก


 หลักการรับประทานตามหลักแมคโครไบโอติกต้นแบบหรือต้นกำเนิดของหลักการทานอาหารคลีน (Clean Food) เป็นหลักปฏิบัติที่แนะนำไว้กว้าง ๆ เพื่อให้เราได้นำไปปฏิบัติตามตามความเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละบุคคล โดยเราต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกาย สภาวะต่าง ๆ ของร่างกายตัวเราเอง นิสัยในการรับประทานอาหารที่ผ่านมา และอื่นๆ เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดความต้องการอาหารประเภทต่าง ๆ ของตัวเองในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นการปรับสมดุลระหว่างหยินและหยางในร่างกายของตัวเราและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ โดยเราควรระลึกไว้เสมอว่าความต้องการอาหารของเราจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อสภาวะร่างกายของเราเปลี่ยนไปหรือเมื่อสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

  การรับประทานอาหารตามหลักแมคโครไบโอติก จึงเป็นการฝึกให้เราเป็นผู้ควบคุมความต้องการของตัวเราเองผ่านการเลือกรับประทานอาหาร ทำให้ร่างกายของเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างกลมกลืน และจะส่งผลดีต่อสุขภาพของตัวเราเอง พื้นฐานของอาหารแมคโครไบโอิติกนั้นประกอบไปด้วยธัญพืชที่มีความสมบูรณ์ เช่นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ผักที่ปลูกบนพื้นดินโดยไม่ใช้สารเคมี อาหารทะเลที่ได้จากทะเลโดยตรง ถั่วและอาหารสดประเภทอื่น ๆโดยการใช้ส่วนประกอบของอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผ่านขั้นตอนการปรุงให้น้อยที่สุด (เหมือนกับหลักการของ Clean Food เลยนะครับ) ปรุงอาหารให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ หลักการของแมคโครไบโอติกเน้นรับประทานอาหารจากพืชตามธรรมชาติ แต่เราต้องทราบและทำความเข้าใจก่อนนะครับว่าไม่มีอาหารชนิดใดหรือยารักษาโรคชนิดใดที่รักษาโรคหรืออาการป่วยได้ทั้งหมด

เมื่อเรานำอาหารแมคโครไบโอติกมาเปรียบเทียบกับอาหารสมัยใหม่จะพบความแตกต่างดังนี้

- อาหารแมคโครไบโอติกส่วนมากจะเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
- อาหารแมคโครไบโอติกส่วนมากจะได้รับสารโปรตีนจากพืช (ไม่นิยมโปรตีนจากสัตว์)
- บริโภคไขมันในปริมาณน้อย และไม่ร้บประทานอาหารที่เป็นไขม้นอิ่มตัว
- เน้นความสมดุลของแร่ธาตุ และวิตามินตามความต้องการพื้นฐานของร่างกาย
- เน้นอาหารที่ได้จากธรรมชาติ หรือการปลูกด้วยวิธีการธรรมชาติ
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากธรรมชาติในปริมาณสูง

บทความ : Clean Food

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การจัดกลุ่มอาหารตามหลักการของหยินและหยาง และวิธีสร้างสมดุลหยิน-หยาง ตอนจบ

บทความ : Clean Food ต่อจากคราวที่แล้วนะครับ บทความนี้เป็นตอนจบของเรื่องการจัดกลุ่มอาหารตามหลักการของหยินและหยาง และวิธีสร้างสมดุลหยิน-หยาง ตอนจบกันแล้วครับ

 Clean Food

อาหารหยางมีสรรพคุณทำให้ร่างกายมีความอบอุ่นขึ้น, กล้ามเนื้อแข็งกระชับ, ทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและการตื่นตัว ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ช่วงเวลาการนอนหรือพักผ่อนน้อยลง ใบหน้าแดง โดยหากเรารับประทานอาหารที่มีความเป็นหยางสูงติดต่อกันจนมากเกินพอดีจะทำให้เกิดอารมณ์และความคิดแบบหยางอันได้แก่ ความดุดัน, มุทะลุ และก่อให้เกิดความก้าวร้าวในที่สุด

โดยอาการเหล่านี้จะค่อยๆ แสดงออกมา เมื่อเราทำการรับประทานอาหารที่มีความเป็นหยินหรือความเป็นหยางมากเกินความพอดีเป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยจะเริ่มมีอาการที่บ่งบอกให้ทราบถึงความไม่สมดุลของร่างกาย อาหารทุกประเภทมีปัจจัยความเป็นหยินและหยางอย่างหนึ่งอย่างใดมากกว่าเสมอ เพราะไม่มีอาหารใดที่เป็นกลางอย่างชัดเจน โดยถ้าหากเรารับประทานอาหารที่มีความเป็นหยินเป็นส่วนใหญ่ ร่างกายของเราจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นหยินไปทีละเล็กทีละน้อย แต่ในทางกลับกัน ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีความเป็นหยางมากเป็นส่วนใหญ่ ร่างกายของเราจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นหยางทีละเล็กทีละน้อยเช่นกัน

ทางออกที่ดีที่สุดในการสร้างสมดุลระหว่างหยินและหยางในร่างกายคือ การเลือกรับประทานธัญพืชที่สมบูรณ์ครบ เช่น ข้าวกล้องที่ไม่ผ่านการขัดสีคิดเป็น 50-60 % ของอาหารทั้งหมดในแต่ละมื้อที่เรารับประทานเข้าไป จะทำให้ร่างกายรักษาสมดุลของแร่ธาตุต่าง ๆ และสมดุลระหว่างหยินและหยางเอาไว้ได้ ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทในร่างกายทั้งระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติคและระบบประสาทพาราซิมพาเทติคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสามารถรักษาสมดุลของการหลั่งฮอร์โมนระหว่างต่อมประเภทต่าง ๆ ในร่างกายเอาไว้ได้ตามปกติ เมล็ดธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารที่สร้างสมดุลให้กับร่างกายของมนุษย์ได้มากที่สุด เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์สูงมากจากธรรมชาติ และเป็นอาหารที่มีประโยชน์สูงสุดลำดับต้น ๆ ของมนุษย์

การกินอาหารให้เกิดความสมดุลแก่ร่างกายนั้นเราต้องเลือกรับประทานผักตามฤดูกาลและผักที่ปลูกในท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้ เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ตามฤดูกาลซึ่งร่างกายของเราจำเป็นต้องอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ แต่การทำตามหลักปฏิบัตืเหล่านี้ทำได้ยากมากในประเทศที่มีการพัฒนาและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงมาก โดยจะทำให้คนในประเทศนั้นเกิดปัญหาโดยประสพภาวะความเสื่อมของร่างกายมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยการที่เรารับประทานอาหารตามฤดูกาลและเป็นอาหารที่มีในท้องถิ่นของเรานั้น ธรรมชาติจะมอบสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้ในฤดูกาลนั้น ๆ แก่ร่างกายของเรา ตัวอย่างเช่นในเขตขั้วโลกที่มีความหนาวเย็น ชาวเอสกิโมจำเป็นต้องรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อให้ร่างกายได้รับความอบอุ่นสามารถต่อสู้กับความหนาวเย็นของอากาศได้ และพื้นที่แถบขั้วโลกจะมีพืชน้อยมาก ส่วนในเขตร้อนหรือแถบเส้นศูนย์สูตร พืชผักและผลไม้จะมีจำนวนมากและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยให้ร่างกายของเราเย็นลง สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาพเขตร้อนได้

บทความ : Clean Food

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การจัดกลุ่มอาหารตามหลักการของหยินและหยาง และวิธีสร้างสมดุลหยิน-หยาง

บทความ : Clean Food  จากที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 2 นะครับ ตอนนี้เรามาจัดกลุ่มอาหารทั้งหมดว่าอยู่ในกลุ่มไหนกันบ้างดีกว่า

 Clean Food

  การจัดกลุ่มอาหารทั้งหมดจากหยินไปหยางหรือจากหยางไปหยิน โดยเนื้อสัตว์หรืออาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์จะมีความเป็นหยางสูงมากหรือสูงที่สุด ส่วนผลไม้ นม เครื่องเทศ น้ำตาลและพริกจะมีความเป็นหยินสูงมาก ส่วนพวกธัญพืช พืชประเภทถั่ว และผักชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารที่อยู่ตรงกลางระหว่างความเป็นหยินและความเป็นหยาง ในกลุ่มอาหารที่มีความเป็นหยางสูงมากเราสามารถจัดเรียงจากอาหารที่มีความเป็นหยางมากที่สุดไปหาอาหารที่มีความเป็นหยางน้อยที่สุดได้ดังนี้ เกลือ, ไข่, เนื้อ, เนื่อสัตว์ปีก, เนยแข็งประเภทเค็ม และปลา

  ส่วนในกลุ่มอาหารที่มีหยินสูงมาก เราสามารถเรียงลำดับจากความอาหารที่มีความเป็นหยินน้อยไปหาอาหารที่มีความเป็นหยินมากได้ดีงนี้ นม, พืชผักและผลไม้เมืองร้อน, กาแฟ, ชา, เหล้า, เครืองเทศ, น้ำผึ้ง, น้ำอัดลมและอาหารหวานต่าง ๆ อาหารทุกชนิดที่ใช้สารเคมีและสารปรุงแต่งสังเคราะห์ กัญชา และยารักษาโรคเกือบทั้งหมด ส่วนอาหารที่อยู่ในกลุ่มตรงกลางของความเป็นหยินและหยางก็สามารถเรียงลำดับจากอาหารที่มีความเป็นหยางมากไปยังอาหารที่มีความเป็นหยินมากได้ดังต่อไปนี้เมล็ดข้าวชนิดต่าง ๆ อาหารจำพวกถั่ว, เมล็ดพืช, รากของผักต่าง ๆ ผักใบกลม ผักใบกว้าง ผลนัท และผลไม้ที่เติบโตในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

