ต่อจากตอนที่แล้วนะครับลองมาดูเรื่องการเลือกรับประทานอาหารตามหลักของหยินและหยางกันต่อเลย ซึ่งผมคิดว่าหลักการของหยินและหยางมีส่วนคล้ายคลึงกับการเลือกรับประทานอาหารตามหลักอาหารคลีน (Clean Food) เป็นอย่างมาก
ส่วนในหน้าร้อนที่อากาศจะร้อนหรืออบอ้าว (หยาง) พืชผักและผลไม้จะมีความเป็นหยินมากกว่า โดยพืชผักและผลไม้จะมีน้ำมากกว่า และจะเกิดการเหี่ยวเฉาและเน่าเสียได้อย่างง่ายดาย โดยในฤดูกาลนี้พวกพืชผักและผลไม้จะให้ความเย็นแก่ร่างกายในฤดูร้อน วงจรปีของอาหารจะแสดงการสลับไปสลับมาระหว่างพลังของอาหารในแนวหยินและอาหารในแนวหยางเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และหลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่ในโลก โดยเราสามารถสังเกตได้ว่าอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่ได้จากเขตร้อนจะมีความเขียวชอุ่ม ชุ่มชื้น และจะเป็นผักและผลไม้ที่มีความเป็นหยินมากกว่า แต่ในขณะที่พืชผักและผลไม้ซึ่งมีต้นกำเนินจากเขตหนาวหรือเขตที่มีอากาศเย็น จะเป็นพืชผักและผลไม้ที่มีความเป็นหยางมากกว่า
อาหารที่ได้จากพืชผักและผลไม้จะมีความเป็นหยินมากกว่าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ผักและผลไม้จะไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักเพราะมีรากที่ยึดอยู่กับพื้นดิน และจะเจริญเติบโตในที่เดิมสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ในขณะที่สัตว์จะมีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลายกเว้นเวลานอน ทำให้ร่างกายมีความร้อนมากจึงไม่มีความเป็นหยินมากนัก2. โดยทั่วไปธรรมชาติของผักจะมีโครงสร้างของพืชผ้กและผลไม้จะมีโครงสร้างที่ขยายออกมีการแผ่กิ่งก้านสาขา และเจริญเติบโตเหนือพื้นดิน ขี้นไปยังท้องฟ้า หรือเติบโตไปทางด้านกว้างขนานไปกับพื้นดินตามหลักแนวทางของหยิน ในขณะที่สัตว์จะมีมวลที่หนาแน่น แต่ละส่วนแต่ละอวัยวะแยกออกจากกัน มีการเจริญเติบโตที่ขยายขึ้นเพียงเล็กน้อยในมาลที่หนาแน่น
3. อุณหภูมิภายในของพืชจะมีความเย็นมากกว่าอุณหภูมิภายในร่างกายของสัตว์หลายชนิด พืชจะทำการหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าและหายใจออกเป็นออกซิเจน ส่วนสัตว์จะทำการหายใจเอาออกซิเจนเข้า และหายใจออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ พืชผักและผลไม้จะเป็นตัวแทนของสีเขียวของคลอโรฟีล ในขณะที่สัตว์เป็นตัวแทนของสีแดงจากฮีโมโกลบิน โครงสร้างทาง เคมีของทั้งพืชและสัตว์นั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟีลเป็นแมกนีเซียม และตรงกลางของฮีโมโกลบินเป็นเหล็ก
บทความ : Clean Food
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น