วิธีสร้างสมดุลระหว่างหยินและหยาง

อาหารที่มีความเป็นหยินสูงมีแนวโน้มที่จะทำให้ร่างกายเย็น, กล้ามเนิ้อเหลว, สามารถลดความเครียดได้, ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง, ยืดระยะเวลาการหลับนอนให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น, ทำให้การขับถ่ายของเสียในร่างกายเกิดบ่อยและถี่ขึ้น ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีความเป็นหยินในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจมีผลทำให้สภาพร่างกายในขณะนั้นอ่อนแรงและเหนื่อยง่าย, โลหิตจาง, ร่างกายซีด เบื่ออาหารและพูดช้า หากในขณะนั้นร่างกายของเรามีความเป็นหยินมากอยู่แล้ว การกินอาหารหยินเพิ่มเข้าไปอีกจะทำให้สุขภาพร่างกายแย่หนักลงไปอีก ส่วนด้าอารมณ์และความคิดนั้น อาหารหยินจะทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย เช่นการเกิดความกลัว ระแวง กังวลใจและขี้น้อยใจเป็นต้น

บทความ : Clean Food

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การเลือกรับประทานอาหารตามหลักการของหยินและหยาง ตอนที่ 2

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับลองมาดูเรื่องการเลือกรับประทานอาหารตามหลักของหยินและหยางกันต่อเลย ซึ่งผมคิดว่าหลักการของหยินและหยางมีส่วนคล้ายคลึงกับการเลือกรับประทานอาหารตามหลักอาหารคลีน (Clean Food) เป็นอย่างมาก


ในการจัดประเภทของอาหารว่าเป็นอาหารแนวหยินหรืออาหารแนวหยางนั้นต้องดูปัจจัยหลาย ๆ ส่วน เนื่องจากอาหารทุกชนิดมีคุณสมบัติทั้งแนวหยินและแนวหยางอยู่ในอาหารชนิดเดียวกัน วิธีการที่แน่นอนที่สุดในการคัดแยกประเภทของอาหารหยินและหยางคือ การสังเกตการเจริญเติบโตของพืชผักและผลไม้นั้น ๆ โดยในหน้าหนาวอากาศจะหนาวเย็น (หยิน) ในช่วงเวลานี้พลังของพืชผักและผลไม้จะลงไปอยู่ที่ราก พลังชีวิตของพืชจะมีความเข้มแข็ง พืชผักและผลไม้มีความแห้งกว่าสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานกว่า และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี

ส่วนในหน้าร้อนที่อากาศจะร้อนหรืออบอ้าว (หยาง) พืชผักและผลไม้จะมีความเป็นหยินมากกว่า โดยพืชผักและผลไม้จะมีน้ำมากกว่า และจะเกิดการเหี่ยวเฉาและเน่าเสียได้อย่างง่ายดาย โดยในฤดูกาลนี้พวกพืชผักและผลไม้จะให้ความเย็นแก่ร่างกายในฤดูร้อน วงจรปีของอาหารจะแสดงการสลับไปสลับมาระหว่างพลังของอาหารในแนวหยินและอาหารในแนวหยางเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และหลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่ในโลก โดยเราสามารถสังเกตได้ว่าอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่ได้จากเขตร้อนจะมีความเขียวชอุ่ม ชุ่มชื้น และจะเป็นผักและผลไม้ที่มีความเป็นหยินมากกว่า แต่ในขณะที่พืชผักและผลไม้ซึ่งมีต้นกำเนินจากเขตหนาวหรือเขตที่มีอากาศเย็น จะเป็นพืชผักและผลไม้ที่มีความเป็นหยางมากกว่า

อาหารที่ได้จากพืชผักและผลไม้จะมีความเป็นหยินมากกว่าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ผักและผลไม้จะไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักเพราะมีรากที่ยึดอยู่กับพื้นดิน และจะเจริญเติบโตในที่เดิมสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ในขณะที่สัตว์จะมีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลายกเว้นเวลานอน ทำให้ร่างกายมีความร้อนมากจึงไม่มีความเป็นหยินมากนัก

2. โดยทั่วไปธรรมชาติของผักจะมีโครงสร้างของพืชผ้กและผลไม้จะมีโครงสร้างที่ขยายออกมีการแผ่กิ่งก้านสาขา และเจริญเติบโตเหนือพื้นดิน ขี้นไปยังท้องฟ้า หรือเติบโตไปทางด้านกว้างขนานไปกับพื้นดินตามหลักแนวทางของหยิน ในขณะที่สัตว์จะมีมวลที่หนาแน่น แต่ละส่วนแต่ละอวัยวะแยกออกจากกัน มีการเจริญเติบโตที่ขยายขึ้นเพียงเล็กน้อยในมาลที่หนาแน่น

3. อุณหภูมิภายในของพืชจะมีความเย็นมากกว่าอุณหภูมิภายในร่างกายของสัตว์หลายชนิด พืชจะทำการหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าและหายใจออกเป็นออกซิเจน ส่วนสัตว์จะทำการหายใจเอาออกซิเจนเข้า และหายใจออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ พืชผักและผลไม้จะเป็นตัวแทนของสีเขียวของคลอโรฟีล ในขณะที่สัตว์เป็นตัวแทนของสีแดงจากฮีโมโกลบิน โครงสร้างทาง เคมีของทั้งพืชและสัตว์นั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟีลเป็นแมกนีเซียม และตรงกลางของฮีโมโกลบินเป็นเหล็ก

บทความ : Clean Food

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : การเลือกรับประทานอาหารตามหลักการของหยินและหยาง

จากตอนที่แล้วที่เราทำความรู้จักกันว่าหยินและหยางคืออะไร คราวนี้เรามาเรียนรู้ถึงหลักการรับประทานอาหารแนวหยินและหยางกันนะครับว่าจะมีส่วนคล้ายกับหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) กันมากน้อยขนาดไหน


อาหารที่เรารับประทานกันทุก ๆ วันนี้เป็นวิถีที่มีการวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลอย่างมากกับวิวัฒนาการของมนุษย์ที่รับประทานอาหารในแต่ละยุคแต่ละสมัยเข้าไป การรับประทานอาหารและการดื่มน้ำตามหลักการของหยินและหยางคือการนำเอาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติทั้งหมดเข้าสู่ร่างกายเช่น แสงแดด, ดิน, น้ำ, อากาศหรือลม และการแบ่งอาหารและเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ให้เป็นหยินและหยางเป็นสิ่งจำเป็นในการปรุงอาหารที่ให้สมดุลแก่ร่างกาย
ปัจจัยและผลของการเจริญเติบโตของร่างกายและโครงสร้างอาหารที่เรารับประทานเข้าไปซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนจะเป็นตัวระบุหรือบ่งชี้ว่า อาหารที่เรารับประทานเข้าไปสู่ร่างกายชนิดนั้นเป็นหยินหรือหยาง

อาหารแนวหยินจะมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ - อาหารประเภทหยินจะเป็นอาหารที่มีโปรแตสเซียมสูง เป็นพืชผักหรือผลไม้ที่เติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนหรืออบอุ่นคือโตได้ดีกว่าพืชผักหรือผลไม้ชนิดอื่น ๆ โดยมีการเติบโตในแนวตั้งตรงขึ้นไปในอากาศ หรือเติบโตไปในแนวนอนใต้พื้นดิน โดยมีใบที่ใหญ่กว่าพืชผักผลไม้ชนิดอื่น มีลักษณะขอบใบที่เรียว และสุกเร็วเป็นพิเศษ
การกินอาหารที่มีลักษณะแนวหยินจะช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงหรือช่วยเพิ่มความเย็นให้กับร่างกาย, ร่างกายมีความนุ่ม จิตใจมีความสงบ ทำอะไรช้าลงแต่รอบคอบขึ้นและต้องการเวลาในการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ

อาหารแนวหยางจะมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ - อาหารประเภทอาหารหยางจะเป็นอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในปริมาณสูง ถ้าเป็นผักหรือผลไม้จะเติบโตได้ดีในภูมิอากาศหนาวเย็น หรือควรทำการปลูกในฤดูหนาว มีการเติบโตช้า ขนาดลำต้นเล็กและสั้น มีน้ำเป็นองค์ประกอบค่อนข้างน้อย และเติบโตไปตามแนวนอนเหนือพื้นดิน หรือเติบโตเป็นแนวตรงลงไปในดิน ใบมีขนาดเล็กกว่าผักหรือผลไม้ในแนวหยิน ขอบของใบเป็นหยักใบจะแข็งขึ้นเมื่อปรุงสุกแล้ว
การกินอาหารแนวหยางจะมีผลทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น มีความตื่นตัว กระตือรือร้น เคลื่อนไหวร่างกายได้รวดเร็ว ร่างกายมีพลังงานมากและใช้เวลาในการนอนพักผ่อนน้อยกว่าการรับประทานอาหารแนวหยิน

บทความ : Clean Food

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : หยิน-หยาง กับหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food)

ต่อจากตอนที่แล้วที่เรากล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างหลักแมคโครไปโอติกกับหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) กันไปแล้วควาวนี้เรามาศึกษากันดูว่าหลักหยิน-หยางมีความเกี่ยวข้องกับหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) อย่างไรบ้าง

 http://www.dcleanfood.com

แนวความคิดของหลักหยิน-หยาง

หยิน-หยางมีแนวความคิดว่าสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเป็นไปตามกฏเกณฑ์ของจักรวาล ซึ่งถูกค้นพบและทำความเข้าใจและบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในแต่ละยุคแต่ละสมัยแต่ละสถานที่มาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ และเป็นพื้นฐานทั่วไปทางด้านจิตใจ, การเมือง, ปรัชญา, การแพทย์, วิทยาศาสตร์ และประเพณีทางด้านสังคม หลักการนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติตามหลักของจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุดในชีวิตประจำวันมีผู้มีความรู้และผู้เผยแพร่หลักคำสอนอยู่หลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื้อ, โมเสส, พระพุทธเจ้า, พระเยซู และศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ของหลายศาสนาในยุคโบราณกาล โดยคำสอนเหล่านี้ได้ถูกค้นพบและทำการปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัยและทำการเผยแพร่กันมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 พันกว่าปีที่ผ่านมา

นับเป็นเวลาหลายพันปีในประเทศจีน ลัทธิเต๋าได้ทำการอธิบายกฏเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของจักรวาล หลักการและความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปของธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของทุกสรรพสิ่ง และได้ถูกนำมาเป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่งของตำราอี้จิง หรือตำราแห่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนักปราชญ์หลายท่านได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรานี้รวมถึงขงจื๊อและเล่าจื๊อ คำสอนของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนทั้งสองท่านตั้งอยู่บนหลักการและแนวคิดของหยินและหยาง อันเป็นกฏแห่งความกลมกลืนและสัมพัทธ์ที่ครอบคลุมไปทั่วทั้งจักรวาล

หยินและหยางจึงเป็นสัญญลักษณ์สำคัญที่ใช้อธิบายจังหวะการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและจักรวาลอย่างตรงไปตรงมา หยิน-หยางจึงเป็นหลักการที่ครอบคลุมปรากฏการณ์ทั้งมวลและก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทั้งที่ออกจากศูนย์กลางและเข้าสู่ศูนย์กลาง หยินคือการเคลื่อนที่ออกจากศูนย์กลางและก่อให้เกิดการขยายตัวหยางคือการเคลื่อนที่เข้าหาศูนย์กลางทำให้เกิดการหดตัว โดยเราสามารถพบเห็นปรากฏการณ์หยินและหยางได้ในร่างกายของเราได้ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การหดตัวและขยายตัวของหัวใจ,ปอด, กระเพาะอาหาร และในลำไส้ระหว่างที่มีกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ในทางดาราศาสร์และทางฟิสิกส์ แรงสองนี้ทั้งแรงที่ออกจากศูนย์กลางและแรงที่เข้าสู่ศูนย์กลางปรากฏอยู่ในรูปของแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ที่มีต่อแกนกลางของโลก (แรงหยาง) และการหมุนหรือเหวี่ยงออกจากศูนย์กลาง(แรงหยิน) เช่นการเคลื่อนที่ของโลกหรือการหมุนรอบตัวเองของโลกเป็นต้น

ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของหยินและหยางกันไปแล้วนะครับคราวหน้าเราจะพาพูดกันถึงเรื่องการรับประทานอาหารตามหลักการและแนวทางของหยินและหยางซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนมากกันต่อครับ

บทความ : Clean Food

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : ความเป็นมาของแมคโครไบโอติก Macrobiotics ต้นกำเนิดของ Clean Food

จากตอนที่แล้วเราทราบความหมายของแมคโครไบโอติกกันมาแล้วคราวนี้เรามาศึกษาความเป็นมาของแมคโครไบโอติก Macrobiotics กันบ้างดีกว่าครับ

 Clean Food
การใช้ชีวิตตามหลักการของแมคโครไบโอติกหรือการดำเนินชีวิตและรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาตินั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอาหารที่รับประทานเข้าไปเพราะอาหารที่เรารับประทานไม่เพียงแต่จะช่วยหล่อเลี้้ยงร่างกาย ช่วยประทังชีวิตของเราให้อยู่รอดเพียงเท่านั้น หากเรารับประทานอาหารตามหลักของแมคโครไบโอิติกแล้วจะช่วยปรับพื้นฐานของสุขภาพและความสุข ความมีชีวิตชีวาของเราให้ดียิ่งขึ้น แนวความคิดและหลักแมคโครไบโอติกนี้เกิดขึ้นมานาหลายพันปีก่อน โดยนักปราชญ์นักคิดที่ยิ่งใหญ่ชาวกรีก ได้เรียบเรียงหลักคำสอนในศาสนา และลัทธิต่างๆ อันได้แก่ หลักพระมนูของอินเดีย, คำภีร์เน่ยชิงของประเทศจีน และหลักการรับประทานอาหารแบบเซ็น เป็นต้น

และเมื่อถึงปี พุธศักราชที่ 2340 นายแพทย์คริสตอฟ วิลเฮล์ม ฟอน ฮัฟแลนด์ ได้เริ่มใช้คำว่า แมคโครไปโอติก ในงานเขียนเรื่อง ดัส มาโครบิโอติค (Das Makrobiotik) ซึ่งเป็นงานเขียนเกี่ยวกับศาสน์และศิลป์ในการทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาว ซึ่งกระบวนการทางการแพทย์จะเป็นการดูสภาวะที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แต่กระบวนการของแมคโครไบโอติกเป็นการดูการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจที่้เป็นหนึ่งเดียว

โดยบุคลากรทางการแพทย์โดยทั่วไปจะรู้สึกพอใจที่สามารถฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงดังเดิมได้ แต่ไม่ได้พิจารณาถึงสาเหตุและเหตุผลว่าสภาพร่างกายสามารถฟื้นฟูมาได้อย่างไร การที่ชีวิตเราจะยืนยาวมีสุขภาพที่แข็งแรงได้นั้น อาจจะต้องพึ่งพากระบวนการทางการแพทย์บ้างเมื่อเราไม่สบายหรือป่วย แต่กระบวนการแมคโครไบโอติกจะทำให้เรามองเห็นสาเหตุของความเจ็บป่วยนั้น ๆ โดยในขณะที่ร่างกายของเราป่วยอยู่นั้นหากเราปฏิบัติหรือรับประทานอาหารตามหลักแมคโครไบโอติกร่างกายของเราก็จะกลับมาแข็งแรงและมีชีวิตที่ยืนยาวได้ แมคโครไบโอติกจึงเปรียบได้กับวิทยาศาสตร์สาขาหลักที่ครอบคลุมมากที่สุด และวิทยาศาสน์และวิทยาการทางการแพทย์จะรองลงมาจากแมคโครไบโอติกเพราะแมคโครไบโอติกสามารถช่วยเราบอกถึงวิธีการที่จะวินิจฉัยโรค รักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งแมคโครไบโอติกสามารถบอกและวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้ดีกว่าวิทยาศาสตร์ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในปัจจุบัน

พรุ่งนี้เรามาต่อกันเรื่องประวัติความเป็นมาของแมคโครไบโอติกกันต่อนะครับ มีประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจต้องพูดถึงกันอีกมากครับ

บทความ : Clean Food

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : แมคโครไบโอติก ต้นแบบของการรับประทานอาหารคลีน Clean Food : http://www.dcleanfood.com


แมคโครไบโอติกคืออะไร

  แมคโครไบโอิตก (Macrobiotics) เป็นรากศัพท์ที่มาจากภาษากรีก ที่บัญญัติโดย ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ของกรีก เมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้วคำว่า แมคโคร (macro) มีความหมายเหมือนกับคำว่า Long ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า ยั่งยืน, ยืนยาว หรือ ยิ่งใหญ่ และคำว่าไบโอติก (Biotic) มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า Life ในภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึงชีวิตหรือแนวทางการดำเนินชีวิต Way of life เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันจะมีความหมายว่า แนวทางอันยั่งยืนในการดำเนินชีวิตหรือแนวการมีชีวิตที่ยืนยาว

  โดยความคิดพื้นฐานของ Macrobiotics คือทุก ๆ สิ่งในโลกล้วนกำเนิดมาจากอนันต์ โดยไม่มีที่สิ้นสุดและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใจหลักของMacrobiotics แล้วจะทำให้เรามองโลกในมุมมองที่กว้างขึ้น ไม่มองทุกอย่างตายตัวหรือมองโลกแคบอย่างที่แล้ว ๆ มา เพื่อให้เราเข้าถึงความยิ่งใหญ่และความมีเอกภาพของธรรมชาติซึ่งเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเราได้

เมื่อทำการวิเคราะห์และสรุปความหมายของ Macrobiotics จึงได้คำจำกัดความว่า Macrobiotics คือการสร้างสมดุลทุกด้านของชีวิตโดยยึดหลักของธรรมชาติเป็นหลักทั้งทาง ร่างกาย, อารมณ์ และจิตใจ ในการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละวันโดยเฉพาะเรื่องของการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่เป็นอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี มีพลังงานเต็มเปี่ยมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และการดำเนินชีวิต, มีความสุขและมีชีวิตชีวา โดยหากใครสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามกฏของธรรมชาติรอบตัวแล้วนั้น ร่างกายย่อมแข็งแรงมีสุขภาพดี มีชีวิตชีวา

เริ่มน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ เพราะการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำตามกฏของธรรมชาติ ใกล้เคียงกับความหมายของคำว่าการทานอาหารคลีน (Clean Food) ที่มุ่งเน้นการรับประทานอาหารสดปราศจากการปรุงแต่ง มากเลยทีเดียว พรุ่งนี้เรามาศึกษารายละเอียดกันต่อไปนะครับ

บทความ : Clean Food

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนจบ : http://www.dcleanfood.com

ต่อจากตอนที่ 5 คราวนี้มาถึงตอนจบแล้วครับ มาทำความเข้าใจกับเรื่องสารพิษในอาหารและอาหารก่อมะเร็งตอนจบกันได้เลยครับ


สารก่อมะเร็งที่มาจากอาหารประเภท ปิ้ง, ย่าง และทอด

1. สารไนโตรซามีน (nitrosamine)

สารไนโตรซามีน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะการเกิดมะเร็งในตับ มะเร็งในหลอดอาหาร และมะเร็งในกระเพาะอาหาร สารไนโตรซามีนพบในอาหารประเภทปิ้งย่าง เช่น ปลาหมึกย่าง, ปลาทะเลย่าง กุ้งย่าง แต่อยู่ในปริมาณที่ไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ยังพบสารไนโตรซามีนในเนื้อสัตว์ที่ใส่สารกันบูดจำพวกไนเตรทหรือไนไตรท์ สารไนโตรซามีนจะมีด้วยกันหลัก ๆ 4 ชนิด ที่ได้รับการวิจัยและพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่
สารไดเมธิลไนโตรซามีน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ
สารไดเอธิลไนโตรซามีน เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่ตับและมะเร็งหลอดอาหาร
สารเมธิลเบนซิลไนโตรซามีนและสารเมธิลเฟนิลไนโตรซามีน เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่หลอดอาหารเช่นเดียวกัน

และสารบางอย่างที่เราใช้ในการปรุงรสอาหารอาจจะเป็นตัวเพิ่มการเกิดสารไนโตรซามีนได้ เช่น พริกและพริกไทยซึ่งใส่ลงไปในแกงที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ยารักษาโรคบางชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของเอมีนและเอมีด เช่น Polytetracycline aminopyrine disulfiram และ niketthamide จากผลการวิจัยพบว่าสามารถรวมตัวกับไนไตรท์ทำให้เกิดสารไนโตรซามีนในปริมาณที่สูงซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก

2. สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates)

สารพัยโรลัยเซต เป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเป็นวงแหวน heterocyclic aromatic ring ของเอมีน ซึ่งได้แก่ พวกกรดอะมิโน เช่น tryptophan, glutamic acid, phenylalanine lysine เป็นต้นถูกทำลายโดยความร้อนสูงจนกลายเป็นสารใหม่ที่มีโมเลกุลซับซ้อมมากขึ้น พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารประเภทปิ้ง ย่าง สารเหล่านี้มีฤทธิ์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์สูงมาก จากผลการวิจัยฤทธิ์ต่อการกลายพันธุ์ของพัยโรลัยเซต พบว่าสารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่าสารอะฟลาทอกซินตั้งแต่ 6-100 เท่า สารพัยโรลัยเซตสามารถรวมตัวทางชีวเคมีกับดีเอ็นเอ แล้วเกิดเป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ได้

3. สาร PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbon)

เป็นสารพิษที่มีความร้ายแรงมาก ส่วนใหญ่เป็นสารเริ่มต้นก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (Pre Mutagen) และเป็นองค์ประกอบสำคัญสาร (precarcinogen) ของเขม่าไฟ, ท่อไอเสียรถยนต์ , น้ำมันดิบที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้สาร PAH ยังได้จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันในเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปิ้งย่าง, น้ำมัน, และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น ๆ จากรายละเอียดข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่า สาร PAH จะพบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารประเภท ปิ้ง, ย่าง อาหารทอดกรอบที่ใช้น้ำมันเก่าและอาหารรมควัน
สาร PAH เป็นสารที่ไม่ชอบน้ำ (nonpolar) จึงละลายได้ดีมากในไขมันแต่ละลายได้น้อยมากในน้ำ ดังนั้นสาร PAH จึงสามารถสะสมในชั้นไขมันของร่างกายคนเราได้นานมาก โดยสาร PAH ในเนื้อเยื่อไขมันจะไม่ทำให้เกิดพิษกับร่างกาย จนกว่าสาร PAH จะเข้าไปอยู่ในเซลล์ในร่างกายของเรา โดยสาร PAH จะเข้าไปสะสมในชั้นเมมเบรนของเซลล์ ซึ่งเป็นฟอสโฟลัยปิด
จบแล้วนะครับสำหรับบทความเรื่อง สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ พรุ่งนี้คอยพบกับเรื่องที่น่าสนใจเรื่องใหม่กันนะครับ

บทความ : Clean Food

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Clean Food: สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนที่ 5 : http://www.dcleanfood.com

ต่อจากตอนที่ 4 นะครับเรามาพูดกันต่อเกี่ยวกับอันตรายจากเนื้อสัตว์กันเลย


 มีผลงานวิจัยของทางรัฐบาลโดยสถาบันโภชนาการ ได้ผลลัพธ์ที่น่าตระหนกว่าไตของคนที่รับประทานเนื้อสัตว์ต้องทำงานหนักเป็น 3 เท่าของผู้ที่รับประทานผัก และผลไม้เพื่อขับสิ่งสกปรกและของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายเช่น แอมโมเนีย, ยูเรีย, กรดยูริค และสารพิษที่ร่างกายได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์เข้าไป โดยเมื่อสารพิษเหล่านี้สะสมในร่างกายในปริมาณมากเป็นระยะเวลายาวนาน

 โดยขณะที่เรายังเป็นหนุุ่มสาวมีร่างกายแข็งแรงร่างกายมักจะจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ออกมา แต่พอเรามีอายุมากขึ้น แต่เดิมมักจะอยู่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันช่วงเวลาสั้นลงมาอยู่ที่อายุ 30 ปีขึ้นไปจึงเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจน โดยจะมีภาวะของโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งสูงมาก หากเรานิยมหรือทานเนื้อสัตว์เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกวันโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทอดจากน้ำมันเก่า หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม โดยเนื้อวัวที่เรามักจะนำมาทำเป็น Steak รับประทาน ก็มีสารอันตรายมากมายไม่ต่างจากเนื้อหมู โดยเฉพาะสารฟอกขาว ซึ่งนิยมใช้กันอย่างมากในการฟอกเครื่องในวัวประเภทผ้าขี้ริ้ว และสัตว์อื่น ๆที่มีสีสดดูน่ารับประทานเช่นกุ้งแห้งก็เช่นเดียวกัน ที่มักมีส่วนผสมของสีย้อมผ้าในปริมาณมาก ซึ่งสารพิษจากสีย้อมผ้าทำให้ร่างกายเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 อาหารรมควันก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่กระทรวงสาธารณะสุขต้องทำการเตือนให้ผู้บริโภคทำการหลีกเลี่ยง เช่น ไส้กรอกรมควัน หรือปลารมควัน อาหารรมควันเหล่านี้พบว่ามีสารโพลีไซคลิก, อโรมาติก และไฮโดรคาร์บอน ซึ่งหากได้รับเข้ามาสะสมในร่างกายของเราในปริมาณมาก ๆ แล้วจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 

บทความ : Clean Food

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนที่ 4 : http://www.dcleanfood.com

ต่อจากตอนที่ 3 นะครับเรามาพูดกันต่อถึงเรื่องเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งกันครับ




อันตรายจากเนื้อสัตว์


เนื้อสัตว์ที่เรานิยมรับประทานกันอยู่ทุก ๆ วัน มีอันตรายต่อสุขภาพของเราอย่างนึกไม่ถึง ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนให้เนื้อสัตว์เป็นภัยลำดับต้น ๆ ของผู้บริโภคและกำลังเร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเนื้อหมู เนื่องจากกระทรางสาธารณสุขตรวจพบว่าเขียงหมูแทบทุกเขียงทั่วประเทศไทยขายเนื้อหมูที่มีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูงและเป็นพิษภัยต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โดยในเนื้อหมูมีทั้งสารเร่งเนื้อแดง ที่ฉีดเข้าไปเพื่อให้เนื้อหมูมีสีแดงสดดูน่ารับประทาน ซึ่งปัญหานี้สืบเนื่องมาจากการที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู มีความจำเป็นต้องให้สารเร่งเนื้อแดงกับหมูที่ตนเองเลี้ยง เนื่องจากเขียงหมูจะรับซื้อเฉพาะหมูที่มีการให้สารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น สาเหตุหลักก็สืบเนื่องมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมบริโภคเนื้อหมูที่มีสีแดงสวยไม่ค่อยมีไขมัน

ในความเป็นจริงแล้ว สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูมีอันตรายต่อผู้บริโภคมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอาการแพ้ยาและเป็นโรคหัวใจผิดปกติ ซึ่งสารเร่งเนื้อแดงจะไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือผิดปกติ นอกจากนี้สารเร่งเนื้อแดงยังมีผลต่อสัตว์ ทำให้สัตว์ที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมรุนแรงและมักทำร้ายกันเอง โดยเฉพาะการเลี้ยงหมูในประเทศไทยจะเลี้ยงกันแบบแออัดทำให้หมูยิ่งมีความดุร้ายมากขึ้น และผลจากความเครียดหรือความดุร้ายของหมูนั่นเองที่ไปช่วยกระตุ้นให้สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูมีอันตรายมากยิ่งขึ้น และผู้บริโภคที่บริโภคเนื้อหมูเป็นประจำจะได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องยาปฏิชีวนะที่ตกค้างอยู่ในร่างกายหมูหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่นสารประเภทคลอแรมฟีนิคอล และยากลุ่มไนโตรฟูแรน ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งทั้งสิ้น

บทความ : Clean Food

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Clean Food : สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนที่ 3 : http://www.dcleanfood.com



ต่อจากสารบอแรกซ์ในตอนที่แล้วนะครับ เรามาต่อกันกับสารพิษตัวอื่น ๆ ที่มาปนเปื้อนมากับอาหารและทำให้เกิดมะเร็งกันต่อเลยครับ


ตามหลักการรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) ควรงดรับประทานอาหารจำพวก ปิ้ง, ย่าง, ทอด ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้นทอด, ไก่ย่าง, หมูปิ้ง, บาร์บีคิว, เฟรนซ์ฟราย, ขนมปังกรอบ, และที่สำคัญอาหาร Fast Food หรืออาหารจานด่วนตามร้านสะดวกซื้อที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสชาติดีชวนให้รับประทานบางท่านคิดว่าอาหารพวกนี้ให้พลังงานดีและเหมาะกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่ต้องรีบเร่ง
แต่อาหารจำพวกนี้มีอันตรายและโทษต่อร่างกายเป็นอย่างมากหากรับประทานเข้าไป เพราะมีผลการวิจัยยืนยันกันมาอย่างยาวนานแล้วว่า อาหารทอด อาหารขบเคี้ยว ของปิ้งย่าง มีสารก่อมะเร็งคือ เฮทเทอโรซัยคลิกเอมีน และสารอะคริลาไมด์ ซึ่งเป็นสารอันตรายที่แฝงตัวอยู่ในอาหารเหล่านี้ โดยเฉพาะสารอะคริลาไมด์ ซึ่งพบรายงานจากประเทศอังกฤษและสวีเดนว่า
อาหารที่พบสารอะคริลาไมด์ในปริมาณสูงจนเป็นอันตรายมักพบในอาหารที่ใช้ความร้อนสูงในการปรุงอาหารเป็นเวลานาน ซึ่งหมายถึงอาหารที่ผ่านการทอดจากน้ำมันเก่าที่ผ่านการทอดมาแล้วหลาย ๆ ครั้ง และอาหารประเภทปิ้งย่าง ที่ผ่านการปิ้งย่างจนเกรียม หากเรารับประทานอาหารประเภทนี้จนได้รับสาร เฮทเทอโรซัยคลิกเอมีน และสารอะคริลาไมด์ เข้าไปสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว จะก่อให้เกิดภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งได้สูงมาก

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ก่อให้เกิดมะเร็ง

ผลการวิจัยทางการแพทย์มีการพิสูจน์กันมาแล้วอย่างยาวนานว่า ผู้บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทอดโดยการใช้น้ำมันเก่า และเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม จะก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่, ตับ, ต่อมลูกหมาก และเต้านมได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนที่ 2

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ คราวนี้เรามาพูดถึงสารพิษต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและอาจเป็นปัจจัยให้เกิดโรคมะเร็งกันต่อเลย


เกลือไนไตรทผสมอาหารหรือดินประสิว ที่มักพบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์หมักเช่น แหนม, ไส้กรอก, แฮม, กุนเชียง มีการวิจัยยืนยันแล้วว่าอาหารจำพวกนี้มีสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งชื่อไนโตรซามีนโดยมีผลให้เกิดโรคมะเร็งในส่วนของกระเพาะอาหารและมะเร็งบริเวณตับ
ในปัจจุบันสารเคมีที่ส่งผลให้คนที่รับประทานมากมายเกิดภาวะโรคมะเร็ง คือสารบอแรกซ์ สารบอแรกซ์เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการให้สารประกอบเชิงซ้อนกับสารอินทรีย์ในอาหาร ทำให้อาหารที่ใส่สารบอแรกซ์ กรอบ, เหนียว, ยืดหยุ่น มีสัมผัสที่น่ารับประทาน อาหารที่มีสารบอแรกซ์เจือปน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้ดังนี้คือ

- อาหารประเภทที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์บด, หมูบด, ไก่บด, เนื้อปลาบด, ลูกชิ้นปลา, ลูกชิ้นหมู และลูกชิ้นเนื้อ โดยสารบอแรกซ์จะไปส่งผลให้อาหารเหล่านี้มีผิวสัมผัสที่กรอบ, ยืดหยุ่น, เหนียว ดูน่ารับประทาน

- อาหารประเภทที่ 2 ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ขายกันตามท้องตลาดทั่วไป ที่มีสีสวย และเนื้อแข็งดูน่ารับประทาน

- อาหารประเภทที่ 3 ได้แก่ ขนมจากแป้งที่ผสมสารบอแรกซ์ ที่มีลักษณะ กรอบ, เหนียว, นุ่ม เช่น ทับทิมกรอบ,รวมมิตร, ลอดช่อง, บัวลอย เป็นต้น

- อาหารประเภทที่ 4 ได้แก่ อาหารหวาน, อาหารกวน และผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง, มะดันดอง, เผือกกวน, วุ้นกะทิ, สาคูน้ำกะทิ, ถั่งแดง เป็นต้น

บทความ : Clean Food

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : สารพิษในอาหารและอาหารที่รับประทานแล้วอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ตอนที่ 1


โรคมะเร็งเป็นโรคที่อันตรายมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสที่จะเสียชีวิตเนื่องจากมะเร็งชนิดต่าง ๆ มีสูงมาก ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากกว่า 100,000 ราย และสาเหตุสำคัญที่่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งคือสารพิษและพิษภัยต่าง ๆ ที่ได้รับจากอาหารสารพิษและสารก่อมะเร็งในอาหาร เป็นปัญหาสำคัญในเรื่องของสุขภาพคนไทยในทุกวันนี้ โดยสารพิษในอาหารประกอบด้วย 9 ชนิดอันตราย และ 6 ชนิดร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ปนมากับอาหารมากมายหลายชนิดที่เรารับประทานไปในแต่ละวัน โดยในปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตของคนไทยโดยใน 1 ปีนอกจากจะมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 100,000 ราย ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่า 60,000 รายต่อปี และจากผลสำรวจในปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของผู้เป็นมะเร็งลดลงอย่างมากจากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปีแต่ในปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มเป็นมะเร็งอยู่ที่ 30 - 40 ปี ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นมาก

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง มากกว่า 60% เกิดจากสารพิษและสารก่อมะเร็งที่ปะปนมาในอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือสารพิษที่ปนเปื้้อนมาในอาหารนั้น มาจากปัจจัยภายนอกเช่น สารเคมีต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในอาหาร และในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยก็เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย โดยนิยมเข้าร้านสะดวกซื้อ เพื่อซื้ออาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูปที่เต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ มากมาย เช่นวัตถุกันเสีย สารกันบูด สารเคมีที่ใช้แต่งรสหรือกลิ่น

นอกจากนี้อาหารทะเลที่ขายกันตามท้องตลาดผู้ขายมักจะใช้ฟอร์มาลีนหรือน้ำยาอาบศพเป็นน้ำยาแช่ เพื่อให้อาหารทะเลเหมือนกับยังสดอยู่ และฟอร์มาลีนยังทำให้อาหารทะเลสดเหล่านั้นเน่าเสียยากขึ้น ดังนั้นในการรับประทานอาหารทะเลในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรุงให้สุกเสียก่อน ไม่รับประทานดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาร้า, ลาบ, ก้อย, ปลาดิบ หรือกุ้งแช่น้ำปลา จึงเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยเป็นอย่างมากเนื่องจากร่างกายอาจจะได้รับฟอร์มาลีนซึ่งเป็นสารพิษอันตรายเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจนอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

บทความ : Clean Food


Dcleanfood.com : วิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) ตอนจบ

มาถึงตอนจบของบทความเรื่องวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) กันแล้วนะครับมาดูข้อที่เหลือกันเลย

8. หลีกเลี่่ยงการทานอาหารรสจัด เช่นอาหารที่มีรสหวานจัด, เค็มจัด, เผ็ดจัดเป็นต้น โดยอาหารรสหวานจัด รวมถึงน้ำอัดลมและขนมจำพวกลูกอมเป็นอาหารที่ให้แต่พลังงาน แต่ไม่มีสารอาหารใด ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเลยโดยพลังงานที่ได้จากของหวานหรือน้ำตาลจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไขมัน และจะสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคเกิดภาวะของโรคอ้วนในที่สุด และนอกจากการบริโภคน้ำตาลหรือของหวานมากจนเกินไปจะเป็นสาเหตุของไขมันชนิดไตรกลีซอไรด์ที่จะสะสมอยู่ในร่างกายของเราเพิ่มขึ้นสูงในปริมาณที่อาจจะก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายของเราด้วย โดยปกติคนเราไม่ควรรับประทานน้ำตาลหรือของหวานที่มีน้ำตาลมากเกินความจำเป็นที่ 40-45 กรัมหรือในปริมาณที่มากกว่า 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
ในส่วนของอาหารรสเค็มจัด เช่นอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ผักและผลไม้ดอง และเครื่องปรุงรสชาติอาหารเช่นผงชูรส และน้ำปลาหรือผงฟู ซึ่งมีส่วนผสมของโซเดียมในปริมาณมากซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะของโรคความดันโลหิตสูง โดยจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเราควรงดรับประทานอาหารหรือเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มจัด โดยหันไปทานอาหารรสชาติปกติหรือใช้เครื่องเทศต่าง ๆ เช่น กระเทียม หัวหอม คะไคร้ ใบมะกูด หรือมะนาวในการปรุงอาหารแทน

9.ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมะสมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย แต่น้อยคนนักที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แค่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ส่วนใหญ่จะดื่มกันจนเมามายหรือเกินความต้องการของร่างกายไปมาก โดยแอลกอฮอล์จะไปทำอันตรายต่อตับทำให้เกิดการชำรุดเสียหายและทำงานได้ไม่ปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองโป่งหรือตีบ จนถึงเส้นเลือดในสมองแตก และยังเสี่ยงต่ออาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ทำลายสมอง และก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งหลอดอาหาร ,มะเร็งถุงน้ำดี, มะเร็งตับ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
เพราะแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะไปกดสมอง ในส่วนของการควบคุมสติสัมปชัญญะและหัวใจ ทำให้ขาดสติ ร่างกายเสียการทรงตัว สูญเสียสมรรถนะในการทำงาน ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดแอลกอฮอล์มีแต่ผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นเราควรหันมาทานอาหารคลีน (Clean Food) และเลิกรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาดจะดีที่สุดครับ

บทความ Clean Food

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : วิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) ตอนที่ 3

ต่อจากตอนที่แล้ววิธีการปรับเปลี่ยนข้อที่ 3 คือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และข้อที่ 4 คือรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก คราวนี้เรามาต่อข้อต่อไปกันเลยครับ


5.ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย น้ำนมเป็นอาหารที่มีประโยชน์มากต่อร่างกายแต่การรับประทานนมนั้นไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปควรรับประทานให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย โดยน้ำนมและนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ประกอบไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายต่าง ๆ มากมายได้แก่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส
ซึ่งมีส่วนในการช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง แคลเซียมนอกจากจะเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุนแล้วยังมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุควรเลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำและควรดื่มไม่เกินวันละ 1-2 แก้ว และจำเป็นต้องออกกำลังกายควบคู่กันไปเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดีและแข็งแรงได้เร็วขึ้น

6.รับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันแต่พอดีตามความต้องการของร่างกาย ไขมันเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แต่ร่างกายคนเราต้องการไขมันในปริมาณไม่มากต่อวัน โดยไขมันจะแบ่งเป็นไขมันจากธรรมชาติและไขมันที่เติมลงในอาหารซึ่งเราควรรับประทานในปริมาณน้อย แต่ต้องรับประทานให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
โดยถ้าเรารับประทานสารอาหารประเภทไขมันน้อยจนเกินไปร่างกายของเราจะได้พลังงาานและกรดไขมันจำเป็นไม่เพียงพอในแต่ละวัน แต่ถ้าเรารับประทานอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่มากเกินไปโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวที่ได้จากเนื้อสัตว์ และส่วนต่าง ๆของสัตว์ที่มีไขมันมากเช่นหนังสัตว์ จะทำให้ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน, โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดอุดตัน และอาจจะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่มีผลมาจากความอ้วนของร่างกายเช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, และโรคความดันโลหิตสูง และโรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

7.รับประทานอาหารสดและสะอาด อาหารประเภทผักและผลไม้จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อเรารับประทานแบบสดๆ โดยเป็นผักและผลไม้ที่ปลูกตามธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ปลอดภัยจากการปนเปื้อน การเลือกซื้อและรับประทานอาหารสดสะอาดควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีเครื่องหมายสากลในการรับรองคุณภาพอาหาร หรือควรเลือกอาหาร จากร้านจำหน่ายอาหารหรือแผงลอยที่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ถึงได้ชื่อว่าเป็นผักหรือผลไม้ปลอดสารพิษแต่เพื่อความแน่ใจเราควรล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาดอีกครั้งก่อนนำมารับประทาน หรือการแช่ผักลงในน้ำส้มสายชูเพื่อความสะอาดปลอดภัย ในส่วนของเนื้อสัตว์ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งเพื่อให้สิ่งสกปรกที่ติดค้างอยู่หลุดออกไปให้หมดก่อนนำมาปรุงอาหาร

บทความทั้งหมด : Clean Food

Dcleanfood.com : การศึกษาหน่วยพลังงานจากอาหาร และสัดส่วนพลังงานที่ควรได้รับ ตอนที่ 1

หน่วยพลังงานจากอาหาร : กิโลแคลลอรี / กิโลจูน

การวัดพลังงาน แต่เดิมนั้้นเป็นการวัดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญอาหารในร่างกายจึงใช้หน่วยเป็นกิโลแคลอรี ซึ่งความหมายของกิโลแคลอรีก็คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำหนึ่งกิโลกรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเลเซียส และในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปรับเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นการวัดพลังงานในรูปของกิโลจูล

ซึ่งความหมายก็คือ ปริมาณพลังงานที่ได้จากการเคลื่อนน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นระยะทาง 1 เมตร โดยการใช้แรง 1 นิวตัน และมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนการใช้จากกิโลแคลอรีเป็น กิโลจูลในแวดวงโภชนาการ อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ของกิโลแคลลอรีกับกิโลจูลก็คือ
1 กิโลแคลอรี (kcal) = 4.184 (kJ)
1 เมกะจูล (MJ) = 1,000 จูล
1 เมกะจูล (MJ) = 240 กิโลแคลอรี

สัดส่วนพลังงานที่ควรได้รับ (Caloric distribution)

จากการที่ร่างกาายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน และไขมัน่เป็นหลักจึงจำเป็นต้องทราบสัดส่วนของสารพลังงานดังกล่าว เพื่อให้เหมาะสมและได้โภชนาการที่ดี

การเลือกบริโภคอาหารจะเน้นการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้เร็ว ผ่านขบวนการย่อยและดูดซึมในรูปของกลูโคส และเก็บสะสมในรูปแบบของไกลโคเจนบริเวณกล้ามเนื้อและตับ จากการที่มีปริมาณการเก็บไกลโคเจน ไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องได้ในปริมาณที่มากเมื่อเทียบกับสารอาหารอื่น ๆ

บทความทั้งหมด : Clean Food

Dcleanfood.com : อาหารเพื่อสุขภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับตัวผู้บริโภค (ตอนจบ)

บทความก่อนหน้านี้เราพูดถึงอาหารสุขภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายของผู้บริโภค 6 อันดับแรกไปแล้ว คราวนี้เรามาดูอันดับที่เหลือกันบ้างครับ

7. อาหารปลอดกลูเทน

กลูเทนเป็นโปรตีนที่ได้จากข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ เป็นสารที่เป็นสาเหตุของอาการโรคภูมิแพ้ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรมากกว่า 3 ล้านคนที่แพ้โปรตีนประเภทกลูเทน ทำให้บริษัทต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจในการผลิตอาหารปลอดกลูเทนออกมาจำหน่าย

แต่ผู้บริโภคบางท่านหันมารับประทานอาหารปลอดกลูเทนเพื่อลดความอ้วน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งขนมปังที่ปราศจากกลูเทนเหล่านี้ เช่นขนมปังจาก แป้งมันฝรั่ง แป้งมันสำปะหลัง โดยแป้งเหล่านี้เป็นแป้งที่ผ่านกระบวนการกลั่นสูงมาก และอาหารปลอดกลูเทนมักจะมีน้ำตาลสูง ทำให้ผู้บริโภคมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังไปลดระดับวิตามินบี ธาตุเหล็ก และไฟเบอร์อีกด้วย

8. เนยเทียมหรือมาการีน

ผู้บริโภคบางท่านหันมาบริโภคเนยเทียมเพราะเข้าใจว่าสามารถช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือดได้ เพราะสกัดมาจากน้ำมันพืช แต่นั่่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเนยเทียมหรือมาการีนมีกรดไขมันผิดปกติที่เรียกว่ากรดไขมันทรานส์ อยู่นั่นเอง กรดไขมันทรานส์ เป็นกรดไขมันที่มีผลเสียต่อร่างกายมาก เพราะนอกจากจะเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลที่ไม่ดีเช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ ยังไปลดระดับคอเลสเตอรอลที่ดีในร่างกายของเราอีกด้วย

และยังมีงานวิจัยที่พบว่่า การกินเนยเทียมอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีภาวะโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น และการรับประทานเนยแท้ที่ผลิตจากนมวัยที่เลี้ยงตามธรรมชาติในปริมาณที่เหมาะสมน่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดมากกว่าการรับประทานเนยเทียมที่มีคอเรสเตอรอลต่ำอย่างแน่นอน

9. อาหารจำพวก Energy Bar ที่ให้พลังงานสูง

ในกรณีของนักกีฬาที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก จำเป็นต้องได้รับโปรตีนอย่างเต็มที่ โดยอาหารจำพวก Energy Bar ที่ให้พลังงานสูงก็สามารถช่วยได้มาก แต่สำหรับบุคคลทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องร้บประทานอาหารที่ให้โปรตีนหรือพลังงานสูง เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับสารบางอย่างที่มากับอาหารในปริมาณมาก เช่นน้ำตาลที่อาจนำมาซึ่งภาวะการเป็นโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจได้ในที่สุด

แต่ถ้าเราอยู่ในภาวะที่หิวมาก ๆ อาหารให้พลังงานสูงก็เป็นทางเลือกที่ดี และมีประโยชน์มากกว่าการรับประทานอาหารจำพวกอาหารขยะเช่นแฮมเบอร์เกอร์ หรือน้ำอัดลมได้อย่่างแน่นอน

10. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือ Low Carb

สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดน้ำหนัก และต้องการลดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตพวกแป้งในแต่ละมื้อ ทำให้ปัจจุบันมีการผลิตอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตต่ำออกมาวางขายกันเป็นจำนวนมาก

แต่อาหารจำพวกนี้ใช่ว่าจะดีต่อสุขภาพเพียงอย่่่างเดียว เพราะหลังจากมีการตรวจสอบอาหารประเภทนี้พบว่าอาหารประเภทนี้เป็นอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้

11. อาหารจำพวกซีเรียล

ปัจจุบันมีการเข้าใจผิดกันอย่างมากมายเกี่ยวกับการรับประทานอาหารจำพวกซีเรียล ที่คิดว่ามีประโยชน์และให้พลังงานต่อร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารประเภทซีเรียลจะเต็มไปด้วยแป้งที่ถูกขัดสีและน้ำตาล และผู้ผลิตอาจจะผสมเมล็ดธัญพืชและวิตามินบางชนิดลงไป เพื่อโฆษณาได้ว่ามีส่วนประกอบจากธรรมชาติมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ในความเป็นจริงอาหารประเภทซีเรียลในปริมาณเท่า ๆ กันอาจจะมีน้ำตาลมากกว่าชอคโกแลตแท่งก็เป็นได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตอาหารประเภทซีเรียลออกมาเป็นอาหารทานเล่นซึ่งการรับประทานอาหารประเภทนี้ในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาล หรือเกลือในปริมาณมากจนเกินไปและก่อให้เกิดผลเสียแก่ร่างกายได้
นอกจากอาหารทั้ง 11 ชนิดที่กล่าวมานั้น น้ำชาเขียวพร้อมดื่มก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะชาเขียวนั้้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ในน้ำชาเขียวมักจะมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างมากและมีปริมาณของน้ำชาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยเป็นแนวทางให้ทุกท่านเลือกทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงครับ

บทความทั้งหมด : Clean Food

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : วิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) ตอนที่ 2

หลังจากที่เราทราบวิธีการปรับเปลี่ยนข้อที่ 1 คือรับประทานผักและข้อที่ 2 คือรับประทานโปรตีนที่ดีจากเนื้อปลา คราวนี้เรามาต่อข้อต่อไปกันเลยครับ


3.ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ การทานอาหารตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) คือการอาหารสดผ่านการแปรรูปน้อยหรือไม่ผ่านการแปรรูปเลย และหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือทานอาหารแต่พอดี และทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ตามความต้องการพื้นฐานของร่างกาย และไม่ควรทานอาหารชนิดเดิมซ้ำกันทุกวันควรหมุนเวียนอาหารไปในทุก ๆวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์
โดยผู้ที่รับประทานอาหารตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food) คือผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย BMI(Body Mass Index) เป็นตัวชี้วัดความพอดีของน้ำหนัก ซึ่งจะบอกว่าคนคนนั้น อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป ต้องรับประทานส่วนใดเพิ่ม หรือมีน้ำหนักที่พอดีตรงกับมาตรฐานแล้ว

4.รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก โดยรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อยเช่นข้าวกล้องเพราะร่างกายจะได้รับสารอาหารต่าง ๆ จากการรับประทานข้าวได้อย่างครบถ้วน โดยมีการสลับกับการรับประทานอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ อาหารในหมวดหมู่ของแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตได้แก่ ข้าว, ขนมปัง, ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น โดยแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตนี้เป็นสารอาหารที่ร่างกายรับประทานในสัดส่วนที่มากที่สุดในแต่ละวัน
เพราะเป็นแหล่งที่ให้พลังงานกับร่างกาย ปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องรับประทานในแต่ละวันคือ รับประทานข้าวประมาณ 6-11 ทัพพี และข้าวที่รับประทานควรเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือเพราะจะได้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารในปริมาณที่สูงกว่าข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านกระบวนการขัดสี ส่วนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ เช่น ขนมจีน, ก๋วยเตี๋ยว หรือขนมปัง ควรรับประทานเป็นบางมื้อไม่ควรรับประทานติดต่อกันหรือรับประทานบ่อยมากจนเกินไป เพราะแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตไปเป็นไขมันสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนและโรคหลอดเลือดได้

บทความทั้งหมด : http://www.dcleanfood.com

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : วิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) ตอนที่ 1   



เมื่อเราตกลงใจที่จะเลือกรับประทานอาหารคลีน (Clean Food) เพื่อสุขภาพที่ดีของเราแล้ว เราลองมาดูวิธีปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารตามความหมายของอาหารคลีน (Clean Food) กันนะครับ

1.ทานผักสดและผลไม้สดเป็นไปได้ควรรับประทานเป็นประจำทุกวัน เพราะผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มากมายเช่นวิตามินบี 2 และวิตามินบี 6, กรดโฟลิก แมกนีเซียม ทองแดงและโพแทสเซียมโดยประโยชน์จากโพแทสเซียมคือช่วยลดความดันโลหิต แคลเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกป้องกันโรคกระดูกพรุน ธาตุเหล็กป้องกันโรคโลหิตจาง โดยผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ถั่วฝักยาว,ใบแมงลัก, ใบกะเพรา, พริกหวาน ผักกูด, ผักแว่น, ขมิ้นขาว ผักที่มีแคลเซียมสูงเช่น ชะพลู, ใบยอ ผักคะน้า, ผักกะเฉด, ตำลึง, ถั่วลันเตา, ผักกาดขาว, ใบแมงลัก, ดอกโสน, ยอดแค, ยอดสะเดา, พริกไทยอ่อน, ใบย่านาง, มะเขือพวง ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศเหลือง, ส้ม, มะม่วงสุก, มะละกอ สัปปะรด จะมีวิตามินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโนทีน หรือ วิตามิน เอ ซี อี ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ, โรคต้อกระจก, โรคข้อเสื่อม, เพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรค ผักสีน้ำเงิน-ม่วง เช่น กะหล่ำปลีสีม่วง องุ่นม่วง มะเขือม่วง มีสารไฟโตเค็มมิคอลหรือพฤกษเคมี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ผักและผลไม้มีแดง เช่น มะเขือเทศแดง, หัวบีท, แตงโม, แอปเปิ้ลแดง,สตอร์เบอรรี่, เชอรี่ อาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและป้องกันเกล็ดเลือดแข็งตัว ผักและผลไม้ที่มีสีขาว เช่นกระเทียมจะช่วยรักษาระดับของไขมัน และนอกจากนี้ผักและผลไม้สดยังมีเส้นใยอาหารจำนวนมากช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2.เลือกทานปลาหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน,ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ เนื่องจากเนื้อปลาเป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนที่ดีและมีประโยชน์ ย่อยง่ายร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เนื้อปลามีไขมันต่ำ และมีฟอสฟอรัสสูง ในปลาทะเลทุกชนิดมีสารไอโอดีนและปลาทะเลน้ำลึกมีกรดโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดระดับไตรกลีซอไรด์ในเลือดได้ การกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมันจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลเป็นการป้องกันโรคหัวใจ ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการปกติสามารถรับประทานไข่ได้สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ฟองและควรรับประทานไข่สุก ปัจจุบันมีไข่ชนิดที่เพิ่มโอเมก้า 3 และ DHA ออกมาให้เลือกรับประทานกัน โดยโอเมก้า 3 มีคุณสมบัตืช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด สำหรับไข่ที่มี DHA คือไข่ที่มีปริมาณกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (docosahexaenoc acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่เป็นส่วนประกอบ่ของเซลล์สมอง
ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแดง, ถั่วดำ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ เต้าหู้, เต้าเจี้ยว น้ำนมถั่วเหลือง โดยอาหารที่ทำจากถั่วเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีน ธาตุเหล็ก, กรดโฟลิก, วิตามินอี และใยอาหารสูง ถั่วเหลืองจะมีสารไอโซเฟลโวนส์ที่ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โปรตีนถั่วเหลืองยังให้ผลในการช่วยลดคอเลสเตอรอลเมื่อเรารับประทานในปริมาณมากพอ




วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทความทั้งหมด Dcleanfood.com : การศึกษาหน่วยพลังงานจากอาหาร และสัดส่วนพลังงานที่ควรได้รับ ตอนที่ 2    (2015-10-10)



บทความทั้งหมด Dcleanfood.com : การศึกษาหน่วยพลังงานจากอาหาร และสัดส่วนพลังงานที่ควรได้รับ ตอนที่ 2   (2015-10-10)ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ เรามาพูดถึงสัดส่วนของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันกันต่อเลย

ในส่วนของโปรตีน (Protein) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างกล้ามเนื้อ เอนไซม์ (สารเคมีที่ช่วยปฏิกิริยาในร่างกาย)ฮอร์โมน (สารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา) รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องได้รับโปรตีนจึงสำคัญมาก
Protein มาจากคำว่า Protios (ในภาษาละติน) ซึ่งหมายถึง Prime important (ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง) โดยทั่วไปความต้องการโปรตีนจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับสารพลังงานอื่นเช่นไขมันและคาร์โบไฮเดรต

ไขมันเป็นสารที่ให้พลังงานสูง (9 กิโลแคลอรี/กรัม เมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ซึ่งต่่างก็ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี/กรัม) โดยทั่วไปไขมันมีการแทรกอยู่กับอาหาร โปรตีนเช่นเนื้อสัตว์ นม ไข่ รวมถึงการบริโภคไขมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นไขมันพืช น้ำมันหมู เนย กะทิ เป็นต้น และเป็นที่น่าสังเกตก็คือ การบริโภคไขมันสูงจะทำให้ได้พลังงานจากอาหารสูงไปด้วย
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสารอาหารเพื่อเก็บเป็นสารพลังงานนั้นอย่าลืมว่าทั้งคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนที่เหลือจากที่ร่างกายนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จะถูกเก็บในรูปของไขมันร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ในการเก็บพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ(จากการเก็บไขมันใช้เนื้อที่น้อย) ทำให้ร่างกายเก็บพลังงานส่วนเกินในรูปแบบของไขมันในร่างกาย

สัดส่วนของอาหารที่ให้พลังงาน
- คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงาน 55-60%
-โปรตีน ให้พลังงาน 10-15%
-ไขมัน ให้พลังงาน 30%

Dcleanfood.com : อาหารเพื่อสุขภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับตัวผู้บริโภค (ตอนที่ 2)

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับอาหารเพื่อสุขภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค 3 อันดับแรกอันได้แก่ น้ำผลไม้, ขนมปังและขนมปังโฮลวีต และน้ำตาลเทียมกันไปแล้ว ในบทที่ 2 นี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาหารชนิดอื่นกันต่อไป

4.เครื่องดื่มเกลือแร่

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยชดเชยการสูญเสียเหงื่อและพลังงานมาก จากการทำงานหรือการออกกำลังกาย โดยสารที่จะได้รับจากเครื่องดื่มเกลือแร่ได้แก่ น้ำ, อิเล็กโทรไลต์ (ได้แก่เกลือแร่ เช่น โซเดียม) และน้ำตาลซึ่งน้ำตาลกลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

ร่างกายคนเราในภาวะปกติ มีความสมดุลอยู่แล้ว เราจึงไม่ต้องการเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำและพลังงานที่เสียไป การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่บ่อยครั้งจนเกินความจำเป็น อาจก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่นร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหรือโรคหัวใจได้ และในภาวะที่ร่างกายคนเราเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เราแค่ดื่มน้ำสะอาดชดเชยเท่านั้นก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว

5.นำมันพืช

หลังจากที่มีการค้นพบว่าไขมันอิ่มตัวที่พบใน นม, เนย และไขมันจากสัตว์ต่าง ๆ เป็นตัวก่อให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คนส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากการบริโภคน้ำมันที่ทำมาจากไขมันสัตว์ ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มาบริโภคไขมันอิ่มตัวที่สกัดได้จากเมล็ดพืชและต้นพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันมะกอก, น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น

แต่ก็ไม่ใช่ว่าไขมันไม่อิ่มตัวจะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย โดยหากเรารับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดผลเสียกับร่างกายของเราได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากกระบวนการผลิตน้ำมันเหล่านี้ต้องนำเมล็ดพืชมาผ่านความร้อนสูง ผ่านการฟอกสี และต้องใช้สารละลายที่เป็นพิษ เช่น เฮกเซนเป็นตัวทำลายเพื่อสกัดน้ำมันออกมา และน้ำมันพืชที่สกัดได้เหล่านี้ยังมีปริมาณกรดไขมันโอเมกา 6 จำนวนมากซึ่งร่างกายคนปกติต้องการกรดไขมันโอเมกา 6 ในปริมาณที่น้อยมาก การได้รับกรดไขมันโอเมกา 6 ในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจเป็นต้นเหตุนำไปสู่โรคเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจขาดเลือดเป็นต่น ดังนั้นเราควรงดรับประทานของทอดที่ใช้นำมันสัตว์หรือน้ำมันพืชในปริมาณมาก ๆ หันมารับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมันเช่นการต้ม, การนึ่ง และการตุ๋น ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นในการปรุงอาหารคลีน (Clean Food) ก็จะส่งผลให้สุขภาพของเราแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่มีโรคที่มีสาเหตุจากการรับประทานไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวเกิดขึ้นกับตัวเรา

6.โยเกิร์ตไขมันต่ำ

หลังจากที่มีการค้นพบข้อเสียของไขมันประเภทต่างๆ ต่อร่างกาย ผู้ผลิตจึงหันมาผลิตอาหารที่ปราศจากไขมันหรือไขมันต่ำกันมากขึ้น แต่การผลิตอาหารที่มีไขมันต่ำหรือปราศจากไขมันทำให้รสชาติของอาหารไม่น่ารับประทานเอาเสียเลย ผู้ผลิตจึงต้องใส่สารเคมีต่าง ๆ หรือน้ำตาลเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารให้ดีขึ้น สารต่าง ๆ เหล่านี้หากเรารับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจนเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของผู้บริโภคได้

บทความทั้งหมด : http://www.dcleanfood.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Dcleanfood.com : อาหารเพื่อสุขภาพที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับตัวผู้บริโภค (ตอนที่ 1)

ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นแต่บางครั้งเราอาจจะไม่ทราบว่าอาหารที่จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพบางชนิดอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเราได้ อาหารเพื่อสุขภาพที่อาจจะเป็นอันตรายต่อตัวคุณมีดังนี้ครับ


1.น้ำผลไม้

น้ำผลไม้ชนิดบรรจุขวดหรือกล่องที่วางขายตามร้านค้าหรือ Super Market ต่างๆ บางชนิดอาจมีน้ำผลไม้แท้ในปริมาณที่น้อยมาก ส่วนผสมส่วนใหญ่คือน้ำ, น้ำตาล และสารเคมีแต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนน้ำผลไม้ที่คั้นออกมาจากผลไม้ 100% ก็ไม่ได้มีประโยชน์มากนัก

เนื่องจากเหลือแต่น้ำตาลและวิตามินเพียงเล็กน้อยจากผลไม้เท่านั้น โดยน้ำผลไม้แบบผสมอาจจะมีปริมาณน้ำตามเทียบเท่ากับน้ำอัดลมเลยทีเดียว เมื่อเราบริโภคเข้าไปก็อาจจะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทางที่ดีที่สุดผู้บริโภคควรหันมาทานผลไม้สดซึ่งจัดเป็นอาหารคลีน (Clean Food) จะปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุดครับ

2. ขนมปังและขนมปังโฮลวีต

ถึงแม้ว่าขนมปังโอลวีตจะมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมปังแบบธรรมดา แต่ทั้งขนมปังขาวและขนมปังโฮลวีตก็อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้เนื่องจากในแป้งสาลีที่ใช้ทำขนมปังแบบธรรมดากับขนมปังโฮลวีตมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า กลูเทน (Gluten) ซึงเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้

โดยปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่แพ้สารกลูเทน และกลูเทนยังเป็นสาเหตุของโรคในช่องท้อง เช่น ท้องอืด, ท้องผูก หรืออาหารไม่ย่อย และยังมีการศึกษาที่พบว่าใยอาหารในแป้งสาลีอาจจะมีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดวิตามินดีอีกด้วย

3.น้ำตาลเทียม

ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ที่รักสุขภาพอาจจะมองหาอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล แต่ได้ความหวานจากสารสังเคราะห์จากธรรมชาติ หรือน้ำตาลเทียมนั่นเองโดยน้ำตาลเทียม ส่วนใหญ่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นอากาเว หญ้าหวาน หรือเป็นสารสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำ แต่ในน้ำตาลเทียมจะมีปริมาณน้ำตาลฟรักโทสที่สูงมากประมาณ 90% โดยที่น้ำตาลทั่วไปมีปริมาณฟรักโทสเพียง 50% เท่านั้น

ฟรักโทสจะถูกย่อยสลายโดยตับโดยจะถูกนำไปใช้ในการสร้างไกลโคเจน แต่ที่ตับของเราทุกคนมีไกลโคเจนในปริมาณมากอยู่แล้ว ทำให้ตับต้องทำการเปลี่ยนฟรักโทสให้เป็นไขมันและสะสมอยู่ที่ตับ นานวันเข้าอาจจะทำให้เราเป็นโรคตับแข็งได้เช่นเดียวกับการดื่มแอลกอฮอล์ และนอกจากนี้การที่ร่างกายได้รับฟรักโทสมากเกินไปจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะการต่อต้านอินซูลินและก่อให้เกิดภาวะของโรคเบาหวานในที่สุด

บทความเพิ่มเติม : http://www.dcleanfood.com

Dcleanfood.com : แนวคิดในการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม

ปัจจัยในการเสริมสร้างสุขภาพมีการสรุปและยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าประกอบด้วยอาหารและโภชนาการ, การออกกำลังกาย, การพักผ่อนที่พอเพียง การผ่อนคลายและลดภาวะความเครียด และหลีกเลี่ยงสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ เหล้า หรือสารเคมีที่ปนหรือใช้ในการประกอบอาหารตามหลักของอาหารคลีน (Clean Food) รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีทางในการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันแตกต่างจากคนยุคก่อน ๆ มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเทคโนโลยีและ เครื่องจักรมากขึ้นทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งมีความจำเป็นมากในการช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของอาหารก็เปลี่ยนไป โดยคนในยุคปัจจุบันเน้นความสะดวกรวดเร็วในการรับประทาน ไม่เน้นคุณค่าของอาหารตามหลักการของอาหารคลีน (Clean Food)


 ทำให้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นการเร่งด่วนและเป็นอันดับแรกเพื่อเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานความต้องการและการที่ร่างกายต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจความหมายของอาหารและโภชนาการ    อาหารคือสิ่งที่บริโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย โภชนาการ จะกล่าวถึงขบวนการที่อาหารผ่านการย่อย การดูดซึม การนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ การเก็บในร่างกายและการขับออกนอกร่างกาย ดังนั้นโภชนาการจึงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของสารอาหารกับการทำงานของร่างกาย การป้องกันและรักษาโรค  การชะลออาการของการเกิดโรค รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค ดังคำกล่าวที่ว่า You are what you eat กินอะไรได้อย่างนั้น จึงเป็นข้อความที่บอกถึงความสัมพันธ์ของอาหารที่บริโภคกับผลที่เกิดขึ้นกับร่างกาย


สารอาหารและสารให้พลังงาน

การเลือกรับประทานอาหารนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล และสิ่งแวดล้อมภายในสังคมหรือครอบครับที่เติบโตมา การเลือกทานอาหารตามกระแสแฟชั่น อย่างไรก็ดีแนวความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารตามหลักของอาคารคลีน (Clean Food) คือการคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกาย อาหารที่มีความหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ปัจจัยส่วนนี้เป็นปัจจัยที่ต้องทำความเข้าใจเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของเราจะได้สารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย สารอาหารก็คือสารตามธรรมชาติที่พบในอาหารได้แก่ โปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่และน้ำ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน ส่วนธาตุปริมาณน้อยในร่างกายที่พบว่ามีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกายยังมีอีกมากมาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม เป็นต้น ดังนั้นองค์ประกอบหลักของอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงได้จาก สารพลังงาน ซึ่งมาจากสารอาหารประเภท โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และไขมันนั่นเอง

บทความอื่น ๆ ที่ http://www.dcleanfood.com

Dcleanfood.com : ความหมายของอาหารคลีน ( Clean Food )

ปัจจุบันมีผู้สนใจหันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น อาหารเจ, อาหารชีวจิต และอาหารคลีน (Clean Food)จึงได้รับความนิยมในการบริโภคมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย หลายท่านยังคงสับสนกับคำว่าอาหารคลีน (Clean Food) คืออะไรวันนี้เราจะอธิบายขยายความคำว่า อาหารคลีน (Clean Food) กันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ เลยหรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุดเช่นข้าวที่ยังไม่ถูกขัดสี สารเคมีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหาร ได้แก่ ผงชูรส, ซอสปรุงอาหาร อาหารคลีน(Clean Food) จะเน้นอาหารที่เป็นธรรมชาติเป็นหลักไม่ผ่านการปรุงแต่งจนลดคุณค่าของอาหาร ไม่ถูกเก็บไว้ในตู้เย็นหรือผ่านการถนอมอาหารบางวิธีการที่จะลดคุณค่าของอาหารลงไป
คำจำกัดความของอาหารคลีน (Clean Food) ไม่ได้หมายถึงอาหารที่มาจากธรรมชาติเช่นจำพวกผักเพียงอย่างเดียว แต่การทานอาหารคลีน (Clean food) ยังรวมถึงการทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่อย่างเหมาะสมคือต้องทานเนื้อสัตว์หรืออาหารจำพวกโปรตีน และแป้งหรืออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์และโปรตีนควรเป็นอาหารสดและสะอาดและไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งมากจนเกินไป ข้าวหรืออาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตก็เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นข้าวจะต้องไม่ผ่านกระบวนการขัดสีจนทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าต่าง ๆ ของข้าวไป
การเลือกทานน้ำควรเลือกทานน้ำเปล่าที่สะอาด ไม่ทานน้ำหวานหรือน้ำอัดลม เพราะน้ำหวานหรือน้ำอัดลมนั้นนอกจากไม่มีประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกายแล้ว ยังมีโทษหรือพิษภัยมากมายกว่าที่เราคิดไว้
สรุปการทานอาหารคลีน (Clean Food) คือการทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการพื้นฐานของร่างกายในแต่ละวัน และอาหารต่าง ๆ จะต้องไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งด้วยสารเคมีหรือผ่านกระบวนการปรุงแต่งอื่น ๆ จนสูญเสียคุณค่าทางอาหารไป เพราะฉะนั้นการทานอาหารคลีน (Clean Food) จึงเป็นการทานอาหารให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผู้ที่คิดจะเริ่มทานอาหารคลีน จึงอาจจะต้องปรับตัวกับเรื่องรสชาตืและความอร่อยของอาหารกันบ้างเล็กน้อย แต่เพื่อให้ร่างกายและสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว เรามาเริ่มทานอาหารคลีนกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าครับ

บทความอื่นที่ ้http://www.dcleanfood.com